เสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม
เสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม เป็นคำถามที่คุณแม่ทั้งหลายที่เสริมหน้าอกมาแล้ว และคุณผู้หญิงที่กำลังคิดที่จะเสริมหน้าอกเป็นกังวล กลัวว่าจะไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน แต่การเสริมหน้าอกนั้น มักจะนิยมเปิดแผลผ่าตัดใต้รักแร้ หรือใต้ราวนม เพื่อใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปใต้ หรือเหนือกล้ามเนื้อเต้านม โดยไม่มีการตัดท่อน้ำนมหรือตกแต่งบริเวณหัวนม ถุงสร้างน้ำนมก็ยังอยู่เหมือนเดิม จึงสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ แต่อาจทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นเวลามีน้ำนมได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : เสริมหน้าอกให้นมแม่ได้ไหม
โดยทั่วไปแล้ว การเสริมหน้าอกมักมีการวางซิลิโคน 2 ตำแหน่ง คือ วางใต้กล้ามเนื้อ หรือวางใต้ตัวเนื้อนม แต่ไม่ว่าจะวางซิลิโคนไว้ตรงตำแหน่งไหนก็ไม่มีผลต่อการให้นมลูก เนื่องจากถุงซิลิโคนวางอยู่ด้านใต้เนื้อนมส่วนที่ใช้สร้างน้ำนม ไม่มีผลกระทบต่อการสร้างน้ำนม จึงสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เพียงแต่หลังเสริมหน้าอก ควรนวดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเสริมหน้าอกด้วยถุงซิลิโคน ร่างกายจะมีการสร้างพังผืดมาล้อมถุงซิลิโคนไว้ ถ้าพังผืดมีมากก็อาจทำให้เต้านมมีลักษณะแข็งตึงไม่เหมือนธรรมชาติได้
หากเสริมหน้าอกแล้วน้ำนมจะลดลงไหม
โดยปกติแล้ว การเสริมหน้าอกไม่ได้ทำให้ปริมาณของน้ำนมลดลง หากลูกได้ดูดนมตั้งแต่หลังคลอด ดูดทุก 2 ชั่วโมงหลังคลอดใหม่ ๆ และอมหัวนมจนมิดลานนมอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตาม อาจมีคุณแม่บางราย ที่เสริมเต้านมแล้วอาจรู้สึกชาหัวนมเมื่อลูกดูดนม นอกจากนี้ปฏิกิริยาของระบบประสาทที่กระตุ้นให้น้ำนมไหลพุ่งออกจากหัวนมอาจลดลง จึงทำให้นมไหลน้อยลงได้เหมือนกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : การเสริมหน้าอก ทำนม สำหรับผู้หญิง หน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอด
ให้นมลูกหลังเสริมหน้าอก นมจะยานไหม
คุณแม่ที่เสริมหน้าอกแล้วให้นมลูก เต้านมจะหย่อนคล้อยเท่าคนทั่วไปที่ไม่ได้เสริมหน้าอกมา เนื่องจากตอนตั้งครรภ์นั้น หน้าอกจะขยาย และตึงมากขึ้น พอหลังคลอดจึงหย่อนคล้อยกว่าเดิมเป็นเรื่องปกติ
คำแนะนำสำหรับคนที่กำลังคิดจะเสริมเต้านม
1. ปัญหานมคัดตึงตอนให้นมลูกน้อย
เนื่องจากการผ่าตัดเสริมเต้านมนั้น อาจมีการทำลายต่อมน้ำนม ท่อน้ำนม เส้นเลือด เส้นประสาทบ้าง โดยเฉพาะ แผลผ่าตัดที่อยู่ใต้ลานนม รวมทั้งการเพิ่มปริมาณนมจากสารที่เสริมนม ทำให้ขณะตอนให้นมลูกน้อย นมอาจจะบวมคัดตึง รู้สึกไม่สบายมากกว่าปกติ
2. ปริมาณของน้ำนมของคุณแม่
โดยทั่วไปปริมาณของน้ำนมคุณแม่นั้นจะไม่ลดลง หากลูกน้อยได้ดูดนมตั้งแต่หลังคลอด ให้ลูกน้อยดูดนมทุก ๆ 2 ชั่วโมงหลังคลอดใหม่ ๆ และอมหัวนมจนมิดลานนมอย่างถูกวิธี แต่ในคุณแม่บางรายที่เสริมหน้าอกมา อาจจะรู้สึกชาที่หัวนมเมื่อลูกน้อยดูดนม นอกจากนี้ปฏิกิริยาของ ระบบประสาทกระตุ้นให้นมไหลพุ่งออกมาจากหัวนมอาจจะลดลง จึงทำให้น้ำนมไหลน้อยลง
3. ความสำเร็จในการให้นมแม่
พบว่าโอกาสให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในคนที่เสริมเต้านม จะประสบความสำเร็จน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เสริมเต้านมเลย ถึง 3 เท่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องไม่ใช่การที่เสริมเต้านมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ
- แม่ที่เสริมเต้านมนั้น มีความตั้งใจในการที่จะให้นมลูกน้อยกว่าคนที่ไม่เสริมเต้านม โดยงานวิจัยทางการแพทย์เผยว่า ผู้หญิงที่เสริมเต้านมนั้นมักเป็นผู้หญิงที่มีอายุน้อย ฐานะดี สุขภาพที่แข็งแรง แต่งงานแล้ว มีลูกแล้ว มีความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของตนเอง
- เกรงว่าสารที่ทำการเสริมเต้านมนั้น จะทำอันตรายต่อลูกน้อย ในที่นี้คือซิลิโคนเหลวนั้น ซึ่งแม้แต่ตัวคุณแม่เองก็มีรายงานว่า อาจจะก่อให้เกิดภูมิแพ้เพิ่มขึ้นด้วย จึงมีความกังวลว่า หากมีการเกิดรั่ว หรือแตกอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยที่กำลังทำการดูดนมจากเต้า
- เกรงว่าหน้าอกที่ไปทำมา อาจจะเกิดการหย่อนคล้อยหากให้นมลูก แม้มีงานวิจัยยืนยันว่า แม่ที่เสริมเต้านมแล้วให้นมลูก เต้านมจะหย่อนคล้อยเท่าคนทั่วไปที่ไม่ได้ทำการเสริมเต้านม เพราะตอนตั้งครรภ์นั้นหน้าอกจะเริ่มขยาย และตึงมากหลังคลอด จึงหย่อนคล้อยกว่าเดิมเป็นเรื่องธรรมดา
บทความที่เกี่ยวข้อง : การดูแลเต้านม / 100 สิ่งที่คุณแม่ หลังคลอด ต้องรู้ ตอนที่ 66
อย่างไรก็ตาม การทำนม เสริมหน้าอกนั้น ควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ก่อนเสริมหน้าอกควรหาข้อมูล หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ตลอดจนแจ้งคุณหมอให้ทราบว่าหลังเสริมหน้าอกแล้วจะวางแผนที่จะมีลูก และจะให้นมลูกเอง และหากมีข้อสงสัย หรืออาการผิดปกติ อื่น ๆ ก็สามารถปรึกษาสูตินรีแพทย์เพิ่มเติมได้
ที่มาอ้างอิง https://goodlifeupdate.com, woobox