เอกสารสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว การรับรองบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 96

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
การรับรองบุตร หรือ แจ้งเกิดลูก แต่ไม่มีพ่อ หรือไม่ต้องการระบุชื่อพ่อ ตามกฎหมายแล้ว เด็กที่เกิดแต่หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงมารดาเท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1546 ดังนั้น การที่จะมีหรือไม่มีชื่อของบิดาผู้ให้กำเนิดของเด็กที่จะระบุลงในสูติบัตรคนเกิด ย่อมเป็นสิทธิของมารดาเด็กโดยชอบธรรม ดังนั้นตัวคุณแม่ก็สามารถวางใจ และไร้กังวลได้แล้วนะคะ ส่วนจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง และจะมีผลกับตัวลูกในอนาคตหรือไม่ เรามีคำตอบให้ค่ะ
การเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล และเป็นจุดเริ่มต้นที่กฎหมายเข้ามามีบทบาท แม่เลี้ยงเดี่ยว เมื่อลูกคลอดออกจากท้องแม่แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย นั่นก็คือการแจ้งเกิด หรือ การรับรองบุตร นั่นเอง โดยการแจ้งเกิดนั้น มีขั้นตอนต่อไปนี้

แจ้งเกิดลูก ทำอย่างไร?

  1. ผู้ที่ทำคลอดจะต้องออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ให้ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนำไปใช้ในการแจ้งเกิดที่เทศบาล สำนักงานเขต หรือ อำเภอ (ในกรณีที่เกิดในสถานพยาบาล)
  2. ถ้าเกิดที่บ้าน เช่น บ้านพ่อแม่ ถ้าอยู่ในเขตท้องที่ของที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้านที่เด็กเกิด ผู้ใหญ่บ้านจะต้องรับแจ้ง และออกเอกสารเป็นใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร ๑ ตอนหน้า) ให้ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
  3. เมื่อได้รับหนังสือรับรองการเกิดแล้ว ให้เตรียมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ เพื่อไปประกอบ ดังนี้
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปแจ้ง
    • หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑ หรือ ท.ร. ๑ ตอนหน้า)
    • และสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อลูกน้อยเข้าไป
  4. เมื่อรวบรวมเอกสารมาครบแล้ว ให้เจ้าบ้าน คุณพ่อ หรือคุณแม่ นำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาแจ้งต่อนายอำเภอ ที่ว่าการอำเภอ หรือ เทศบาล หรือเขต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกใบสูติบัตรให้
  5. ระยะเวลาในการแจ้งเกิด ภายในเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกน้อยเกิด
  6. สถานที่แจ้งเกิด ถ้าสถานที่ที่ลูกน้อยเกิดตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้แจ้งเกิดที่เขตนั้น แต่ถ้าอยู่นอกเขต ให้ไปแจ้งเกิดที่สำนักทะเบียนที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่นั้น

 

 

แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อ ทำได้ไหม?

ตามกฎหมายแล้ว เด็กที่เกิดแต่หญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของหญิงมารดาเท่านั้น ตามป.พ.พ.มาตรา 1546 ดังนั้น การที่ชื่อบิดาผู้ให้กำเนิดของเด็ก จะมีระบุในสูติบัตรคนเกิด หรือไม่ ย่อมเป็นสิทธิของมารดาเด็กที่จะแจ้งหรือไม่ก็ได้

 

แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อ จะเป็นปัญหาในอนาคตหรือไม่?

การไม่ระบุชื่อพ่อในใบเกิด จะทำให้มีปัญหาตอนสมัครเรียนหรือไม่?

ตอบ – ไม่มีปัญหาในการสมัครเรียน การที่ชื่อบิดาผู้ให้กำเนิดของเด็ก จะมีระบุในสูติบัตรคนเกิด หรือไม่ ย่อมเป็นสิทธิของมารดาเด็กที่จะแจ้ง หรือไม่ก็ได้ โรงเรียนย่อมไม่มีสิทธิมาบังคับให้มารดาเด็กแจ้งชื่อบิดาของเด็ก เนื่องจากถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ข้อดีและข้อเสียของการ แจ้งเกิดลูก โดยระบุชื่อพ่อ

