เริ่มต้นขอสินเชื่อบ้านให้ผ่านไม่ยาก แค่เตรียมเอกสารให้พร้อม

พ่อแม่คนไหนตัดสินใจแล้วจะซื้อบ้านหรือคอนโดหลังนั้น ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือ เริ่มต้นขอสินเชื่อบ้าน บางคนกังวลว่าจะยื่นขอยังไง ลองมาดูคำแนะนำกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เริ่มต้นขอสินเชื่อบ้าน ให้ผ่านไม่ยาก แค่เตรียมเอกสารให้พร้อม

หลังจากตระเวนหาที่อยู่อาศัยมาพักใหญ่ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงน่าจะตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะบ้านหรือคอนโดฯ ที่เหมาะกับครอบครัวของท่านได้เรียบร้อยแล้ว ในกระบวนการต่อไปจึงเป็นการ เริ่มต้นขอสินเชื่อบ้าน ในเรื่องของการทำสัญญาจะซื้อจะขายให้เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมวางมัดจำ ระหว่างตัวท่านเองและตัวโครงการ เพื่อสร้างความมั่นใจยิ่งขึ้น

โดยส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้ซื้อบ้านมักจะต้องขอสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงินเนื่องจากไม่สามารถซื้อบ้านด้วยเงินสดได้ในทีเดียว โดยในขั้นตอนแรกของการขอสินเชื่อก็จะเป็นเรื่องของการเตรียมเอกสารสำหรับในการยื่นกู้ซื้อบ้าน ซึ่งวันนี้เราจะพาไปเตรียมเอกสารเหล่านั้นพร้อมๆ กัน


เพื่อให้สามารถจัดเอกสารได้สะดวกขึ้น เราจะแบ่งเอกสารออกเป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

 

กลุ่มที่ 1 เอกสารประจำตัวผู้ขอสินเชื่อ 

เอกสารชุดนี้คือเอกสารที่จะระบุตัวตนว่าผู้ที่กู้เป็นใคร และพักอาศัยอยู่ที่ใด  เอกสารในกลุ่มที่ 1 ซึ่งผู้ขอสินเชื่อต้องจัดเตรียมเพื่อยื่นประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อ ซึ่งมีดังนี้

  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ เตรียมให้พร้อมทั้งต้นฉบับและสำเนา
  2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ทั้งต้นฉบับและถ่ายสำเนาทุกหน้า
  3. กรณีที่เปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุล ให้เตรียมใบจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อและนามสกุล ทั้งต้นฉบับและสำเนา ใช้ทั้งหมดไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อกี่ครั้ง
  4. กรณีสมรส เตรียมทะเบียนสมรส ทั้งต้นฉบับและสำเนา
  5. กรณีหย่า เตรียมทะเบียนหย่า ทั้งต้นฉบับและสำเนา
  6. กรณีคู่สมรสเสียชีวิต เตรียมมรณะบัตรของคู่สมรส ทั้งต้นฉบับและสำเนา
  7. กรณีแยกกันอยู่กับคู่สมรส เตรียมใบแจ้งความแยกกันอยู่ ทั้งต้นฉบับและสำเนา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลุ่มที่ 2 เอกสารแสดงความสามารถทางการเงิน

เอกสารชุดนี้จะให้ข้อมูลด้านรายได้และศักยภาพในการผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อ รวมไปถึงหลักทรัพย์ต่างๆ

 

กรณีเป็นพนักงานประจำสังกัดองค์กร ให้เตรียมเอกสารดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. หนังสือรับรองเงินเดือน ฉบับจริง
  2. เพย์เมนต์สลิปเงินเดือน หรือใบแจ้งการจ่ายค่าจ้างจากหน่วยงานย้อนหลัง 3 เดือน ฉบับจริงและสำเนา
  3. สมุดบัญชีแสดงรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน ทั้งฉบับจริงและสำเนา
  4. กรณีรับเงินเดือนเป็นเงินสด ให้เตรียมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปีหรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ทั้งต้นฉบับและสำเนา

