เรื่องน่ารู้ ความผิดปกติระหว่างคลอดที่อาจเกิดขึ้น

ความผิดปกติของทารกระหว่างคลอด อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ทารกไม่กลับหัว สายสะดือพันคอ สายสะดือย้อย การนำเสนอบทความนี้เป็นเพียงข้อมูลสำหรับคุณแม่เท่านั้น อย่าได้วิตกกังวลเลยนะคะ เพราะคุณหมอจะดูแลคุณแม่และเจ้าตัวน้อยจนคลอดออกมาอย่างปลอดภัยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องน่ารู้ ความผิดปกติระหว่างคลอดที่อาจเกิดขึ้น

1. ทารกไม่กลับหัว (ท่าก้น)

ตามปกติแล้วท่าคลอดของทารกน้อย คือ  ต้องเป็นส่วนศีรษะนำออกมา  เมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มกลับหัวโดยมีส่วนศีรษะเป็นส่วนนำ  แต่ถ้าคุณแม่ท้องแรกตั้งครรภ์จนถึงระยะในช่วง 2-3 สัปดาห์ใกล้คลอดแล้ว  แต่ศีรษะของทารกยังไม่ลงเข้าสู่อุ้งเชิงกราน สันนิษฐานได้ว่า คุณแม่มีอุ้งเชิงกรานแคบ  และจะยิ่งยืนยันได้ชัดถ้าตรวจพบว่าศีรษะของทารกยังอยู่สูง

ท่าของทารกไม่กลับหัว แบ่งออกเป็น 3 ท่า ได้แก่

1. ทารกจะอยู่ในท่านั่ง งอข้อ สะโพก ขาเหยียดตรง เท้าชี้ไปทางหู 2 ข้าง

2. ทารกจะอยู่ในท่านั่ง งอข้อสะโพก และข้อเข่า โดยเท้า ทั้ง 2 ข้างอยู่ตำแหน่งที่สูงกว่าก้นเล็กน้อย

3. ทารกจะอยู่ในท่า คล้ายท่าที่ 2 แต่งอสะโพกน้อยกว่า แต่เท้าอยู่ต่ำกว่าระดับของก้น

สาเหตุของอาการทารกไม่กลับหัว มีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

1. เด็กในครรภ์มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าปกติ เช่น มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ หรือคุณแม่มีหน้าท้องหย่อนในการตั้งครรภ์หลัง ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ

3. ส่วนหัวเด็กไม่สามารถปรับเข้ากับอุ้งเชิงกรานได้ โดยเฉพาะภาวะรกเกาะต่ำ

4. ทารกแฝด

ทำอย่างไรเมื่อทารกไม่กลับหัว

การคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นทางช่องคลอดเป็นเรื่องยากที่สุดและอันตรายมาก คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดคลอด     เพื่อช่วยให้คุณแม่และทารกผ่านช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงในการคลอดให้เร็วที่สุด นอกจากคลอดศีรษะออกมาได้ยากมากแล้ว อาจเกิดปัญหาสายสะดือพันคอ และระยะเวลาที่นานขึ้นจะทำให้แม่และทารกอยู่ในภาวะเครียดมากซึ่งอาจเกิดอันตรายได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้น  ทางออกที่ดีที่สุดคือ ผ่าตัดคลอด แม้ว่าจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เมื่อเทียบกับการคลอดทางช่องคลอดแล้วน้อยกว่ามาก นvกจากนี้ การผ่าตัดคลอดที่ใช้วิธีบล็อกไขสันหลังแทนดมยาสลบจะทำให้คุณแม่ยังรู้สึกตัวและรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัว สามารถมองเห็นและชื่นชมทารกที่ออกมาได้ทันที

2. สายสะดือพันคอ

รก คืออวัยวะที่มีหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนสารอาหารและออกซิเจน เพื่อนำเลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์โดยผ่านสายสะดือ  สายสะดือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตรบางคนก็สั้นกว่านั้น ในขณะที่บางคนอาจยาวถึง 100 เซนติเมตรก็เป็นได้

ยิ่งถ้าสายสะดือยาวเกินไป เมื่อทารกมีการดิ้นก็จะทำให้สายสะดือมาพันที่ตัวทารกได้ และบริเวณที่พันบ่อยที่สุด คือ  บริเวณคอ เพราะเป็นบริเวณที่คอดที่สุดของลำตัวทารก โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์น้อย ๆ ซึ่งมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวให้ทารกมาก  การเคลื่อนไหวอย่างอิสระของทารกในน้ำคร่ำ ทำให้บางครั้งสายสะดือเข้าไปพันรอบคอของทารกเข้าโดยบังเอิญ

สายสะดือพันคอทารกในครรภ์นั้น เป็นเหตุสุดวิสัยที่ส่วนใหญ่ไม่อาจทราบได้ตั้งแต่ก่อนคลอด เพียงแต่อาจคาดเดาได้จากการตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผลที่เกิดจากสายสะดือพันคอ

