เปิดคลิปนาทีชีวิต “ทารกแรกเกิด” ที่คุณหมอสามารถยื้อไว้ได้
ด้วยจรรยาบรรณของแพทย์ ทำให้ทีมแพทย์ผ่าตัดชุดนี้ สามารถช่วยชีวิตทารกแรกเกิดคนหนึ่งได้ทันท่วงที ซึ่งคลิปดังกล่าวนี้ ได้มีผู้เข้าชมแล้วเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรนั้น เปิดคลิปนาทีชีวิต “ทารกแรกเกิด”ที่คุณหมอสามารถยื้อไว้ได้
ในคลิปจะสังเกตได้ว่า ทารกแรกเกิดรายนี้ ได้รับการช่วยเหลือจากเหล่าทีมแพทย์ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ตัดสายสะดือ
คุณหมอพยายามช่วยทุกวิถีทางที่จะรั้งชีวิตของทารกแรกเกิดรายนี้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการผายปอด ซึ่งจากคลิปจะเห็นได้ถึงความพยายามและความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือไว้ให้ได้ เรียกได้ว่า เป็นนาทีชีวิตของความเป็นและความตายจริง ๆ และถ้าหากไม่ได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที ก็ไม่กล้าแม้แต่จะคิดว่าเหตุการณ์หลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร ว่าแล้วก็ไปชมคลิปดังกล่าวพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดอันตราย เสี่ยงทั้งแม่และลูก
ตั้งครรภ์เกินกำหนดคืออะไร
รองศาสตราจารย์ พญ.ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์ กล่าวถึง ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดไว้ว่า ตามปกติแล้วอายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดและทารกมีความสมบูรณ์เต็มที่ คือ อายุครรภ์ช่วงระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ และอีกไม่เกิน 6 วัน เมื่อคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาปกติ สำหรับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วัน ถือว่าเป็น “การตั้งครรภ์เกินกำหนด (Post term pregnancy)” ซึ่งถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงแบ่งออกเป็น
เสี่ยงต่อแม่
1. เสี่ยงที่จะผ่าคลอดเพราะทารกในครรภ์มีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น หัวโตขึ้นทำให้คลอดยาก ทำให้คุณแม่ต้องเสี่ยงผ่าตัดคลอด ต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยในการคลอด หรือต้องใช้คีมช่วยในการคลอด
2. ทารกตัวใหญ่ขึ้นส่งผลให้ช่องคลอดฉีกขาดในขณะคลอด
3. มีโอกาสที่จะตกเลือดหลังคลอดมากกว่าครรภ์ปกติ เนื่องจากมดลูกหดตัวไม่ดีเกิดจากมีบาดแผลบริเวณช่องคลอด
เสี่ยงต่อทารกในครรภ์
1. ทารกเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในครรภ์ ยิ่งถ้าหากเกินกำหนดมากขึ้นเท่าใด โอกาสจะเสียชีวิตของทารกจะมีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
2. ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการสำลักน้ำคร่ำและอาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหลังคลอดได้สูง
3. ทารกเสี่ยงต่อการบาดเจ็บขณะคลอด เช่น บาดเจ็บที่เส้นประสาทแขนเนื่องจากทารกตัวใหญ่ทำให้ไหล่ติดมดลูกขณะที่คลอด
4. รกเสื่อม เพราะอายุครรภ์เกินกำหนด ส่งผลให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนเรื้อรัง(Chronic hypoxia) ทำให้ทารกเจริญเติบโตไม่เต็มที่ น้ำคร่ำจะน้อยลง เมื่อมดลูกยิ่งหดตัว รกจะยิ่งขาดออกซิเจนเพิ่มขึ้น ทำให้ทารกอยู่ในภาวะเครียด (Fetal distress) หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้
สาเหตุของครรภ์เกินกำหนด
ทางการแพทย์ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนว่าครรภ์เกินกำหนดคลอดเกิดจากสาเหตุใด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบว่า ทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ต่อมใต้สมองผิดปกติ, ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การที่แม่ท้องจำวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้หรือจำวันผิด ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป
แม่ท้องทุกคนควรเตรียมพร้อมในการฝากครรภ์ที่สำคัญ คือ ควรจำวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายให้ได้ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะคุณหมอจะได้คำนวณวันที่ครบกำหนดคลอดได้ไม่คลาดเคลื่อนมากนัก แต่ถ้าจำไม่ได้จริง ๆ คุณหมอจะแนะนำให้เองค่ะ ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจให้ดีที่สุด เพื่อลูกน้อยคลอดออกมาจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง
สาเหตุการตั้งครรภ์เกินกำหนด
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการตั้งครรภ์เกินกำหนดที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบในทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ ต่อมใต้สมองผิดปกติ ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดรวมถึงปากมดลูกไม่พร้อมที่จะนำไปสู่กระบวนการคลอด โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์เกินกำหนด ได้แก่
- คุณแม่จำประวัติประจำเดือนได้ไม่แม่นยำ จึงทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด
- คุณแม่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน หรือคนในครอบครัวของฝ่ายหญิงเคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนด
- คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก (Nulliparity) ซึ่งจะพบได้มากกว่าครรภ์หลัง
- คุณแม่ที่ดัชนีมวลกาย (BMI) ก่อนการตั้งครรภ์ ≥ 25
- ทารกในครรภ์มีความพิการ มีภาวะที่ไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ทารกที่มีภาวะต่อมหมวกไตฝ่อ ทารกที่ไม่มีต่อมใต้สมอง
- การขาดฮอร์โมน Placental sulfates deficiency
- การตั้งครรภ์ในช่องท้อง
- ปัจจัยจากทางพันธุกรรม
- ไม่ทราบสาเหตุ
แพทย์สามารถวินิจฉัยการตั้งครรภ์เกินกำหนดได้โดยดูจากประวัติประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ประกอบกับข้อมูลอย่างอื่น เช่น ความสม่ำเสมอของประจำเดือน ประวัติการคุมกำเนิด การตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์ที่ให้ผลบวกในช่วงแรกที่เริ่มขาดประจำเดือน ประวัติการฝากครรภ์ในระยะแรก การตรวจภายในเพื่อประเมินขนาดของมดลูกในไตรมาสแรก การตรวจอัลตราซาวนด์ ประวัติทารกดิ้นครั้งแรก เพื่อให้ทราบถึงอายุครรภ์ที่แน่นอน ในกรณีที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แพทย์มักจะทำการตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก เพราะการตรวจในระยะที่อายุครรภ์ยังน้อย ๆ จะบอกอายุครรภ์ได้แม่นยำมากกว่าการตรวจตอนที่อายุครรภ์มากแล้ว เมื่อแพทย์กำหนดวันคลอดแล้วจากการตรวจอัลตราซาวนด์ก็จะไม่มีการเปลี่ยนวันกำหนดคลอดตามขนาดของทารกอีก แต่ถ้าตรวจพบว่าทารกตัวเล็กก็ต้องหาสาเหตุกันต่อไปว่าเกิดจากอะไร หรือเกิดจากการนับอายุครรภ์ผิดหรือไม่
theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
https://www.facebook.com/socialtrendonline/videos/1207916982617541/
ที่มา: Social Trends PH
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
4 อาการบาดเจ็บของทารกแรกเกิดจากการคลอด
มหัศจรรย์การกอด ช่วยชีวิตทารกคลอดก่อนกำหนด
“ใหม่ สุคนธวา” อินจัด คลิป ศรรามเลี้ยงลูกสาว เห็นแล้วคิดถึงพ่อ