เมื่อลูกเอาแต่ใจ : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกเอาแต่ใจ คุณพ่อคุณแม่ ควรจะทำอย่างไรดี นับว่าเป็นปัญหาที่แสนจะหนักอกหนักใจ สำหรับหลายครอบครัวเป็นอย่างมาก เมื่อลูกน้อย เริ่มจะแสดงอิทธิฤทธิ์ ถึงพลังที่ตัวเองมีอยู่ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ หรือเพียงแค่การต่อต้านผู้ใหญ่นั่นเอง

 

วิธีรับมือ เมื่อลูกเอาแต่ใจ

สาเหตุที่ทำให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ใช่หรือไม่ แล้วมีวิธีรับมืออย่างไร ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

 

เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบจะเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ซึ่งเด็กในช่วงปฐมวัยนี้ ยังไม่สามารถใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา แต่จะคอยสังเกต การตอบสนองจากคนรอบข้างทั้งพ่อ – แม่ และผู้ดูแล

 

หากพ่อแม่ไม่รู้ว่าลูกของตนกำลัง “ลองดี” กับตัวเองแล้วละก็ ลูกก็จะเรียนรู้ว่า “ถ้าทำอย่างนี้แล้ว พ่อแม่จะยอมเขา” เมื่อเด็กเรียนรู้ไปมาก ๆ เข้า ก็จะพัฒนากลายเป็นนิสัย และเริ่มรู้ว่าจะทำอย่างไร ให้ผู้ใหญ่ยอมทำในสิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว พ่อแม่คงต้องเหนื่อยอีกเยอะเลย เราจึงมีวิธีเตรียมรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง และรับฟังเหตุผลพ่อแม่มาฝากกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

คุณพ่อคุณแม่ เคยเจอลูกมีอาการเหล่านี้ บ้างหรือไม่?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เวลาที่ลูกต้องการจะให้พ่อแม่ทำอะไรให้ เช่น กินขนม ซื้อของเล่น พาไปเที่ยว เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ลูกก็จะร้องไห้งอแง หนัก ๆ เข้ามีอาการดิ้นลงไปกับพื้น ชักดิ้นชักงอ สุดท้ายพ่อแม่ก็ต้องยอมทำตามที่ลูกต้องการ หรือ เวลาที่ไปขัดใจลูก เช่น ให้หยุดเล่นเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ลูกก็จะร้องไห้งอแง เวลาที่พ่อแม่สอน หรือบอกลูกให้ทำอะไร ลูกมักจะ ต่อต้าน หรือไม่ยอมทำตาม

 

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการเหล่านี้

นับตั้งแต่ลูกเกิดออกมา ลูกของเราก็จะมีการเรียนรู้ เช่น เมื่อตัวเองรู้สึกหิว เมื่อร้องไห้แล้วมีน้ำนมให้กิน เด็กก็จะเรียนรู้ว่า อ้อ.. ถ้าหิวให้ร้องไห้นะ เดี๋ยวจะมีน้ำนมมาให้กินอิ่มอร่อย เมื่อลูกเรียนรู้ว่าทำแบบไหนแล้วได้ผล แต่เมื่อทำซ้ำแล้วยังไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ลูกก็จะเพิ่ม ความรุนแรง ของการกระทำขึ้นไปอีก

 

ตัวอย่างเช่น ครั้งแรกพ่อแม่พาไปเที่ยวแล้วซื้อของเล่น หรือขนมให้ลูกกิน เมื่อพาลูกออกไปอีก ลูกก็จะให้เราซื้อขนม หรือของเล่นเพิ่มให้ เมื่อไม่ได้ลูกก็จะร้องไห้ หากการร้องไห้ ครั้งนี้ทำให้พ่อแม่ใจอ่อน จนทำตามสิ่งที่ลูกต้องการ ลูกก็จะเรียนรู้ และเข้าใจไปเองว่า ทำแบบนี้แล้วพ่อแม่จะยอม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อวันต่อ ๆ ไปอยากจะได้อะไร ลูกก็จะนำกลับไปใช้มุขเดิม คือ ร้องไห้งอแง ถ้าไม่ได้ ลูกก็จะร้องไห้หนักขึ้น ดังขึ้น มีอาการลงไปนั่งชักดิ้นชักงอ หากพ่อแม่ยอมตามใจลูก ลูกก็จะจดจำไปอีกว่า ถ้าทำแบบขั้นที่ 1 ไม่ได้ ก็ทำแบบขั้นที่ 2 นี้ แล้วพ่อแม่จะยอมฉัน

 

ยิ่งพ่อแม่เห็นลูกร้องไห้งอแงแล้วก็ตามใจ หรือพูดโอ๋ลูก ลูกก็จะยิ่งจดจำว่า ทำสิ่งนี้แล้วจะมีคนรัก คนเอาใจ ซึ่งเด็กทุก ๆ คนจะเรียนรู้เองตามธรรมชาติ ทำให้ยิ่งโตขึ้น ลูกจะยิ่งเอาแต่ใจมากขึ้น และหากขัดใจ ก็จะร้องไห้ หรือมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

 

