พ่อจ๋าแม่จ๋า เรียกชื่อหนูตั้งแต่อยู่ในท้อง ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของหนู นะรู้ไหม

ในช่วงตั้งครรภ์คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนคงเตรียมตั้งชื่อลูกน้อยเอาไว้แล้ว ชื่อจริงอาจจะยังไม่ได้ตั้ง โดยเฉพาะกรณีที่มีความเชื่อเรื่องการตั้งชื่อลูก แต่อาจจะมีการเรียกชื่อเจ้าหนูกันเล่น ๆ ระหว่างพ่อแม่และลูกในท้อง เชื่อไหมคะว่า เรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้องดีต่อ พัฒนาการด้านภาษา การได้ยินด้วยนะคะ จะเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรียกชื่อลูกในท้อง

เรียกชื่อลูกในท้อง ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทารก พ่อจ๋าแม่จ๋า เรียกชื่อหนูตั้งแต่อยู่ในท้อง จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของหนูนะรู้ไหม แถมเสียงพ่อแม่ที่คุ้นเคยนั้น ยังช่วยพัฒนาภาษาพร้อมกันไปได้อีกด้วย

 

เรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้องดีต่อพัฒนาการทารก

พัฒนาการได้ยินของลูกในท้อง

ระบบการได้ยินของทารกในครรภ์  จะพัฒนาเมื่ออายุครรภ์ 24-26 สัปดาห์ขึ้นไป ประสาทสัมผัสทางการได้ยินเริ่มพัฒนา ทารก จะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจและเสียงของแม่ จำนวนเซลล์ของระบบประสาทเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทารกเริ่มจดจำเสียงของคุณแม่ได้ การนำเอาเสียงภายนอกมาช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ วิธีการนี้จะทำให้ทารกเคยชินต่อเสียง และเป็นการพัฒนาภาษาพร้อมกันไปด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมต่อระหว่างระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ ทารกสามารถเคลื่อนไหวแขนและขาตามจังหวะของ ข้อพับ กำมือ ยืดตัว หรือพลิกตัวได้แล้ว

 

เรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้องดีต่อพัฒนาการทารก

เรียกชื่อลูกในท้อง : ต้องเริ่มต้นอย่างไรดี

เมื่อคุณแม่ได้ทราบแล้วว่า  พัฒนาการด้านการได้ยินของลูกในท้อง  จะพัฒนาเมื่ออายุครรภ์ได้ 24 - 26 สัปดาห์  อย่ารอช้ามาเริ่มปฏิบัติการกระตุ้นพัฒนาการด้านการได้ยินกันค่ะ  แต่อาจมีคุณแม่บางท่านสงสัยว่าจะเริ่มอย่างไรดี  ไม่ยากเลยค่ะ  เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่เปล่งเสียงเรียกชื่อลูกซ้ำ ๆ ทุกวัน

การเรียกชื่ออาจจะเป็นชื่อเล่นที่เตรียมไว้สำหรับเจ้าตัวเล็ก  หรือจะเรียกชื่อตามที่คุณพ่อคุณแม่เรียกกัน หรือการเรียกอาจจะยังไม่ถือเป็นชื่อก็ได้เพราะในบางครอบครัวจะมีความเชื่อในเรื่องการตั้งชื่อลูกเช่นนี้แล้วแต่ความเชื่อเฉพาะบุคคลนะคะ เช่น  เรียกลูกว่าเบบี๋ เจ้าตัวน้อย  เจ้าตัวเล็ก  ลูกหมาของแม่  คนสวยของแม่  ฯลฯ ตามสะดวกเลยค่ะ เรียกชื่อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการปฏิบัติ เสริมพัฒนาการลูกในท้อง

  1. การเรียกชื่อลูกในท้อง เสียงของคุณแม่ถือเป็นเสียงธรรมชาติที่ไพเราะที่สุดสำหรับลูกแล้วค่ะ คุณแม่หามุมสบาย ๆ เงียบสงบเพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่มีเสียงดังรบกวนจะช่วยเสริมคุณภาพเสียงและการได้ยินของลูกในท้อง จะทำให้ทารกได้ยินเสียงและจดจำเสียงได้ดีขึ้น
  2. วิธีที่สอง ชวนคุณพ่อมาร่วมพูดคุยเรียกชื่อลูกในท้องกันค่ะ  วิธีนี้มีตัวช่วยเพิ่มขึ้นนิดหน่อย  ผู้เขียนขอเรียกว่า  "โทรโข่งสื่อรักนะคะ"  วิธีการง่าย ๆ ในการทำโทรโข่งสื่อรัก  คือ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์พับเป็นรูปปากกรวย ปลายส่วนที่แคบเป็นทางเข้าของเสียงแม่ ส่วนปลายกว้างไว้จ่อบริเวณหน้าท้องของแม่  เรียกชื่อเลยค่ะ  เรียกบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ผลัดกันเรียกระหว่างเสียงพ่อและเสียงแม่เพื่อให้ลูกในท้องคุ้นเคยและจดจำเสียงได้
  3. วิธีที่สาม  คล้ายกับวิธีที่สองค่ะ เพียงแต่ใช้อุปกรณ์สำหรับพูดคุยกับทารกในครรภ์ที่เรียกว่า Infant Phone ซึ่งมีปลายหนึ่งไว้ให้คุณแม่พูด ส่วนอีกปลายหนึ่งไว้ครอบที่หน้าท้อง บริเวณใกล้ศีรษะของลูกในท้องก็ได้  ให้คุณแม่เรียกชื่อลูก  พูดคุยหรือร้องเพลงให้เจ้าหนูฟัง  หรืออาจจะเป็นการเล่านิทาน  อ่าหนังสือ  หรือแม้แต่การร้องเพลง  จะเป็นเพลงกล่อมเด็กแบบไทย ๆ ที่คุณแม่เคยได้ยินได้ฟังมาก็ได้ค่ะ ลูกจะชินกับการได้ยินเสียง

