โค้งสุดท้ายก่อนลูกเกิด เรื่องที่แม่ควรเตรียมตัวก่อนคลอด 1 เดือน

แน่นอนว่าใกล้คลอดนอกจากจะทำให้ว่าที่พ่อแม่ป้ายแดงตื่นเต้นจนแทบจะทำอะไรไม่ถูกแล้ว ยังมีสิ่งที่จะต้องเตรียมตัวทำอะไรก่อนลูกจะคลอดด้วย และการจดรายการจำเป็นในสิ่งที่จะต้องใช้ในช่วงที่กำลังตั้งท้องนั้น ควรทำเป็นอย่างมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงใกล้คลอดนั้นคุณแม่จะเริ่มรู้สึกตัวเองว่ายุ่ง ๆ มาก จนทำอะไรแทบไม่ถูก เพื่อที่คุณแม่จะไม่ต้องลุกลี้ลุกลนไปมากกว่านี้ นี่คือ 15 สิ่งที่ควร เตรียมตัวก่อนคลอด 1 เดือน เพื่อช่วยให้ทุกสิ่งอย่างของคุณแม่ง่ายขึ้น

เรื่องที่แม่ควรเตรียมตัวก่อนคลอด 1 เดือน

 

1. เตรียมผ้ายางปูกันน้ำเดินบนที่นอนในช่วงใกล้คลอด

ผ้ายางปูกันน้ำอาจจะให้เบบี๋ใช้ในภายหลังก็ได้ แต่ตอนนี้คุณควรเตรียมสิ่งนี้ไว้เพื่อรองรับช่วงเวลาน้ำเดินขณะใกล้คลอด ถ้าคุณไม่อยากทำให้ที่นอนเลอะเทอะ หากจู่ ๆ น้ำเดินกลางดึก แทนที่คุณจะต้องหลับ ๆ ตื่น ๆ ด้วยความกังวลว่าน้ำคร่ำจะแตกเมื่อไหร่ในช่วงใกล้กำหนดคลอด

2. จัดเตรียมกระเป๋าไว้ให้พร้อม

เพราะถึงแม้คุณหมอจะคาดคะเนกำหนดวันคลอดไว้แล้ว แต่ก็ไม่แน่ว่าเจ้าตัวน้อยของคุณอยากจะรีบคลอดออกมาก่อนวันซักเล็กน้อย ดังนั้นเป็นเรื่องที่ดีที่คุณแม่ควรจะจัดเตรียมกระเป๋าไว้สำหรับตัวเองและลูกน้อยไว้ให้พร้อม

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคลอดในกระเป๋าคุณแม่ ควรมีอะไรบ้าง

  • เอกสารส่วนตัว เช่น บัตรประชาชน ใบนัดแพทย์ สมุดฝากครรภ์ เอกสารประกันสุขภาพ เป็นต้น เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคลอดที่ห้ามลืมเด็ดขาด เพราะจำเป็นต้องใช้ในวันเตรียมตัวคลอดที่โรงพยาบาล
  • ของใช้ส่วนตัวในห้องน้ำ สบู่แชมพู ผ้าเช็ดตัวแปรงสีฟัน ยาสีฟัน เครื่องสำอางและแปรงหวีผม
  • เสื้อคลุมอาบน้ำ ใช้สวมหลังอาบน้ำหรือในเวลาที่คุณอยากออกไปเดินนอกห้องพักในโรงพยาบาล
  • กางเกงใน เสื้อชั้นในสำหรับให้นมลูก และแผ่นซับน้ำนม เป็นของเตรียมคลอดสำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่
  • ผ้าอนามัยชนิดหนา เพื่อใช้ซึมซับน้ำคาวปลาหลังคลอด ซึ่งเป็นของเตรียมคลอดที่ทางโรงพยาบาลมักจัดเตรียมไว้ให้เช่นกัน แต่ก็ควรเตรียมยี่ห้อที่ใช้เป็นประจำติดไปด้วยเพื่อไว้ใช้สำรอง
  • ชุดนอน หากคุณไม่อยากสวมชุดคนไข้ของทางโรงพยาบาล
  • รองเท้าแตะ สำหรับใส่เดินในห้องพักฟื้น พร้อมถุงเท้าอุ่นๆ
  • โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ หนังสืออ่านเล่น กล้องถ่ายรูป เป็นของเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่เพื่อใช้ผ่อนคลายขณะพักอยู่ที่โรงพยาบาล
  • ชุดสวมกลับบ้านสำหรับคุณแม่

