เพิ่มน้ำหนักตัวอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัยขณะตั้งครรภ์?

แม่ท้องทั้งหลายจ๋า...อย่ามัวแต่กลัวอ้วน อย่าตามใจปากจนเพลิน เพราะน้ำหนักอาจพุ่งพรวดจนเป็นอันตรายได้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภายหลังจากที่แพ้ท้องกันมาอย่างหนักหน่วงในช่วง 1 เดือนแรก ทานอะไรก็ทานไม่ได้ ทานไม่ลง เบื่ออาหาร … น้ำหนักลงฮวบ! ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะเมื่อเข้าเดือนที่ 2 เมื่อไหร่ น้ำหนักของคุณแม่ท้องก็จะพุ่งพรวดขึ้นอย่างรวดเร็ว! งานนี้แหละที่คุณแม่จะต้องควบคุมน้ำหนักของตัวเองเอาไว้ให้ดี อย่าให้ขึ้นมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์จนเกินไป เพราะมิเช่นนั้นอาจจะส่งผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้

แล้วถ้าหากคุณแม่ท้องเป็นคนหนึ่งที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ละก็ คุณหมอก็คงจะต้องแนะนำให้คุณแม่ทำการเพิ่มน้ำหนักตัวให้เหมาะสมตามเกณฑ์ ซึ่งในวันนี้เราก็มีเกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักตัวให้เหมาะสมกับอายุครรภ์มาฝากกันค่ะ

ก่อนอื่นเรามาดูวิํธีการคำนวณน้ำหนักกันก่อนดีกว่านะคะ เริ่มต้นจากการคำนวณหาค่า BMI หรือ Body Mass Index และสูตรของการคำนวณก็คือ การเอาน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง นั่นเองค่ะ เมื่อหาค่า BMI ที่ว่านี้ได้แล้ว เราก็มาดูกันเลยค่ะว่า น้ำหนักตัวที่เราเพิ่มขึ้นนั้นควรเป็นอย่างไร

–    คนที่มีรูปร่างผอม (BMI=น้อยกว่า 18.5) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสมคือ 9 – 12 กิโลกรัม
–    คนที่อยู่ในระดับมาตรฐาน (BMI=18.5 – น้อยกว่า 25) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสมคือ 7 – 12 กิโลกรัม
–    คนที่มีรูปร่างอ้วน (BMI=ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสมคือ ประมาณ 5 กิโลกรัม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการเพิ่มน้ำหนักให้ปลอดภัยนั้น คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับ โภชนาการทางด้านอาหารให้มากค่ะ เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การรับประทานอาหารที่เพิ่มพลังงานแต่เพียงอย่างเดียว และนี่คือคำแนะนำที่อยากให้คุณแม่ท้องได้ปฏิบัติตาม

  1. ควรทานอาหารที่หลากหลาย เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ โดยเน้นโปรตีน แต่ให้หลากหลายและมาจากธรรมชาติ เช่น ปลา ไก่ หมู ไม่ใช่ทานอาหารอย่างเดียวในปริมาณมาก เช่น ไข่ 10 ฟองต่อวัน นมวันละ 2 ลิตร ซึ่งอาจทำให้ลูกน้อยคลอดออกมาจะเสี่ยงต่อแพ้ไข่ แพ้นม ได้
  2. ควรหมั่นคอยดูแลรักษาโรคประจำตัวของตัวเองให้ดีอยู่เสมอ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนไม่พอ มีความเครียด ความกังวล ก็ทำให้ลูกตัวเล็กได้เช่นกัน
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
  4. คุณแม่ท้องควรออกกำลังกายด้วย ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถทำได้ และพบว่าอาจช่วยให้สุขภาพลูกแข็งแรงด้วย

ที่มา: WebMD

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth