เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่มณฑล Essex ประเทศอังกฤษ ขณะที่ Aaron และ Amy กำลังหยอกล้อกันอย่างสนุกสนานตามประสาพี่น้อง หนุ่มน้อย Aaron ก็พบกับผิดปกติบางอย่าง ภายในคอของ Amy เขาจึงบอกให้แม่รู้ทันที และทุกคนก็ต้องตกใจ เมื่อรู้ว่า สิ่งที่อยู่ในคอของสาวน้อย Amy คือเนื้องอก
Carly วัย 31 ปี แม่ของ 2 พี่น้อง เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า ในวันที่ 26 มิถุนายน Aaron สังเกตเห็นบางอย่างในคอของ Amy ตอนที่กำลังหัวเราะ แล้วลูกชายก็รีบมาบอก พอเธอเห็นสิ่งที่อยู่ในคอของลูกสาวก็ถึงกับตื่นตระหนก เพราะสิ่งนั้นคือเนื้องอก! อย่างไม่รีรอ ผู้เป็นแม่รีบพาลูกสาวไปพบหมอในทันที
ไม่นานเกินรอ วันที่ 6 กรกฎาคม ผลตรวจของ Amy ก็ออกมาตอกย้ำว่าสิ่งที่เธอกลัวนั้นเป็นความจริง โดยเนื้องอกที่พบในลำคอของ Amy เป็นเนื้อร้าย ที่เรียกว่า Rhabdomyosarcoma (RMS) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่พบบ่อยในเด็ก หรือคือมะเร็งนั่นเอง
เมื่อ Carly ได้ฟังผลตรวจแล้ว เธอเล่าว่า เธอแทบจะล้มลงไปกองกับพื้น แต่ตัวลูกสาวของเธอนั้นกลับเข้มแข็งมาก ด้วยความมั่นใจของ Amy ตัวน้อย ทำให้ผู้เป็นแม่แข็งแกร่งขึ้น และเชื่อมั่นว่า ไม่ว่า Amy จะต้องเผชิญหน้ากับอะไร ก็จะสามารถผ่านพ้นมันไปได้
Amy เข้าสู่กระบวนการรักษา โดยต้องเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด 9 ครั้ง เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ก่อนจะไปสหรัฐอเมริกาเพื่อทำการรักษาอนุภาคบำบัด ประเภทการรักษาด้วยอนุภาคโปรตรอน (Proton Beam Therapy) และด้วยค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมากที่ต้องแบกรับ ทางครอบครัวจึงตั้งกองทุนเพื่อขอรับความช่วยเหลือเรื่องค่ารักษาของ Amy
Carly ยังย้ำถึงความโชคดีครั้งนี้ด้วยว่า เธอภูมิใจในตัวลูกชายอย่างมาก ในวันที่ Aaron พบก้อนเนื้องอกในคอของน้องสาว Aaron มัวแต่คิดว่าตัวเองทำอะไรผิดไป แต่จริงๆ แล้ว Aaron คือผู้ช่วยชีวิตน้องสาวของตัวเอง!
ทำความรู้จักกับมะเร็ง Rhabdomyosarcoma
นายแพทย์ทัศน์พงศ์ รายยวา สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ระบุไว้ว่า Rhabdomyosarcoma คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน ที่จะพัฒนาเป็นเซลล์กล้ามเนื้อลาย โดยสามารถพบได้ทุกที่ในร่างกาย ทั้งยังพบมากในเด็กอายุ 2-5 ปี มักจะแสดงอาการจากก้อนกดอวัยวะต่างๆ เช่น อุจจาระไม่สะดวก ปัสสาวะเป็นเลือด ก้อนโผล่จากช่องคลอดอุดกั้นทางเดินหายใจ กดเบียดเส้นประสาทและสมอง
สิ่งที่น่ากังวลคือ เนื้อร้ายสามารถการกระจายโรคพบการลุกลามเฉพาะที่ตามชั้นกล้ามเนื้อและพังผืด กระจายตามระบบน้้าเหลือง (15 %) กระจายตามระบบโลหิตไปยังปอด กระดูก และ ไขกระดูก (15 %) ทั้งยังสามารถลุกลามไปเยื่อหุ้มสมอง สมอง และน้้าไขสันหลังได้
เนื่องจากเป็นโรคที่ลุกลามเฉพาะที่และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น การรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างเดียวในสมัยก่อนจึงไม่เพียงพอที่จะควบคุมโรคและยังก่อให้เกิดการสูญเสียอวัยวะต่างๆ ปัจจุบันการรรักษาเน้นความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ แพทย์รังสีรักษา กุมารแพทย์หรืออายุรแพทย์โรคมะเร็ง
ที่มา : ph.theasianparent.com และ chulacancer.net
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
แม่ช็อคนึกว่าลูกโดนแมลงกัด แต่พอตรวจกลับเป็นมะเร็ง