เลือกโรงเรียนให้ลูก เลือกแบบไหนดี
นพ.นิธิ หล่อเลิศรัตน์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ให้คำแนะนำกับ theAsianparent ไว้ว่า ปัจจุบัน รูปแบบของการศึกษาในประเทศไทยมี 2 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ แนวทางหลักที่เน้นภาควิชาการ เน้นการเตรียมเด็กแข่งขันต่าง ๆ ซึ่งโรงเรียนที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ และแนวพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก ซึ่งก็คือโรงเรียนทางเลือกที่ไม่เน้นสอนเด็กเกี่ยวกับวิชาการมากนัก แล้วแบบนี้พ่อแม่ควร เลือกโรงเรียนให้ลูก แบบไหนดีนะ?
โรงเรียนทางเลือกดีอย่างไร
ความพิเศษของโรงเรียนทางเลือกก็คือ การเรียนการสอนโดยใช้พื้นฐานมาจากการเล่นของเด็กค่ะ เน้นการพัฒนาทางทักษะต่าง ๆ จากความสามารถเฉพาะตัวของเด็ก ให้เด็กศูนย์กลางของการเรียนรู้ และมีการปรับการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กอยู่เสมอ ทำให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนรู้มากกว่าการยัดเยียดข้อมูลทางวิชาการค่ะ อีกทั้งจำนวนนักเรียนในชั้นเรียนก็ไม่มาก ทำให้มีอัตราส่วนของนักเรียนกับคุณครูมีความเหมาะสมกันด้วย
โรงเรียนทางเลือกมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
จริง ๆ แล้ว โรงเรียนทางเลือกมีหลายรูปแบบมาก มีหลายหลายหลักสูตรและหลากหลายรูปแบบการเรียนการสอน เช่น แบบมอนเตสเซอรี่ (Montessori) แบบโครงการ (Project Approach) แบบวอลดอร์ฟ (Waldorf) แบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence) เแบบนีโอ-ฮิวแมนนิสต์ (Neo-Humanist Education) แบบเรกจิโอ เอมิเลีย แบบไฮสโคป (High Scope) และแบบภาษาธรรมชาติ (Whole Language Approach) เป็นต้น ซึ่งในที่นี่จะขออธิบาย 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori)
โรงเรียนรูปแบบนี้ ใช้แนวคิดที่เชื่อว่าเด็กเรียนรู้ผ่านการซึมซับ และเชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้เอง โดยมีครูเป็นผู้ที่ช่วยในการสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ทำให้เด็กรู้จักการลองผิดลูกถูกลองการใช้ชีวิตที่เป็นระบบผ่านการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงยังให้เด็ก ๆ ได้เรียนคละกันทั้งเด็กเล็ก และเด็กโต เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยการส่งเสริมให้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีคุณภาพ และรู้จักเกื้อกูลกัน ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่า Practical Life และเป็นการป้องกันการกลั่นแกล้งกันระหว่างเด็กเล็กและเด็กโตด้วยค่ะ
จุดเด่นของโรงเรียนรูปแบบนี้คือ
- เครื่องมือที่ใช้ในสื่อการเรียนการสอน จะเป็นแนวทางให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามเส้นทางที่วางไว้ เปรียบเสมือนกับการสอนให้เด็กลากเส้นบนกระดานทรายที่คุณครูได้วาดเอาไว้แล้ว
- ให้รู้จักพึ่งพาตนเอง เช่น ฝึกให้เด็กกินข้าวเอง จัดจานเอง เข้าห้องน้ำเอง โดยที่โรงเรียนต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กด้วย เช่น ที่ล้างมือ โถส้วม ก็ต้องเป็นขนาดของเด็กค่ะ
2. รูปแบบวอลดอร์ฟ (Montessori)
