โรคเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome หรือ CFS) เป็นกลุ่มอาการเพลียเรื้อรัง หรือกลุ่มอาการความล้าเรื้อรัง โดยยังไม่พบเหตุผลที่แน่ชัดว่าทำไมถึงเป็นโรคเพลียเรื้อรังได้ แต่อาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ
เกิดง่ายในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
สิ่งที่น่ากังวลคือโรคเพลียเรื้อรัง มักจะเกิดกับผู้หญิงในวัย 40-50 ปี มีแนวโน้มเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากกับคนที่มีการเครียดและซึมเศร้า รวมทั้งผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติ
สังเกตอย่างไรว่าเป็นโรคเพลียเรื้อรัง
1.ไม่ใช่แค่รู้สึกเหนื่อยแต่ร่างกายเพลียจริงๆ
ความเพลียที่เกิดขึ้นเกิดจากร่างกายไม่ใช่จิตใจ จึงไม่ใช่แค่รู้สึกเหนื่อยทั่วไป แต่อาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ แม้จะนอนเต็มอิ่มเท่าไหร่ก็ยังรู้สึกว่านอนไม่พอ
2.แม้ภายนอกจะดูสดใสก็ใช่ว่าจะไม่เป็น
อาการเพลียเรื้อรังสามารถเกิดได้กับคนที่ดูสดใส มีความสุข ยิ้มได้ทั้งวัน แต่จริงๆ แล้ว ร่างกายกำลังเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง
3.แค่ลืมตาตื่นมาใช้ชีวิตในแต่ละวันก็รู้สึกเหมือนไปออกศึก
ด้วยอาการเพลียที่เกิดขึ้น ทำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยง่ายผิดปกติ ในแต่ละวัน แค่ใช้ชีวิตทั่วไป ตื่นมาทำงาน กลับบ้านนอน ก็ยังรู้สึกว่าเหนื่อยเหมือนกับไปออกศึกทุกวัน
ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ อาจกำลังเป็นโรคเพลียเรื้อรัง
ผู้ป่วยมักมีสมาธิที่ไม่ดี รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บคอคล้ายเป็นหวัด ปวดเมื่อยเนื้อตัวทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรหนักหนา ปวดได้ตามบริเวณข้อของร่างกาย นอนหลับแต่ไม่สนิท แม้จะหาเวลาพักผ่อน นอนมากเท่าไหร่ก็ยังไม่เต็มอิ่ม ส่วนสิ่งที่มองเห็นได้ชัดๆ คือ ต่อมน้ำเหลืองโตที่คอหรือรักแร้
สำหรับวิธีป้องกันและรักษาโรคเพลียเรื้อรัง ต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และดูแลตัวเองไม่ให้เครียด ลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะช่วยให้ดีขึ้น แต่โรคนี้ต้องรักษาตามอาการและเมื่อเป็นแล้วก็ยังไม่หายขาด ต้องคอยดูแลตัวเองให้ดีเพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นซ้ำ
ที่มา : sg.theasianparent.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
5 วิธีรับมือลดอาการอ่อนเพลียระหว่างตั้งครรภ์
เคยสงสัยไหม ทำไมแม่ท้องชอบหน้ามืด?