เทคนิคการเดาข้อสอบ เดาข้อสอบอย่างไร ให้ถูกต้อง และได้คะแนน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เทคนิคการเดาข้อสอบ หลายคนอาจคิดว่าการเดา มีเทคนิคด้วยเหรอ เพระาเมื่อเข้าสู่ช่วงสอบ หลายคนต่างตั้งใจอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม กับการสอบที่กำลังจะมาถึงหรือ อ่านหนังสือไปแล้ว แต่ข้อสอบที่เจอ ไม่ได้ออกตามที่เราอ่านไปหรือในบางคน อาจติดธุระประปรัง ทำให้ไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวอย่างจริง ๆ จัง เราจึงต้องใช้ เทคนิคการเดาข้อสอบ

 

ดังนั้น วันนี้เราจะมาเอาใจคนที่เตรียมตัวมาน้อยกัน ว่าหากเมื่อเจอข้อสอบที่ไปต่อไม่เป็น จะทำอย่างไรดี การกามั่วก็ มีโอกาศแค่ 25% ที่จะได้คะแนนน วันนี้ เรามีวิธี เพิ่มเปอร์เซนในการที่จะได้คะแนนนั้นมาครอบครองในข้อที่เราไม่ทราบ มาแนะนำกัน  

แต่ไม่ว่าจะยังไงเราสนันสนุนให้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสอบ จะดีที่สุดนะ

1

9 เทคนิคทางลัด ในการเดาข้อสอบให้ถูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. เลือกทำข้อที่มั่นใจก่อน ข้อไหนไม่มั่นใจ ให้ข้าม

เปิดข้อสอบปุ๊บ ใจหล่นไปอยู่ตาตุ่มปั๊บ อาการตกใจข้อสอบแบบนี้เห็นได้บ่อย ๆ ให้ตั้งสติ อ่านข้อสอบคร่าว ๆ หนึ่งรอบ ถ้ายังไม่เข้าใจคำถามให้อ่านอย่างละเอียดและตั้งใจอีกครั้ง

 

แต่หากอ่านไปสองรอบน้องยังไม่เข้าใจ ยัง งง ๆ และไม่มีข้อมูลหรือคำตอบโผล่มาในหัวซักนิด ก็ให้ข้ามไปทำข้ออื่นทันที อย่ามัวเสียเวลา เพราะไม่มีข้อสอบไหนยากไปทุกข้อ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ใช้การประมาณคำตอบ

การประมาณคำตอบเป็นเทคนิคที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ที่จะช่วยให้ สามารถตัดช้อยส์ในข้อสอบได้หลายข้อเลยทีเดียว เช่น โจทย์บอกว่า ผู้ชาย 3 คนสร้างบ้าน 3 หลังเสร็จในระยะเวลา 5 วัน ถามว่าผู้ชาย 2 คนสร้างบ้าน 4 หลังเสร็จในระยะเวลากี่วัน

 

ในข้อนี้น้อง ๆ สามารถประมาณได้เลยว่า คำตอบต้องไม่น้อยกว่า 5 วันแน่ ๆ เพราะ คนก็น้อยลง จำนวนบ้านที่ต้องสร้างก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่จะใช้เวลาลดลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ตัวเลือกที่ขัดแย้งกันเอง มักมีตัวเลือกส์นึงที่ถูก

เมื่อเจอโจทย์ที่ให้ตัวเลือก หรือคำตอบที่ขัดแย้งกันเอง โดยทั่วไป มักจะมีข้อใดข้อนึงถูก เช่น น้องมั่นใจว่าคำตอบในโจทย์ข้อหนึ่งเป็นจำนวนเต็มแน่ๆ แล้วมีช้อยส์ 1) x เป็นจำนวนเต็มคู่ 2) x เป็นจำนวนเต็มคี่ คำตอบที่ถูกต้องมักจะเป็นช้อยส์ใดช้อยส์หนึ่งในสองช้อยส์นี้อย่างแน่นอน

2

4. ตัวเลือกที่ความหมายเหมือนกัน ถึงแม้จะเขียนต่างกัน จะไม่มีข้อใดถูก

ในการทำข้อสอบ ในบางครั้ง ตัวเลือกที่โจทย์ให้มา อาจมีความหมายเหมือนกันได้ ซึ่งหมายความว่า ตัวเลือกทั้งสองข้อนั้น เป็นตัวเลือกหลอกนั่นเอง เช่น 1) ช่วยให้ผ้าแห้งเร็ว 2) ช่วยลดระยะเวลาในการทำให้ผ้าแห้ง

 

ทั้งสองอันนี้มีความหมายเหมือนกัน ดังนั้นจึงสามารถตัดสองข้อนี้ออกได้ทั้งคู่เลย (ตัวเลือกนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ในโจทย์จริงตัวเลือกจะมีความยากกว่านี้)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. เลือกตัวเลือกที่ตอบมาน้อยที่สุด

