เรื่องเล่าสุดซึ้งกับสี่ชั่วโมงสุดท้ายก่อนลูกจากไป

แม่ต้องคลอดลูกก่อนกำหนด เพราะชีพจนอ่อนลง และแม่ก็มีเวลาเพียงแค่สี่ชั่วโมงที่จะกล่าวคำร่ำลา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เอเวอร์ลีน ต้องคลอดก่อนกำหนดในสัปดาห์ที่ 36 เพราะหมอตรวจพบว่า ชีพจรของ เอเวอร์ลีน กำลังเต้นอ่อนลง ทำให้ เมล ไรอัน ต้องคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าท้องคลอดทันที

หลังจากทีเอเวอร์ลีนถือกำเนิดขึ้นดูโลกนั้น น้ำหนักตัวของเธอเหมือนกับทารกที่อยู่ในช่วงอายุครรภ์ที่ 30 สัปดาห์ วันนั้น หมอได้แจ้งข่าวร้ายกับ เมล ว่า เอเวอร์ลีน จะสามารถมีชีวิตอยู่บโลกนี้ได้อีกไม่นาน เนื่องจากเธอป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ

"ในตอนนั้น ฉันไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าการได้กอดและสัมผัสนางฟ้าตัวน้อยของฉัน ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เราได้อยู่ด้วยกัน แต่มันก็เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดก่อนลูกจะจากเราไป" เมลกล่าว

ไม่ใช่แต่ เมล เท่านั้นที่ได้ใช้เวลาร่วมกันกับ เอเวอร์ลีน สามีของ  เมล ก็ได้นำลูกสาวคนโตของเขาทั้งสองคนมาเจอกับ เอเวอร์ลีน น้องสาวเป็นครั้งสุดท้ายด้วย หลังจากนั้นไม่นาน เมล ก็ตั้งครรภ์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคราวนี้ เธอต้องทำการเช็คครรภ์และทารกของเธออย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำขึ้นอีก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และถึงแม้ว่าทุกคน จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติสุข แต่แน่นอนว่า ไม่มีวันไหน ที่พวกเขาไม่เคยลืมที่จะนึกถึง เอเวอร์ลีน นางฟ้าตัวน้อยของพวกเขาอีกเลย "เอเวอร์ลีน จะยังคงอยู่ในใจของพวกเราทุกคนตลอดไป"

มารู้จักโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กกันเถอะ

ท่านทราบหรือไม่ว่า โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด  จากสถิติทั้งในและต่างประเทศพบเด็กเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดถึงร้อยละ 70-80 ของโรคหัวใจในเด็กทั้งหมด ในประเทศไทย พบว่าในแต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่เป็นโรคหัวใจ 7,000 – 10,000 คน ดังนั้น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจึงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดคืออะไร

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของขั้นตอนการสร้างหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา พบโรคนี้ในทารกแรกเกิดมีชีวิตถึง 8 ใน 1,000 คน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 50 ไม่มีอาการ ที่เหลือมีอาการเขียว หรือ หัวใจวายร่วมด้วยอย่างละเท่าๆกัน ที่ อาจเสียชีวิตก่อนเกิด บางรายเริ่มมีอาการ หรือ ตรวจพบตั้งแต่แรกเกิด หรือ ตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติในสัปดาห์แรก บางรายตรวจพบเมื่ออกจากโรงพยาบาลหลังคลอด หรือ มีอาการหลังอายุ 1-2 เดือน หรือ หลังจากนั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดได้อย่างไร

ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่จากการศึกษาพบว่าประมาณร้อยละ 30 ของเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีความผิดปกติของอวัยวะอื่นร่วมด้วย ร้อยละ 8 เป็นเด็กกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) และร้อยละ 3 พบว่ามีสาเหตุจากมารดาติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือ มารดาได้รับยาบางชนิด สารเคมี สิ่งเสพติด เป็นต้น

การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีวิธีใดบ้าง

          การรักษาประกอบด้วย การรักษาด้วยยาจะช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น แต่ไม่ได้แก้ความผิดปกติ การรักษาที่ได้ผลดีคือ การผ่าตัดและการรักษาด้วยอุปกรณ์พิเศษทางสายสวน  (Interventional Cardiac catheterization) ซึ่งปัจจุบันมีความก้าวหน้าในทางการแพทย์มากขึ้น จึงช่วยให้เด็กโรคหัวใจได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้เด็กได้รับการรักษาหรือผ่าตัดในเวลาอันรวดเร็ว

ที่มา: Yahoo และ อ.ดร. อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์ ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ตรวจโรคหัวใจทารกแต่เนิ่น ๆ ช่วยรักษาชีวิตได้

บทความโดย

Muninth