แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่คงไม่ได้ตั้งใจที่จะให้ลูกนอนไม่เพียงพอ ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่ทำงานทั้งวัน ลูกๆ มีตารางเวลาที่เต็มไปด้วยการเรียน กิจกรรมหลังเลิกเรียนและกิจกรรมอื่นๆ รวมถึงเวลาเข้านอนก็ถูกเลื่อนให้ดึกขึ้น และต้องตื่นเช้าขึ้น การอดงีบกลางวันหรือการนอนดึกอาจดูเหมือนไม่เป็นเรื่องใหญ่ แต่จริงแล้วอาจมีปัญหาที่กระทบตามมา
ไขความลับมีอะไรซ่อนอยู่ในการนอนของลูกน้อย… นอนไม่พอ…สมองลูก พัฒนาไม่ต่อเนื่อง…
ขณะลูกน้อยนอนหลับ สมองของพวกเขาจะทํางานและสร้างประสิทธิภาพการเชื่อมต่อระหว่างสมองใหญ่ซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งเชื่อมผ่านทาง splenium ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคอร์ปัสคัลโลซัม (corpus callosum) ประสานการติดต่อสื่อสารระหว่างสมองสองซีก
การศึกษาพบว่าสมองอัจฉริยะของอัลเบิร์ท ไอน์สไตน์ มีการเชื่อมต่อของสมองทั้งสองซีกที่ดี มากกว่าปกติ เมื่อสมองเติบโต เส้นใยประสาทที่สร้างสานตอนเด็กๆ ทําหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสําหรับการเชื่อมต่อระบบประสาทที่ซับซ้อนมากขึ้นตลอดชีวิต
การเชื่อมต่อเริ่มต้นเหล่านี้จะเกิดในระหว่างการนอนหลับและผ่านกิจกรรมประจำวันในช่วงวัยเด็ก การมีสมองทั้งสองซีกในสัดส่วนที่รับกันและมีการเชื่อมต่อที่ดีเป็นกุญแจสําคัญในพัฒนาการ การเรียน ความจํา และความ คิดสร้างสรรค์ การเชื่อมต่อในสมองโดยทั่วไปจะแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงระหว่างการนอนหลับเมื่อเด็กอายุมากขึ้น
นอกจากนี้ความแข็งแรงของการเชื่อมต่อระหว่างสมองซีกซ้ายและขวาจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นในช่วงการนอนหลับ ความสมบูรณ์ของเส้นใยประสาทจะนำไปสู่การพัฒนาในทักษะต่างๆ เช่น ความจำ การเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์ การนอนหลับ จึงมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาสมองของลูกน้อยอย่างมาก
ร่างกายของลูกน้อยไม่สามารถสร้างกรดอะมิโนจําเป็นได้ ร่างกายต้องได้รับกรดอะมิโนจําเป็นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และหนึ่งในกรดอะมิโนสําคัญนี้เรียกว่าทริปโตเฟน ซึ่งทริปโตเฟนมีบทบาทสําคัญในพัฒนาการของระบบประสาทของลูกน้อยวัยแรกเกิด สารอาหารที่ชื่อว่า แอลฟา-แลคตัลบูมิน (Alpha-lactalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูง พบมากในนมแม่นั่นเอง และเมื่อย่อยแล้วให้กรดอะมิโนจำเป็น
เราทุกคนรู้ถึงความจำเป็นของการนอนหลับ แต่อย่างไรก็ดี การที่มีวิทยาศาสตร์ช่วยเตือนเราถึงความสำคัญของการนอนหลับว่าลูกน้อยต้องการการนอนหลับที่ดี เพื่อการพัฒนาทางสมองและการเจริญเติบโตที่ดียิ่งขึ้นนั้นเป็นการช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่อย่างมาก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยโดยเน้นเรื่องจัดวางการนอนหลับตอนกลางคืน และลำดับความสำคัญ ของเรื่องนี้ให้มาก ไม่ควรมองข้ามนะคะ
แหล่งอ้างอิง:
[1] Salome Kurth, et al. Natural Science, Research. Nov. 20, 2013. University Of Colorado Boulder
[2] Christopher Bergland, The Athlete’s Way, Sleep Strengthens Healthy Brian Connectivity: Psychology Today Nov 21, 2013
[3] Heine WE. The significance of tryptophan in infant nutrition. In: Huether G, Kochen W, Simat TJ, Steinhart H, eds. Tryptophan, Serotonin, and Melatonim: Basic Aspects and Applications. New York, NY: Kluwer Academic/Plenum Publishers; 1999:705-710. Advances in Experimental Medicine and Biology; vol 467.
[4] Heine WE, Klein PD, Reeds PJ. The importance of Alpha-Lactalbumin in infant nutrition. J.Nutr. 1991;121:277-283
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
วิจัยชี้! เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า อารมณ์ร้าย ผลการเรียนตกต่ำ
เป็นแม่ใครว่าง่าย เลี้ยงลูกอยู่บ้าน นอนทั้งวัน ไม่เห็นจะยากเลย จริงหรอ?
คุณแม่ต้องรู้!! 5 วิธี ปกป้องลูกน้อยจากโรคติดเชื้อ ในโรงเรียนอนุบาล