เหตุผลที่ไม่ควรปรุงรสอาหารทารก ก่อน 1 ขวบ

คุณแม่อาจคิดเพียงว่าอยากเพิ่มรสชาติอาหารให้กับลูกน้อย แต่การ ปรุงรสอาหารทารก ด้วยเกลือและน้ำตาลมากเกินไปอาจมีความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เหตุผลที่ไม่ควรปรุงรสอาหารทารกก่อน 1ขวบ

ไม่จำเป็นต้อง ปรุงรสอาหารทารก ด้วยเกลือ

เมื่อลูกน้อยถึงเวลาเริ่มอาหารเสริม คุณอาจมีคำถามผุดขึ้นมาในหัวมากมาย: อะไรคืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย? อะไรที่คุณไม่ควรให้ลูกกินจนกว่าลูกจะเข้าสู่วัยหัดเดิน? ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

อย่างแรกเลย ควรถามตัวเองว่า ทำเมื่อลูกดูเหมือนจะไม่สนใจอาหารที่คุณเตรียมให้ ทำไมคุณจึงคิดว่าลูกน้อยต้องการการปรุงรสอาหาร เช่น การเติมเกลือหรือน้ำตาล

เกลือมักจะถูกเติมลงในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ แต่ลูกน้อยวัยทารกยังไม่สามารถบอกความแตกต่างได้

เหตุผลที่ลูกน้อยดูเหมือนจะไม่ชอบกินอาหารเสริม เป็นเพราะลูกคุ้นเคยกับรสชาติของนมแม่ และไม่อยากเปลี่ยนไปกินอย่างอื่นที่ไม่คุ้นเคยต่างหาก

ลูกน้อยรู้จักแต่รสชาติของนมแม่มาตลอด 6 เดือน ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเติมเกลือลงในอาหาร เพราะลูกจะไม่สามารถบอกความแตกต่างของรสชาติอื่นๆ ได้อยู่แล้วค่ะ

อันตรายจากการเติมเกลือลงในอาหารสำหรับทารก

ทารกต้องการเกลือน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน (โซเดียม 0.4 กรัม) ซึ่งในนมแม่หรือนมผสมมีปริมาณโซเดียมเพียงพอต่อความต้องการของทารกอยู่แล้ว ไตของเด็กทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ หากได้รับเกลือมากเกินความสามารถในการกำจัด อาจทำให้ไตทำงานหนักเกินไป ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูง และอาจเป็นโรคไตเมื่อโตขึ้น

การบริโภคเกลือมากเกินไปในวัยเด็ก อาจทำให้เด็กติดเค็ม และนำไปสู่โรคต่างๆ ได้อาทิ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคระบบทางเดินหายใจ

หากคุณแม่ทำอาหารเองไม่จำเป็นต้องเติมเกลือลงในอาหารสำหรับทารก แต่หากซื้ออาหารเสริมตามห้างสรรพสินค้า ควรพิจารณาปริมาณโซเดียมที่ระบุบนฉลากบรรจุภัณฑ์เสมอนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดย National Health Service (NHS) ในสหราชอาณาจักร แนะนำว่า อาหารที่มีเกลือในปริมาณสูง คืออาหารมีโซเดียมมากกว่า 0.6 กรัมต่ออาหาร 100 กรัม ทั้งนี้ คุณแม่สามารถคำนวณปริมาณเกลือโดยคูณปริมาณโซเดียมด้วย 2.5 ค่ะ

ทางด้าน Scientific Advisory Committee on Nutrition (SACN) ในสหราชอาณาจักร ได้แนะนำปริมาณเกลือที่เด็กแต่ละวัยควรได้รับ ดังนี้

0-6 เดือน < 1 กรัม (โซเดียม 0.4 กรัม)

6-12 เดือน < 1 กรัม (โซเดียม 0.4 กรัม)

1-3 ปี 2 กรัม (โซเดียม 0.8 กรัม)

4-6 ปี 3 กรัม (โซเดียม 1.2 กรัม)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7-10 ปี 5 กรัม (โซเดียม 2 กรัม)

11 ปีขึ้นไป 6 กรัม (โซเดียม 2.4 กรัม)

คุณแม่บางคนเชื่อว่า การเติมเกลือเพียงหยิบมือเดียวไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ปัญหาอาจอยู่ตรงที่ ความจริงแล้วหยิบมือเดียวของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยทั่วไป เกลือ 1 หยิบมือเท่ากับ ¼ กรัม หากคุณแม่เติมเกลือในปริมาณดังกล่าวใน 3 มื้ออาหารของลูกน้อย ก็เท่ากับว่าคุณได้เติมเกลือลงไป 0.75 มิลลิกรัมแล้ว ซึ่งยังไม่รวมถึงเกลือที่ลูกน้อยได้จากนมแม่หรือนมผงเลย

ถ้าไม่เติมเกลือลูกจะขาดไอโอดีนหรือเปล่า?

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด แนะนำว่า ไอโอดีนไม่ได้มีอยู่เฉพาะในเกลือหรืออาหารทะเลเท่านั้น แต่ยังพบในน้ำตามธรรมชาติ ในเนื้อสัตว์ นม ไข่ ขนมปัง และผักหลายชนิดในปริมาณที่เพียงพออยู่แล้ว (ยกเว้นบางท้องถิ่นที่อาจต้องเติมธาตุไอโอดีนลงไปในน้ำกินน้ำดื่มด้วย) จึงไม่ต้องกังวลว่าลูกจะขาดไอโอดีน

ไม่จำเป็นต้อง ปรุงรสอาหารทารก ด้วยน้ำตาล

ทำไมจึงไม่แนะนำให้ปรุงรสด้วยน้ำตาลก่อน 1 ขวบ?

น้ำตาลที่เราจะพูดถึงนี้ หมายถึง น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ไม่รวมถึงน้ำตาลจากผลไม้รสหวานตามธรรมชาติหรือสารให้ความหวานธรรมชาตินะคะ สาเหตุเพราะ

  1. การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปเป็นสาเหตุของโรคฟันผุในเด็ก
  2. ทำให้เด็กติดหวาน ไม่ชอบรสธรรมชาติหรือรสฝาดของผัก ลดโอกาสที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์
  3. งานวิจัยพบว่า เด็กที่รับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวานมากขึ้นในภายหลัง

หากคุณแม่ให้ลูกกินผลไม้ลูกก็จะได้รับน้ำตาลธรรมชาติจากผลไม้อยู่แล้ว นอกจากนี้ การเติมนมแม่หรือนมผงลงในอาหารมื้อแรกๆ ของลูกก็สามารถเพิ่มความหวานได้เช่นกัน ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่น้ำตาลลงไปในอาหารของลูกน้อยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

8 เมนูอร่อยน่าหม่ำจากนมแม่

11 เมนูผลไม้บดละเอียดสำหรับเบบี๋เริ่มหม่ำ