กรณีประกอบธุรกิจส่วนตัว ให้เตรียมเอกสารดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (หนังสือบริคณห์สนธิ) กรณีที่มีการจดทะเบียน
  2. สมุดบัญชีแสดงการเดินบัญชีย้อนหลัง 12 เดือน ทั้งบัญชีส่วนตัวและบัญชีกิจการ ทั้งฉบับจริงและสำเนา
  3. บัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่แสดงรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน และวงเงินเบิกเกินบัญชี
  4. หลักฐานอื่นๆ เกี่ยวกับกิจการ เช่น ภาพถ่ายกิจการ 5 ภาพ รายชื่อผู้ถือหุ้น งบการเงิน หลักฐานรายได้และทรัพย์สินอื่นๆ หลักฐานแสดงการเสียภาษี (ภ.พ. 30) เป็นต้น

กรณีประกอบอาชีพอิสระ ให้เตรียมเอกสารดังนี้

  1. บัญชีเงินฝากแสดงรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน ทั้งฉบับจริงและสำเนา
  2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร วิศวกร ทนาย สถาปนิก เป็นต้น

 

กลุ่มที่ 3 เอกสารแสดงรายละเอียดหลักทรัพย์ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นสถาบันการเงินจะถือเอาอสังหาริมทรัพย์ที่กู้เงินไปซื้อนั้นมาเป็นหลักประกัน  ดังนั้นเอกสารที่แสดงรายละเอียดหลักทรัพย์ก็คือ เอกสารที่ระบุถึงอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ

  1. กรณีที่อสังหาริมทรัพย์คือที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ เป็นต้น ให้เตรียมสำเนาเอกสารสิทธิที่ดิน โฉนดที่ดิน (น.ส. 4 จ.) หรือหนังสือแสดงสิทธิ์ใน ที่ดิน (น.ส. 3 ก.) ถ่ายสำเนาทุกหน้าจำนวน 2 ชุด
  2. กรณีที่อสังหาริมทรัพย์คือห้องชุด ให้เตรียมหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช. 2) ถ่ายสำเนาทุกหน้า จำนวน 2 ชุด
  3. แผนที่ตั้งโดยสังเขปของอสังหาริมทรัพย์
  4. รูปถ่ายของอสังหาริมทรัพย์
  5. สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย และสัญญามัดจำ หรือหลักฐานการชำระเงินดาวน์
  6. กรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์มือสอง เป็นการซื้อต่อที่ไม่ได้ซื้อโดยตรงจากโครงการจัดสรร ให้เตรียมสำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้จะขาย
  7. สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง เช่น สัญญาซื้อขายที่ดิน (ทด. 13) ใบอนุญาตปลูกสร้างบ้าน ใบคำร้องขอเลขที่บ้าน เป็นต้น

 

กรณีมีผู้กู้ร่วม ให้ผู้กู้ร่วมทุกคนจัดเตรียมเอกสารในกลุ่มที่ 1 เอกสารประจำตัวผู้ขอสินเชื่อ และเอกสารในกลุ่มที่ 2 เอกสารแสดงความสามารถทางการเงิน   ตามวิธีการและรายละเอียดที่ให้ไว้ด้านบน 

 

ถึงแม้ว่าผู้ขอสินเชื่อจะเตรียมเอกสารครบถ้วนตามรายการแล้ว  แต่สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกขอเอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติม ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ  ในกรณีเช่นนี้ผู้กู้ควรรีบดำเนินการนำเอกสารส่งต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อภายใน 3 วัน เพื่อความต่อเนื่องของกระบวนการพิจารณา

 

บทความข้างต้นเผยแพร่ครั้งแรกที่ DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางอสังหาริมทรัพย์ ที่รวบรวม ข่าวอสังหาฯ คู่มือซื้อขาย และรีวิวโครงการใหม่ ไว้กว่า 10,000 บทความ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

อะไรจะเกิด เมื่อแม่จับได้ว่าแม่บ้านให้นมลูกตัวเอง

แม่บ้านต้องรู้! วิธีขจัดสกัดพลังตดสามี ให้อยู่หมัด!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri