แม่ท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด

การติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างตั้งครรภ์อาจเกี่ยวข้องกับความพิการแต่กำเนิดที่เรียกว่า โรคข้อต่อยึดติด ซึ่งจะทำให้ข้อต่อต่างๆ ในร่างกายยึดติด และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็กลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องต้องระวังติดเชื้อไวรัสซิกา ลูกเสี่ยงเป็นโรคข้อต่อยึดติด

ไวรัสซิกา เป็นไวรัสที่แพร่เชื้อผ่านการถูกยุงกัด คนที่ติดไวรัสตัวนี้จะมีอาการไข้ ผื่นขึ้น ปวดตามข้อ ตาแดง ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล เพราะอาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน

แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การติดเชื้อนี้ถือว่ารุนแรงอย่างมาก

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับไวรัสซิกาเป็นภัยฉุกเฉินระดับโลก หลังจากมีการศึกษาว่าการติดเชื้อในแม่ท้องส่งผลให้ทารกในครรภ์มีภาวะศีรษะเล็กผิดปกติ

ต่อมาได้มีการศึกษาที่พบการเชื่อมโยงระหว่าง การติดเชื้อซิกาไวรัสในคนท้อง กับโรคข้อยึดติดในทารกแรกเกิด

โรคข้อต่อยึดติด (Arthrogryposis)  อาจเกิดจากการสูญเสียเซลล์ประสาทในไขสันหลังของทารกในครรภ์เนื่องจากแม่ติดเชื้อไวรัสซิกา

โรคข้อยึดติด หรือที่รู้จักกันในชื่อโรค AMC (Arthrogryposis Multiplex Congenital) เป็นภาวะที่ทารกคลอดออกมาโดยมีข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า หัวไหล่ นิ้วมือ นิ้วเท้า และข้อสะโพกงอค้าง หรือเหยียดค้าง แข็ง ไม่สามารถดัดให้กลับมาเป็นปกติได้ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวมือและเท้าได้

ทีมนักวิจัยพบเด็กในบราซิล 7 คนพิการด้วยโรคข้อต่อยึดติด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กทุกคนได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อแต่กำเนิด ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากเชื้อไวรัสวิกาในช่วงที่มีการระบาดของโรคนี้ในประเทศบราซิล แต่เด็กเหล่านี้ไม่ได้มีภาวะศีรษะเล็กผิดปกติ

เด็กๆ ได้รับการถ่ายภาพสมอง และถ่ายภาพความละเอียดสูงบริเวณข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบๆ พบการสะสมของหินปูน ซึ่งอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าไวรัสซิกาได้ทำลายเซลล์ประสาท ซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับการสะสมแคลเซียม

ในขณะที่การถ่ายภาพข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบๆ กลับไม่พบหลักฐานเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของข้อต่อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากการค้นพบนี้อาจกล่าวได้ว่า โรคข้อต่อยึดติดในเด็กน่าจะเป็นความผิดปกติของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตั้งแต่อยู่ภายในท้องแม่ มากกว่าที่จะเกิดจากความผิดปกติขอตัวข้อต่อเอง

แม้นักวิจัยยังไม่สามารถสรุปได้ว่า การติดเชื้อไวรัสซิกาขณะตั้งครรภ์เป็นสาเหตุของโรคข้อต่อยึดติด แต่พวกเขาเชื่อว่าการค้นพบครั้งนี้อาจมีบทบาทสำคัญทางการแพทย์

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับไวรัสซิกา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • นอกจากการถูกยุงกัดแล้ว ไวรัสซิกายังสามารถติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาด้วย
  • ปัจจุบันไวรัสซิกายังไม่มีวัคซีนป้องกัน

หากมีข่าวเกี่ยวกับไวรัสซิกาในประเทศใดก็ตาม ขอให้คุณแม่ท้องหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่แพร่ระบาด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งจะส่งผลให้ลูกในท้องพิการได้นะคะ

ที่มา www.medicalnewstoday.com/articles/312229.php