โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง โรคอุบัติใหม่ที่พ่อแม่ต้องระวัง
Imposter Syndrome หรือ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง นั้น เป็นโรคที่ถูกเอาขึ้นมาพูดกันใน สังคมออนไลน์มากขึ้น ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้ ทำให้คนเริ่มกลับไปมองถึงต้นตอว่าปัญหานี้ เกิดมาจากอะไร การเลี้ยงลูกแบบไทย ๆ หรือ การเลี้ยงลูกแบบเอเชีย มากเกินไป อาจจะทำให้เด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในสังคม เป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากก็เป็นได้ วันนี้เราจะพามารู้จักกันว่า Imposter Syndrome หรือ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง คืออะไร และ การเลี้ยงลูกของคุณ เสี่ยงที่จะทำให้ลูกเป็นโรคนี้หรือไม่
Imposter Syndrome หรือ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งคืออะไร?
โรคนี้เป็นอาการ ที่ทำให้คนเรารู้สึก ไม่พึงพอในในตัวเอง ตัวอย่างเช่นว่า เวลาที่เราทำอะไรสำเร็จ เรามักจะไม่เชื่อว่า ตัวเองมีความสามารถจริง ๆ แต่เป็นเพราะโชคช่วย จะเรียกง่าย ๆ ว่า ไม่มั่นใจในตัวเองก็ได้ โรคนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1978 โดย นักจิตวิทยา Pauline Rose Clance และ Suzanne Imes
อาการแบ่งเป็นได้หลายชนิด เช่น ต้องมีข้อมูลให้ครบทุกระเบียบนิ้วก่อนจะทำอะไร เครียดเมื่อผลลัพธ์ที่ได้ไม่ครบ 100 % หรือ ไม่เคยคิดว่าตัวเองดีพอที่จะทำอะไร ๆ ได้เป็นต้น แม้ว่าบางคนอาจจะมองอาการนี้ว่า ไม่ได้มีผลเสียอะไรมากมาย แต่แท้จริงแล้ว มันเพิ่มแรงกดดัน และ ความเครียดให้กัยคนที่เป็นได้มากเลยทีเดียว
การเลี้ยงลูก เป็นสาเหตุหลัก
Sam Louie นักบำบัดอาการที่เกิดจากจิตใจ จาก Seattle ประเทศ สหรัฐ อเมริกากล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุหลักที่เขาเจอผู้ป่วยที่เป็นโรค Imposter Syndrome นั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดู และ ผู้ป่วยส่วนมาก ก็เป็นคนเอเชียด้วย
เขาเล่าว่า คนกลุ่มนี้ มีความประสบความสำเร็จ ใช่ มีงานที่ดี มีคะแนนสอบที่ดี แต่ในใจของพวกเขา มีความหวาดกลัว และ ความระแวดระวัง พวกเขากลัวว่าวันหนึ่ง ความสมบูรณ์แบบที่ถูกสร้างขึ้นนั้น จะพังลงมา และ พวกเขากลัวว่า จริง ๆ แล้ว พวกเขา ไม่ได้เป็นตัวเองเลย
เลี้ยงลูกแบบไทย ๆ หรือ แบบเอเชีย ส่งผลเสียอย่างไร?
คนที่โตมาในสังคมไทย น่าจะทราบถึงข้อนี้ดีว่า เวลาที่เกิดมาในสังคมที่ถูกหล่อหลอม ให้ทุกคนต้องประสบความสำเร็จ มันโหดร้ายขนาดไหน ประเทศไทย มีขนบ ธรรมเนียมมากมาย ที่คนต้องปฎิบัติตาม ต้องดี ต้องเก่ง ต้องทำงานดี ๆ ผู้หญิงต้องทำตัวแบบนี้ ผู้ชายต้องทำตัวแบบนี้
ทั้งสภาพสังคม และ ครอบครัว ต่างก็ส่งผล ให้คนเกิดความเครียด และ แรงกดดันอันมหาศาล โดยที่ไม่รู้ตัว นอกจากจะต้องดี ต้องเด่น ต้องเก่งแล้ว มันมีพื้นที่น้อยมาก ให้พวกเขาล้มเหลว เมื่อเกิดการล้มเหลว ครอบครัวก็มักจะซ้ำเติม มากกว่า จะให้กำลังใจ
เราจะเตรียมตัวสำหรับเรื่องนี้อย่างไร?
สิ่งที่ผู้ปกครอง ควรที่จะทำคือ เปิดใจ ทำความเข้าใจลูก พูดคุยกับลูกเมื่อเจอปัญหา เราเข้าใจดีว่า ผู้ปกครองอาจจะมีความคาดหวังในตัวลูกอยู่แล้ว แต่เราอยากให้คนลด หรือ วางมันลง เพื่อที่ลูกจะได้มาสภาพจิตใจที่ดีขึ้น
เวลาที่ลูก ทำดี การชม ก็ยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย การที่เราชมลูกนอกจากการจะรักษา ความสัมพันธ์ ที่ดีกับลูกแล้ว ยังช่วยให้ ลูกไว้ใจ และ เชื่อใจผู้ปกครองมากขึ้นด้วย
แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องยาก และ แปลกในสังคมไทย แต่ถ้า ผู้ปกครอง หันมาสนใจเรื่องสภาพจิตใจของลูกกันมากขึ้น ในอนาคต เด็กไทยอาจจะมีปัญหาเรื่องนี้น้อยลงก็เป็นได้
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
Source : psychologytoday
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เด็กเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว โตมาจะมีจิตใจที่ดี และ ฉลาดด้วย มีเมตตา
เลี้ยงลูกยังไงให้เป็นเด็กจิตใจดี ตามงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก
“ลูกจ๋าแม่ขอโทษ” คำสารภาพจากปากคุณแม่ขี้โมโหที่เผลอทำร้ายจิตใจลูกบ่อยๆ