ในการทำข้อสอบนั้น น้องๆ อาจข้ามข้อที่ยังไม่มั่นใจในคำตอบ หรือยังหาคำตอบไม่ได้ไปก่อน หลังจากนั้นให้กลับมาทำในข้อสอบที่ข้ามไป ถ้าหากทำไม่ได้แนะนำให้เลือกเดาคำตอบที่ตอบไปน้อยที่สุด เช่น

 

ข้อสอบมี 100 ข้อ โดยส่วนใหญ่ผู้ออกข้อสอบมักจะพยายามเฉลี่ยคำตอบให้ตอบ ก ข ค ง พอ ๆ กัน ดังนั้นคำตอบไหนที่ยังตอบไม่ถึง 25 ข้อ ก็ควรจะเดาคำตอบนั้น อย่างน้อยๆ ก็อาจดีกว่าการสุ่มเลยที่มีโอกาสถูกเพียงแค่ 25%

 

6. ใช้ข้อสอบข้ออื่นให้เป็นประโยชน์

ในการทำข้อสอบโดยเฉพาะข้อสอบยาก โจทย์อาจมีบทความสั้น ๆ มาเป็นข้อมูลให้ก่อนถามคำถามเกี่ยวกับบทความนั้นๆ ในบางครั้งบทความเหล่านี้นอกจากจะเป็นคำถามสำหรับเราแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่ให้ความรู้สำหรับเราด้วยซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดช้อยส์ในข้อสอบข้ออื่นก็เป็นได้

 

7.  ทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ

เข้าใจเลยว่าตอนทำข้อสอบแล้วคิดคำตอบไม่ออกเป็นช่วงเวลาที่อึดอัดและกดดันจริง ๆ จะหันไปถามเพื่อนข้าง ๆ ก็ไม่ได้ (ไม่ดีด้วย) เวลาก็เหลือน้อยเต็มที เอาเป็นว่าถ้าหาคำตอบไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยที่สุดในเวลาที่เหลือก็พยายาม ทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ อย่าทิ้งกระดาษคำตอบให้ว่าง 

พยายามอ่านผ่าน ๆ และใช้สันชาตญาณเลือกเดาคำตอบที่ผุดขึ้นมาตั้งแต่อ่านครั้งแรก เพราะถ้าเราข้าม และปล่อยข้อนั้นว่างไม่ทำในข้อนั้น คะแนนก็จะเป็นศูนย์ในทันที แต่หากเดา โอกาสที่จะถูกก็ยังมีอยู่บ้าง

3

8. เดาใจคนออกข้อสอบ

ข้อสอบบางข้ออาจจะออกไม่ดีทำให้มีตัวเลือกที่กำกวม และอาจเป็นคำตอบได้หลายข้อ ถ้าหากน้องๆ ตกอยู่ในสถานการณ์นั้น แนะนำให้เดาใจคนออกข้อสอบโดยการคิดว่า 

 

ถ้าข้อสอบต้องการให้ตอบคำตอบนี้ คำถามควรจะถามว่าอะไร แล้วคำตอบไหนที่คำถามที่คนออกควรจะถามตรงกับคำถามในโจทย์ ข้อนั้นแหละคือคำตอบ

 

9. ดิ่งอย่างมีศิลปะ

ทางลัดท้ายสุด ในช่วงก่อนหมดเวลาในการสอบ หากทำข้อสอบข้อที่เหลือไม่ได้จริง ๆ ก็ให้ใช้เทคนิคทิ้งดิ่งกันไปเลย โดยให้ทิ้งดิ่งข้อที่มีคำตอบน้อยที่สุด เป็นการเฉลี่ยคำตอบให้เท่ากันทุกข้อ แล้วอย่างนี้จะเพิ่มคะแนนได้จริงเหรอ อาจารย์คงไม่ได้เฉลี่ยคำตอบให้เท่ากันหรอกมั้ง?

 

นั่นก็อาจจะเป็นไปได้ ต้องย้อนกลับไปดูว่าน้องๆ ได้ทำข้อที่มั่นใจไปเกือบหมดแล้ว แต่คำตอบในบางข้อที่ถูกฝนหรือกามีน้อยซะเหลือเกิน เป็นไปได้ที่คำตอบจะอยู่ในข้อเหล่านั้น โอกาสที่จะได้คะแนนก็มีความเป็นไปได้มากขึ้น

 

ที่มา : www.tcasportfolio.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

แบบฝึกหัดติวสอบเข้า ป.1 / วิชา ภาษาอังกฤษ

แชร์ประสบการณ์ ติวลูกเข้าสาธิตเอง จากแม่ฝน โรงเรียนสาธิตเกษตร (School Hit)

อ่านหนังสือสอบ อย่างไร ไม่ให้หมดไฟ ขยันและรู้สึกอยากอ่านอยู่เสมอ

บทความโดย

@GIM