  • ในกรณีที่ระบุชื่อพ่อในใบเกิด ลูกสามารถใช้นามสกุลของพ่อหรือแม่ก็ได้
  • และหากใช้นามสกุลพ่อ ลูกถือเป็นบุตรที่ชอบโดยกฎหมายของพ่อด้วยเช่นกัน ทำให้ลูกมีสิทธิได้รับมรดกจากพ่อ
  • แต่หากระบุชื่อพ่อ แต่ไม่สามารถตามตัวได้ จะมีความยุ่งยากในการทำเอกสารที่ต้องมีการลงลายมือชื่อบิดา ทั้งตอนเข้าเรียน เรื่องเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน การทำพาสปอร์ต ในกรณีที่เด็กอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
  • หากต้องการลดความยุ่งยากในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของบุตร คุณแม่ควรไปทำใบ ปค.14 เพื่อให้อำนาจในการปกครองบุตรอยู่ที่แม่ฝ่ายเดียว (โดยการทำใบ ปค.14 มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้)
    • ยื่นคำร้องที่ฝ่ายทะเบียน : สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่แม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ไม่ดูลูก)
    • เอกสาร ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด ได้แก่
      • สูติบัตรของลูก
      • ทะเบียนบ้านลูก แม่ และพยาน 2 คน
      • บัตรประจำตัวประชาชน ลูก(ถ้ามี) แม่ และพยาน 2 คน
      • ใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อนามสกุล(ถ้ามี)
    • คุณสมบัติของพยาน
      • อายุ 20 ปีขึ้นไป
      • ใครก็ได้ แต่ควรเป็นญาติกับแม่เด็ก เนื่องจากนายทะเบียนอาจจะสอบสวนเพิ่มเติม

 

หมายเหตุ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. เด็กไม่ต้องไปด้วยก็ได้
  2. ทำวันเดียวเสร็จ ก่อนออกหนังสือ นายทะเบียน จะทำเรื่องไปขอตรวจสอบการจดทะเบียนรับรองบุตรก่อน
  3. เอกสารตัวจริงเก็บไว้ เวลาใช้ให้ใช้สำเนา โดยจะใช้ไปตลอดจนกว่าเด็กจะอายุ 20 ปี

 

ข้อดีและข้อเสียของการ แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อ

  • การไม่ระบุชื่อบิดา คุณแม่มีสิทธิในการปกครองเด็กแต่เพียงผู้เดียว
  • เมื่อลูกโตขึ้น จะไม่ยุ่งยากในการยื่นเอกสาร เช่น การเข้าเรียน การทำงาน การรับราชการ หรือการเป็นทหาร ไม่ต้องตามตัวพ่อให้วุ่นวาย
  • หากต้องการเพิ่มชื่อพ่อในสูติบัตรในภายหลัง ต้องระบุชื่อพ่อจริง ๆ เท่านั้น ไม่สามารถระบุชื่อคนอื่นได้ ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA แสดงความเป็นพ่อ แม่ และลูก แนบไปกับคำขอเพิ่มชื่อในสูติบัตร โดยเขตจะพิมพ์สูติบัตรใบใหม่ที่มีชื่อบิดาด้วย

 

แม้ว่าการไม่ระบุชื่อพ่อในใบเกิด จะทำให้แม่เป็นผู้มีสิทธิในการปกครองแต่เพียงผู้เดียว แต่หากต้องการให้พ่อของลูกกลับมามีสิทธิในการปกครองด้วยในภายหลัง ก็สามารถทำได้โดยการจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็กในภายหลัง หรือจดทะเบียนรับรองว่าเด็กเป็นบุตรของตน หรือให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ได้เช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การจดทะเบียนรับรองบุตร

1. การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน 

บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว หากจะให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา บิดาต้องร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรโดยมารดาและบุตรให้ความยินยอม ณ สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้

 

หลักฐานที่ต้องใช้

1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง
3. สูติบัตรของบุตร
4. พยานบุคคล 2 คน
5. เอกสารเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
6. บิดามารดา และบุตรต้องมาลงลายมือชื่อด้วยตนเอง

2. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักงานทะเบียน
มารดาสามารถร้องขอต่อนายทะเบียน เพื่อจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักงานเขตได้ แต่สถานที่ที่ไปจดทะเบียนต้องอยู่ในท้องที่ของสำนักงานเขตนั้น

 

หลักฐานที่ต้องใช้

1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง
3. สูติบัตรของบุตร
4. เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
5. พยานบุคคล 2 คน
6. บิดามารดา และบุตรต้องลงลายมือชื่อ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 อาชีพของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว อาชีพเสริมสำหรับ Single Mom

บุ๋มผลักดันกฎหมายแม่เลี้ยงเดี่ยว ให้เท่าเทียมกันทั้งสองเพศ

8 เคล็ดลับการเลี้ยงลูกคนเดียว พ่อเลี้ยงเดี่ยว แม่เลี้ยงเดี่ยว มีอะไรควรรู้มั้ย?

ที่มา :  thanulegal , Facebook: พูดคุยภาษากฎหมาย  , bora.dopa

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

ammy