แม่ช็อก! ลูกกระเด็นจากสไลเดอร์บ้านลมต่อหน้าต่อตา!

ในขณะที่แม่กำลังถ่ายคลิปลูกเล่นสไลเดอร์บ้านลมอยู่นั้น เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิปนี้กลายเป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก เมื่อคุณแม่ท่านหนึ่ง พาลูกไปเล่นสไลเดอร์บ้านลม และได้บันทึกคลิปวิดีโอนี้ไว้ในขณะที่ลูกกำลังเล่น

และในขณะที่กำลังถ่ายคลิปอยู่นั้น เด็กผู้ชายคนแรกได้กระโดดบนสไลเดอร์และสไลด์ตัวลงมาได้สำเร็จ จนมาถึงคราวของลูกชายคุณแม่ ก็ได้กระโดดเพื่อต้องการสไลเดอร์ลงมาเช่นกัน แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อลูกชายของคุณแม่รายนี้ได้กระเด็นออกจากบ้านลม และตกลงมาที่พื้นอย่างจัง!!

คุณแม่ร้องกรี๊ดออกมาด้วยความตกใจ ก่อนที่จะรีบวิ่งไปดูลูกชาย และนำส่งโรงพยาบาลในทันที จริงอยู่ที่อาการของน้องอาจไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่เด็กชายคนนี้ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสพอสมควร

และถึงแม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยก็ตาม แต่ก็สามารถเป็นอุทาหรณ์ให้กับคุณพ่อคุณแม่และเด็ก ๆ ทุกคนได้เป็นอย่างดี

วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อตกจากที่สูง

เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบเห็นผู้บาดเจ็บประสบอุบัติเหตุ โดยการตกจากที่สูง ไม่ควรขยับผู้บาดเจ็บโดยเด็ดขาด หากไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมในการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้บาดเจ็บได้ เนื่องจากเราไม่ทราบว่ามีส่วนไหนของร่างกายที่มีบาดเจ็บ การขยับตัวผู้บาดเจ็บอย่างไม่ถูกวิธี มีโอกาสทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำเติมได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เบื้องต้นให้หาข้อมูลเพื่อประเมินและสังเกตอาการดังต่อไปนี้

-  ผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวหรือไม่ ให้ทดสอบโดยการเรียกหรือปลุกตื่น ถ้าปลุกตื่นแล้ว ผู้บาดเจ็บสามารถพูดคุยรู้เรื่องหรือไม่
-  ดูการหายใจ โดยสังเกตจากหน้าอกหรือท้องว่า มีการขยับกระเพื่อมหรือไม่ สามารถสัมผัสหรือได้ยินเสียงลมหายใจหรือไม่
-  การบาดเจ็บของอวัยวะ มีบาดแผลหรือเลือดออกหรือไม่ บริเวณอวัยวะใด มีกระดูกหัก อวัยวะผิดรูปหรือไม่ ทั้งนี้หากผู้บาดเจ็บรู้สึกตัว และสามารถพูดคุยรู้เรื่องได้ ให้สอบถามอาการบาดเจ็บจากผู้บาดเจ็บว่า เจ็บบริเวณใด
-  ตกจากความสูงเท่าใด (เช่น ตกจากตึกกี่ชั้น บันไดกี่ขั้น หรือตกต้นไม้สูงประมาณกี่เมตร) การตกจากที่สูงโดยเฉพาะถ้าสูงเกินความสูงของผู้ตกเกิน 3 เท่า ถือว่าเป็นระดับอันตรายมาก ยิ่งสูง (ความเร็วและพลังงานที่ถ่ายทอดสู่ร่างกายขณะกระแทกพื้นจะยิ่งมากตามไปด้วย) นอกจากนี้ความแข็งของพื้นผิวที่กระทบ (คอนกรีต ดิน หรือ น้ำ) ส่วนของร่างกายที่ตกกระทบพื้น (ลงมาตรงๆ หน้าฟาด หรือโหม่งหัว ฯลฯ) ล้วนมีผลต่อความรุนแรงของการบาดเจ็บ
-  หากผู้บาดเจ็บสามารถพูดคุยรู้เรื่อง ให้สอบถามรายละเอียดที่จำเป็น เช่น อายุ โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา และสาเหตุของการตก เช่น ตกลงมาเอง หรือต้องการฆ่าตัวตาย หรือถูกไฟดูด เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ป่วยกระดูกร้าว แตกหักหรือไม่นั้นสามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