3. ค่อย ๆ ทำความสะอาดบ้านเตรียมต้อนรับสมาชิกใหม่

ในช่วงหลายเดือนก่อนถึงกำหนดคลอด พวกคุณควรค่อย ๆ เตรียมจัดหามุมนอนของลูกน้อยกับแม่หลังคลอดเอาไว้ให้เรียบร้อย ดูแลเรื่องความสะอาด และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สบาย.   ที่สำคัญจะต้องมีความปลอดภัยด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรจัดวางเตียงนอนให้ห่างจากหน้าต่างและพ้นจากสิ่งขวางทาง เตียงของลูกจะต้องมีความหนาแน่นและแข็งแรง สิ่งของเครื่องเรือนที่มีอยู่แล้วควรจัดตกแต่งให้เหมาะสมและคอยดูแลให้สะอาดสะอ้านอยู่เสมอ ควรมีเก้าอี้ที่ลุกนั่งได้สะดวกสำหรับคุณแม่ให้นมลูกในตอนกลางคืน ไม่ควรวางสิ่งใดให้เกะกะระหว่างเก้าอี้ของคุณแม่ เตียงนอนของลูก และที่เปลี่ยนผ้าอ้อม ควรมีชั้นวางของให้คุณแม่หยิบของใช้ได้อย่างสะดวก ด้านหนึ่งของตู้วางของให้กันส่วนหนึ่งไว้เป็นพื้นที่ว่าง และมีขอบสูงระดับเอว เวลาใช้งานจะได้ไม่ปวดหลัง ควรวางเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ใกล้ที่เสียบปลั๊ก สายไฟจะได้ไม่เกะกะทางเดิน และเต้าเสียบควรมีฝาครอบปิดเมื่อไม่ได้ใช้งาน ควรเก็บครีมทาผิวและแป้งเด็กไว้ใกล้ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมและไกลจากมือลูก ที่นอนของลูกไม่ควรนุ่มจนเกินไป ควรมีฟองน้ำหนา ๆ กันเหลี่ยมมุมตู้ไว้ทุกจุด หน้าต่างที่เปิดออกต้องมีล็อกกั้นไว้

4. เตรียมซักเสื้อลูกอ่อนไว้ก่อน

การซักเสื้อผ้า พับ และจัดเก็บเสื้อผ้าตัวเล็ก ๆ ของลูกน้อย ใครจะว่าเห่อก็ไม่เป็นไร มันเป็นสิ่งที่ทำให้แม่มีความสุขกับการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ ก่อนที่เจ้าตัวน้อยจะเกิดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่หากว่าคุณกังวลว่าเจ้าตัวน้อยที่กำลังจะออกมาดูโลกนั้นเป็นเด็กผิวแพ้ง่ายขึ้นมา หรือถ้าเสื้อผ้านั้นเป็นเสื้อผ้ามือสองที่ได้รับการส่งต่อจากญาติพี่น้องมา

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคลอดในกระเป๋าสำหรับลูกแรกเกิด(สำหรับใช้ที่โรงพยาบาล) มีอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ผ้าห่อตัวลูก ไว้ใช้ห่อตัวให้ลูกอุ่นสบาย
  2. เสื้อผ้าเด็กทารก เช่น เสื้อ ชุดนอน ถุงมือ หมวกและถุงเท้า ของเตรียมคลอดที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย โดยคุณแม่ควรเตรียมไปให้พอกับจำนวนวันที่จะอยู่ที่โรงพยาบาล
  3. ผ้าอ้อมสำหรับทารกแรกเกิด กระดาษเปียกทำความสะอาดสำหรับเช็ดก้นให้ลูกน้อย
  4. แชมพูอาบน้ำ สระผม สำหรับทารก ผ้าเช็ดตัว สำหรับเช็ดตัวลูกหลังอาบน้ำ