อีกทั้งลูกต้องการรู้เหตุผล หรือรู้สึกว่าถูกบังคับ มักเกิดขึ้นในครอบครัว ที่พ่อแม่ใช้คำสั่งเป็นหลัก โดยไม่มีการอธิบายสั้น ๆ ให้เด็กเข้าใจ  เช่น พ่อแม่ชอบพูดว่า “พ่อ – แม่ สั่งว่าไง ทำไมหนูไม่ทำ”

 

 

ทางแก้ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกให้มากว่า ลูกในวัยนี้ (ช่วง 6 ขวบแรก) หากสอน และฝึกไม่ตามใจลูกทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง ลูกจะโตขึ้นมาโดยไม่ติดนิสัยเหล่านี้

 

  • ควรให้ลูกหัดเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเอง เช่น พ่อแม่อาจจะเริ่มฝึกลูก (เริ่มตอน 2 ขวบ) ให้เริ่มใส่เสื้อผ้าเอง กินข้าวเอง ดื่มน้ำจากแก้วเอง ฯลฯ

 

  • ควรพาลูกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อลูกไปเจอกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ลูกจะเรียนรู้การแบ่งปัน การได้รับ และการให้

 

  • เวลาที่ลูกร้องไห้ เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำคือ การเข้าไปอุ้มลูก กอดลูกไว้ โดยไม่ต้องไปโวยวาย ไปดุด่าว่าลูก แค่กอดลูกไว้เฉย ๆ แล้วพาลูกออกมาจากสิ่งที่เขาต้องการ เช่น ร้านขนม ร้านของเล่น

 

  • เมื่อลูกอารมณ์เริ่มดีขึ้น พ่อแม่ควรสอนลูกว่าเหตุใดพ่อแม่จึงไม่ซื้อ หรือทำสิ่งนั้นให้ลูก แต่ไม่ควรไปดุด่าลูกอีก แค่บอกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ทำ หรือซื้อสิ่งนั้นให้ก็พอ

 

  • โปรดจำไว้ว่า แม้ว่าลูกจะยังเล็ก จะไม่เข้าใจเหตุผลที่พ่อแม่อธิบายไปทั้งหมด แต่ถ้าพ่อแม่ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ลูกจะซึมซับ ถึงการใช้เหตุผล ไม่ใช่การใช้อารมณ์ของพ่อแม่โต้ตอบ พ่อแม่หลายคนมักจะด่าว่าลูกว่า “ร้องทำไม หยุดร้องเดี๋ยวนี้” ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความรัก

 

 

 

  • ตั้งคำถามกับลูกบ่อย ๆ ว่า รู้สึกยังไงบ้าง และคิดยังไง กับสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ทำไมถึงอยากได้สิ่ง ๆ นั้น และทำไมจะต้องเอาสิ่ง ๆ นั้นให้ได้

 

  • เปิดโอกาสให้ลูกได้หัดตัดสินใจเองบ้าง อาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวของลูกเอง เช่น จะเลือกเสื้อผ้าตัวไหนดี มื้อเย็นนี้จะกินอาหารอะไรดี

 

  • พูดคุยกับลูกให้บ่อย เด็กในช่วงปฐมวัยนั้น พ่อแม่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยว และเป็น “ของเล่น” ที่ดีที่สุดสำหรับเขา หากพ่อแม่พูดคุยกับลูกสม่ำเสมอ เล่นกับลูก ให้ความรัก กอดลูกให้มาก ลูกจะไม่ใช้ ความก้าวร้าว เป็นตัวต่อรองกับพ่อแม่

 

  • ถ้าลูกสามารถเถียงได้ตลอดเวลา พ่อแม่ควรทำการเตือน แล้วตามด้วยผลที่ตามมา เช่น “ถ้าหนูยังเถียงแม่อีก วันนี้แม่จะงดให้หนูดูทีวี”

 

  • ถ้าลูกปฏิเสธสิ่งที่แกไม่อยากทำ พ่อแม่ควรมีทางเลือก เช่น ถ้าเด็กไม่อยากทำความสะอาดห้อง แทนที่พ่อแม่จะบังคับ พ่อแม่อาจพูดว่า “หนูอยากจะทำความสะอาดห้องตอนนี้ หรืออีก 10 นาทีถัดไป” แทนการออกคำสั่งว่า “หนูต้องทำความสะอาดห้องตอนนี้”

 

เด็กนั้นเปรียบเสมือนผ้าขาว ที่พ่อและแม่ เป็นผู้แต่งแต้มสีลงไป หากพ่อแม่ดูแลลูก ด้วยความใส่ใจ ความรัก อบรมเลี้ยงดู ด้วยเหตุ และผล  และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเขา เด็กก็จะซึมซับ และเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในวันข้างหน้า

 

ที่มา : HD สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหา ความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

แม่ห้ามทำ เมื่อลูกอาละวาด ลูกโมโหง่าย โมโหร้าย ก้าวร้าว วิธีจัดการเด็กอาละวาด 4 ไม่ ที่แม่ห้ามทำ เมื่อลูกเกิดกรีดร้อง อาละวาด

อั๋น ภูวนาถ คว่ำบาตร ใส่น้องพอล เผยเคล็ดลับปรับพฤติกรรมลูกชาย ให้อยู่หมัด

บทความโดย

Arunsri Karnmana