โรงเรียนรูปแบบนี้ เน้นการเรียนการสอนผ่านหลักปรัชญาพื้นฐาน โดยอ้างอิงจากปรัชญาทั้งหมด ทำให้เด็กได้รู้จักถึงความเป็นมนุษย์ รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดลล้อม ทำให้เด็ก ๆ สามารถค้นหาศักยภาพของตนเองได้เอง โดยที่ไม่ได้ต้องทำตามค่านิยมของคนในสังคมแต่อย่างใด
จุดเด่นของโรงเรียนรูปแบบนี้คือ
- เน้น! กิจกรรมการเล่น ความสัมพันธ์ระหว่างครู ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเพื่อน ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เป็นไปตามพัฒนาการจนทำให้เด็กสามารถค้นหาตัวตนของตัวเองเจอ และพัฒนาเป็นศักยภาพเฉพาะบุคคลได้
- เด็กจะเริ่มเรียนตั้งแต่ที่มาของตัวอักษรก่อนในช่วยต้น แล้วค่อยเรื่มที่การอ่านตัวอีกษร การอ่านผสมคำตวอักษรไปเรื่อยๆ การเขียน ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่ารูปแบบนี้เด็กจบอยุบาลแล้วอาจยังไม่เริ่มิ่านเขียนเลยด้วยซ้ำ กว่าจะเริ่มเรียนก็ต้องให้ขึ้นชั้นประถมก่อนค่ะ
3. รูปแบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia)
โรงเรียนรูปแบบนี้ เป็นการนำทฤษฎีการสื่อสารของเด็กเล็กมาใช้ แรกเริ่มนั้นมักจะใช้กับในโบสถ์จะออกแนวทางศาสนามากกว่า เน้นที่สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็กคล้ายกับแบบแรก โดยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้สื่อ และการเลือกเอาสิ่งที่เด็กสนใจมาใช้ในการเรียนการสอน ไม่มีหลักศูตรการเรียนที่ตายตัวค่ะ รวมถึงการใช้การจดบันทึกในการสื่อสารด้วย ที่มีทั้ง การสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับครู ครูกับนักเรียน และระหว่างคุณครูในโรงเรียนและต่างโรงเรียนด้วยค่ะ
จุดเด่นของโรงเรียนรูปแบบนี้คือ
- การลองผิดลองถูก แต่เป็นการลองผ่านทางครู หากครูพบว่าผิดก็จะมีการแก้ไขให้ถูกต้อง
- การทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นการเพิ่มมิติทางสังคม โดยการใช้การเรียนการสอนที่เรียกว่า project base คือ การเลือกเรื่องหรือประเด็นจากสิ่งที่เด็กสนใจ แล้วให้เด็กทำงานกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเลือกทำทั้งห้อง หรือเลือกทำเฉพาะกลุ่มเด็กผู้ชาย และกลุ่มเด็กผู้หญิงก็ได้ ซึ่งระยะเวลาของโปรเจคจะแตกต่างกันไปไม่แน่นอนค่ะ อาจจะทำทั้งปี หรือทั้งเทอมก็ได้
- การนำเอาศิลปะมาใช้เพื่อการสื่อสาร เพื่อใช้ในกระบวนการคิดการทำงาน อาจจะเป็นการใช้สี แสง งานปั้น การเคลื่อนไหวทางร่างกาย และดนตรี
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้รู้จักโรงเรียนทางเลือกแต่ละรูปแบบแล้ว ตอนนี้คงจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่าอยากให้ลูกเลือกเรียนโรงเรียนแบบไหน แต่อยากจะแนะนำอีกนิดนะคะว่า ให้ลองเข้าไปพูดคุยกับคุณครู ดูสภาพแวดล้อมจริงของทางโรงเรียน หรืออาจจะพาลูกน้อยไปดูด้วยก็ได้นะคะ
ขอขอบคุณ นพ.นิธิ หล่อเลิศรัตน์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ และ พญ.มัณฑนา ชลานันต์ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ที่สละเวลามาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจกับ theAsianparent Thailand ด้วยนะคะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ควรให้ลูกควรเข้าโรงเรียนตอนกี่ขวบ ให้ลูกเข้าเรียนเตรียมอนุบาลเลยดีไหม
ข้อดีและข้อเสียของการให้ลูกเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาล
ก่อนเข้าเรียนอนุบาล ลูกต้องทำอะไรเป็นบ้าง