การวินิจฉัยสายสะดือพันคอ  คุณหมอจะตรวจโดยการอัลตราซาวนด์  ถ้าพบว่ามีสายสะดือพันคอแบบหลวม ๆ  ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเลือดยังไหลไปเลี้ยงทารกได้  แต่คุณหมอต้องสังเกตการดิ้นของทารกอยู่เสมอ   ถ้ารู้สึกว่า  ลูกในท้องดิ้นน้อยลง  คุณหมอต้องตรวจการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ   หากพบว่าการเต้นของหัวใจผิดปกติ   ทารกในครรภ์จะเกิดภาวะขาดออกซิเจน คุณหมอจำเป็นต้องทำการผ่าตัดคลอดโดยทันที   หากสามารถช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว เด็กที่เกิดมาก็จะมีพัฒนาการและสุขภาพเหมือนเด็กปกติทั่วไป

3. สายสะดือย้อย

สายสะดือย้อยมักจะเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์หรือการเจ็บครรภ์   เกิดขึ้นเมื่อสายสะดือยื่นมาต่ำกว่า หรือนำส่วนนำออกของทารก  สายสะดือย้อยมักเกิดร่วมกับการแตกของถุงน้ำคร่ำ หลังจากที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้วทารก จะเคลื่อนต่ำลงในอุ้งเชิงกรานและกดทับสายสะดือ   ทำให้เลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงทารกลดลงหรือหายไป และทารกจะต้องคลอดโดยทันที

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. สายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำ ขณะที่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตกมักไม่ค่อยมีอาการผิดปกติ และจะตรวจพบโดยบังเอิญ

2. สายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำ ขณะที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้วจากการตรวจภายในจะพบว่าสายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำ บางรายสายสะดือจะโผล่ออกมาทางช่องคลอดเลยก็มี

3. สายสะดือมาอยู่ใกล้ ๆ กับส่วนนำเช่น ใกล้กับศีรษะทารก ซึ่งอาจจะถูกกดได้ง่ายเมื่อศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงขณะคลอด

สาเหตุของสายสะดือย้อย

1. ทารกตัวใหญ่และแม่มีช่องคลอดแคบ ทำให้ศีรษะของทารกไม่สามารถลอดออกมา ศีรษะของทารกก็จะอยู่ติดด้านบนของเชิงกราน คล้ายกับติดอยู่แค่ขอบบนของกรวย ไม่สามารถเอาศีรษะมุดลงมาได้ ทำให้บริเวณปลายด้านล่างมีที่ว่างมาก สายสะดือจึงไหลลงไปได้ง่าย

2. สายสะดือยาวกว่าปกติ ยิ่งสายสะดือยาวเท่าไร โอกาสที่สายสะดือจะย้อยก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

3. ตั้งครรภ์แฝด การคลอดทารกมากกว่า 1 คน ภายหลังจากคลอดทารกคนแรกแล้ว โพรงมดลูกจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้สายสะดือมีโอกาส ไหลลงมาก่อนลูกคนที่สองจะคลอดออกมาได้

ทำอย่างไรเมื่อเกิดภาวะสายสะดือย้อย

ให้คุณแม่เปลี่ยนท่านอน อาจให้นอนตะแคงหรือนอนศีรษะต่ำลง แล้วยกก้นให้สูงขึ้น เพื่อให้ศีรษะทารกเปลี่ยนตำแหน่ง หรือไหลกลับไปภายในมดลูก ซึ่งช่วยให้แรงกดที่สายสะดือลดลง ขณะเดียวกันคุณหมอจะให้คุณแม่ดมออกซิเจนด้วยตลอดเวลา  แต่วิธีการที่ดีที่สุด คือ  การผ่าตัดโดยด่วน ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคุณหมอในขณะนั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากข้อมูลที่นำมาเสนอนั้นมิได้มีเจตนาจะทำให้คุณแม่เกิดความกังวลใด ๆ นะคะ  ความผิดปกติระหว่างคลอดนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย  หากเทียบกับการคลอดตามปกติทั่วไป  เพราะถึงอย่างไรคุณหมอรวมไปถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครัน  ย่อมทำให้การคลอดผ่านพ้นไปด้วยดี  ได้เห็นหน้าทารกน้อยที่เฝ้ารอมาตลอดเก้าเดือน  ทำจิตใจให้สบายและพร้อมรับสมาชิกตัวน้อยที่จะเกิดมานะคะ

ร่วมแชร์ประสบการณ์บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพราะข้อมูลของคุณแม่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ ได้ค่ะ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.thainannyclub.com

https://guru.sanook.com

https://pregnancy.haijai.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นาทีชีวิต! คลิปสายสะดือพันคอเด็ก 6 รอบ

การตัดสายสะดือช้าลงเป็นผลดีกับสุขภาพของทารก