 

เมื่อทารกน้อยคลอดออกมาแล้วคุณแม่ยังสามารถนำเสียงเพลงหรือนิทานที่เคยอ่านตั้งแต่อยู่ในครรภ์มาใช้สำหรับขับกล่อมให้ลูกนอนก็ได้นะคะ  เพราะลูกจะคุ้นเคยกับเสียงของคุณแม่ จะช่วยทำให้ทารกสงบและหลับได้ง่ายขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้องดีต่อพัฒนาการทารก

คุยอะไรกับลูกดี : แม่นี้ยังสงสัย

เข้าใจเลยค่ะคุณแม่มือใหม่ที่อาจจะคุยไม่เก่งหรือไม่รู้จะคุยอะไรกับลูกดีน๊า!!!  ไม่ยากเลยค่ะบทสนทนาง่าย ๆ ที่ผู้เขียนเองเคยใช้

- เริ่มแรกให้ทักทาย สวัสดีค่ะ โบนัส (ชื่อลูกสาวของผู้เขียนเองค่ะ) ลูกรักของแม่ โบนัสตื่นหรือยังคะ ทักทายกันหน่อยสิ คุณแม่เอามือลูบท้องเป็นการทักทาย

- นอกจากนี้การพูดบอกความรู้สึกกับลูกในท้องก็ยิ่งดีนะคะ  "พ่อกับแม่รักโบนัสมากนะคะ" อีกไม่นานแม่จะได้เจอโบนัสแล้วนะคะ"  "ตอนนี้แม่กำลังกินข้าวอยู่ โบนัสหิวหรือยังคะ กินข้าวกับแม่นะลูก" ฯลฯ ง่าย ๆ แบบนี้แหละคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้องดีต่อพัฒนาการทารก

เรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้องดีต่อพัฒนาการด้านการได้ยิน

การพูดคุยเรียกชื่กลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง   ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสและสร้างวงจรในสมองของลูกได้   พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง   กล่าวว่า   "ประโยชน์ของพูดคุยและการอ่านหนังสือกับสมองของลูกนั้น  สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างวงจรในสมองของลูกตั้งแต่เริ่มต้นทั้งในเรื่องวงจรเสียงและความรู้สึกของพ่อแม่ที่ส่งผ่านไปยังลูกในท้อง  วงจรกลิ่นและสัมผัสแห่งรักที่ได้รับผ่านการสัมผัสหน้าท้องของคุณแม่ไปยังมดลูก น้ำคร่ำ แล้วไหลวนไปทั่วผิวหนัง  ทั่วร่างกายของลูก ลูกจะคุ้นเคยกับสัมผัสนั้นตั้งแต่ในครรภ์ จนถึงกำหนดคลอดทีเดียว"

 

เรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้องดีต่อพัฒนาการทารก

เรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้องดีต่อพัฒนาการด้านภาษา

พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ  กล่าวว่า  การพูดคุยเรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้อง  รวมไปถึงการฟังเลง  การอ่านหนังสือ  จะทำให้เด็กมีความจำเกี่ยวกับคำ แม้ว่าเด็กจะไม่ได้ยิน แต่เด็กจะคุ้นชินกับคำและประโยคที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง  ยิ่งพ่อแม่มีการต่อยอดหลังจากลูกคลอดออกมา  เด็กจะยิ่งมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ดีขึ้น  และเรียนรู้ได้เร็วขึ้น  จะเห็นได้ว่า การเรียกชื่อลูกตั้งแต่ในท้อง  การร้องเพลง  การอ่านหนังสือ  ทุกเสียงที่คุณพ่อคุณแม่อ่านเป็นคำ ๆ ให้ลูกฟังนั้นจะกระตุ้นสมองของลูก  ลูกจะบันทึกและสร้างวงจรของคำศัพท์ต่าง ๆ เอาไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

 

และยิ่งถ้าอ่านและใช้คำจากหนังสือสอนลูกในวัยก่อน 3 ขวบมากเท่าไร  เด็กจะมีชุดของคำเป็นหมื่น ๆ คำซึ่งจะมีผลต่อสติปัญญาของเด็กอย่างมาก   เนื่องจากเราเป็นมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้ผ่านภาษา  แต่ปัญหาที่น่าห่วง  คือ เด็กไทยมีชุดของคำไม่ค่อยมาก”

คุณหมอได้ให้คำแนะนำถึงการ  พูดคุยเรียกชื่อลูก รวมไปถึงการกระตุ้นพัฒนาการด้านการได้ยินและด้านภาษาด้วยการอ่านหนังสือร้องเพลงให้ลูกฟัง  สามารถเสริมสร้างความฉลาดให้แก่ลูกตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่ เมื่ออ่านแล้วอย่ารอช้า!!! มาพูดคุยเรียกชื่อลูกกันค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือสมองอ่าน  อ่านสมอง  ผู้แต่ง พญ.จันทร์เพ็ญ  ชูประภาวรรณ

https://www.huggies.co.th

https://www.rcpsycht.org

บทความอื่น ๆ ที่กี่ยวข้อง

ความสำคัญของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
การฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือช่วยให้ลูกฉลาดขึ้น

บทความโดย

Tulya