-  อาการปวด ผู้บาดเจ็บจะมีอาการปวดมากในบริเวณที่เป็นกระดูก ถ้าไม่มีอาการปวด โอกาสเกิดกระดูกหักก็ค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ผู้บาดเจ็บที่มีกระดูกหักบางรายอาจะไม่มีอาการปวดได้ เช่น มีการสูญเสียความรู้สึกในบริเวณที่หักจากการบาดเจ็บของเส้นประสาท ไขสันหลัง หรือสมอง
-  อาการบวม เมื่อมีกระดูกหักจะมีเลือดออกอยู่ภายในบริเวณนั้นๆ มาก ทำให้เกิดอาการบวมขึ้น ถึงแม้จะไม่มีอาการบวม ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าจะไม่มีกระดูกหักหรือร้าว เพราะกระดูกบางชิ้นที่อยู่ลึกลงไปในชั้นเนื้อเยื่อ หรือข้อต่อ เมื่อมีการหักเกิดขึ้น จะสังเกตอาการบวมได้ยาก
-  ความผิดรูป สามารถเกิดขึ้นได้จากการหักของกระดูก การหลุดเคลื่อนของข้อต่อ หรือทั้งสองปัจจัยร่วมกัน ซึ่งถ้าเห็นความผิดรูปเกิดขึ้นเป็นสัญญาณบอกถึงการมีกระดูกหัก
-  การขยับเคลื่อนไหว ในกรณีที่มีการบาดเจ็บของกระดูกหรือข้อต่อ ผู้บาดเจ็บไม่สามารถขยับข้อต่อหรือรยางค์นั้นๆ ได้เต็มที่ อาจด้วยอาการปวดหรือมีการติดขัดในข้อ

หากพบว่ามีมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้นให้ปฐมพยาบาลดังต่อไปนี้
-  ไม่ควรจะเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ในกรณีที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเนื่องจากสถานการณ์ไม่ปลอดภัย ต้องให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายบนแผ่นกระดาน กรณีจำเป็นต้องพลิกตัวผู้บาดเจ็บ ต้องให้ตัว ลำคอ และศีรษะตรงเป็นแนวเดียวกันเหมือนท่อนซุง และนำออกมาในที่ปลอดภัย รอจนกว่าเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพจะมาถึง
-  หากผู้บาดเจ็บหมดสติหรือหายใจแผ่วเบา หายใจเร็ว ให้ผู้บาดเจ็บนอนลง โดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย ยกขาขึ้น
-  ห้ามเลือด โดยกดที่บาดแผลด้วยผ้าที่สะอาด
-  เมื่อสงสัยว่ากระดูกหัก ให้เริ่มต้นด้วยการดามด้วยวัสดุที่แข็งแรง เช่น ท่อนไม้ กระดาน พลาสติก เหล็ก ในกรณีที่หาเครื่องดามไม่ได้จริงๆ อาจใช้อวัยวะของผู้บาดเจ็บเองทดแทนชั่วคราวได้ เช่น ถ้าแขนหักให้ดามแขนมัดติดกับลำตัว หรือถ้าขาหัก ให้ดามขาติดกับขาอีกข้างหนึ่ง เป็นต้น เพื่อให้บริเวณที่หัก อยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว เพื่อลดอาการปวด และป้องกันไม่ให้กระดูกที่หักเคลื่อนไปทิ่มแทง ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่ออื่นๆ เช่น หลอดเลือด เส้นประสาท ที่อยู่ใกล้เคียง และช่วยทำให้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บได้ง่ายและสะดวกขึ้น หากมีเลือดออก ให้กดห้ามเลือดบริเวณเหนือจุดที่ดามเอาไว้ และยกอวัยวะที่หักและได้รับการดามไว้ ให้สูงขึ้น สิ่งที่สำคัญและควรระวังคือ ไม่ควรรักษากระดูกที่หักด้วยตนเอง หรือให้ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมในการให้การรักษา เพราะกระดูกอาจติดผิดรูปผิดร่าง หรือผิดที่ผิดทาง ทำให้เกิดความพิกลพิการตามมาได้
-  ในกรณีที่กระดูกหักแล้ว มีปลายหักโผล่ออกนอกผิวหนัง ไม่ควรดันปลายกระดูกนั้นให้เข้าสู่ที่เดิมเป็นอันขาด เพราะปลายกระดูกที่โผล่ออกมานั้นอาจจะเปื้อนเชื้อโรคจากภายนอกอยู่แล้ว ถ้าดันกลับเข้าไปในร่างกาย จะเป็นการนำพาเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล ทำให้มีความเสี่ยงจะเกิดการติดเชื้อได้มากขึ้น ให้นำผ้าสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้มาคลุมบริเวณบาดแผล แล้วจึงทำการดามไว้ดังวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
-  พยายามให้ส่วนที่หักอยู่สูงกว่าหัวใจเสมอ โดยยกบริเวณที่หักให้สูงขึ้น เพื่อช่วยการไหลเวียนโลหิต ซึ่งช่วยลดอาการบวมได้
-  ในกรณีที่รักษาด้วยการใส่เฝือก อย่าให้บริเวณที่ดามเข้าเฝือกไว้ โดนน้ำโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผิวหนังส่วนที่อยู่ในเฝือก เน่าเปื่อยได้
-  ใช้น้ำแข็งเพื่อลดอาการบวมและเจ็บปวด จนได้รับการช่วยเหลือจากโรงพยาบาล ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบโดยตรงกับผิวหนัง ให้ใช้ผ้าขนหนู ชิ้นส่วนของเสื้อผ้า หรือวัสดุอื่นห่อน้ำแข็งเอาไว้ก่อนประคบ

ที่มา: MThai และ โรงพยาบาลพญาไท

บทความต่าง ๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ช่วยชีวิตลูกจากอุบัติเหตุสไลเดอร์ในสวนน้ำ!

5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน

บทความโดย

Muninth