5. ซื้อเสื้อชั้นในสำหรับให้นมลูก

มันจะสะดวกและรวดเร็วในการเปิดใช้เมื่อเวลาที่ลูกน้อยร้องหิวนม  โดยไม่จำเป็นต้องคอยถกขึ้นมาหมดเวลาที่คุณจะให้นมลูก หรือต้องพยายามใส่แผ่นซับน้ำนมไว้ในเสื้อชั้นในแบบทั่วไป คุณแม่สามารถใช้มันได้เลยหลังคลอด อย่าลืมที่จะนำใส่กระเป๋าติดตัวไปที่โรงพยาบาลด้วยล่ะ

6. เครื่องปั๊มนมแม่มีไว้ใช้ก็ดี

ถ้าคุณแม่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่กังวลว่าจะมีน้ำนมน้อย การมีเครื่องปั๊มนมแม่ไว้ใช้นั้นก็เป็นเรื่องดี เผื่อไว้ตอนที่แม่ไม่อาจให้นมได้ หรือตอนที่ลูกน้อยนั้นนอนหลับยาวตลอดทั้งคืน แต่คุณแม่ต้องตื่นมาเพราะเกิดอาการปวดคัดหน้าอกทั้งสองข้างจนนอนไม่ได้ การปั๊มนมเพื่อนำมาเป็นสต็อคนมนั้นจะช่วยแม่ได้ดีมาก เครื่องปั้มนมขนาดพกพาและถุงเก็บน้ำนมแม่ขนาดเล็ก(4 ออนซ์) แม้ว่าหลังคลอดคุณแม่จะยังไม่ได้กลับบ้านทันที แต่คุณแม่สามารถเริ่มสะสมสต้อกนมแม่ให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่อยู่โรงพยาบาลนะคะ โดยสามารถปั้มนมหลังจากให้ลูกน้อยดูดจากเต้าแล้วฝากพยาบาลแช่แข็งทันที หรือคุณแม่สามารถแช่เย็นช่องธรรมดาและสะสมรวมกันได้หลายรอบจนครบจำนวนออนซ์ที่ต้องการภายใน 24 ชม.แล้วจึงแช่แข็งก็ได้ค่ะ หรือในบางรายที่ลูกน้อยจำเป็นที่จะต้องอยู่ในความดูแลของพยาบาลอย่างใกล้ชิด ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกจากเต้าได้ แต่คุณแม่สามารถปั้มนมและใส่ถุงเก็บน้ำนม เขียนวันที่ เวลา ชื่อลูกให้ชัดเจน ส่งผ่านพยาบาลไปยังห้องเนอสเซอรี่ให้ลูกกินได้ตลอดเวลานะคะ เพราะน้ำนมช่วงแรกจะข้นเหลืองเป็นวัคซีนป้องกันโรคภัยให้ลูกชั้นดีเชียว

7. ทำอาหารแช่แข็งเก็บไว้ทาน

เมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด การเตรียมทำอาหารแช่แข็งนี้จะช่วยได้มากหลังจากที่คุณแม่กลับมาอยู่บ้านในช่วงแรก ๆ และต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพัง มักทำให้คุณแม่ไม่มีเวลาในการออกไปไหน ดังนั้น การเตรียมอาหารแช่เข็งไว้ที่บ้านเป็นอีกหนึ่งความพร้อมที่คุณแม่ควรเตรียมไว้ แต่หลังจากนั้นเมื่อทุกอย่างเข้าที่แล้ว อาหารร้อน ๆ จะเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับคุณแม่หลังคลอดนะคะ

8. เข้าคอร์สอบรมก่อนคลอดที่โรงพยาบาล

โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีคอร์สอบรมฟรีเกี่ยวกับแม่ตั้งครรภ์เพื่อที่จะได้รู้จักลูกน้อยดีขึ้นก่อนที่จะคลอดออกมา คุณแม่ควรจะได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับลูกน้อยอย่างเรื่องวิธีการอาบน้ำเด็ก การดูแลหลังการขลิบ เคล็ดลับการให้นมแม่ การห่อตัวเด็ก และการเปลี่ยนผ้าอ้อม จากคอร์สเหล่านี้ซัก 1-2 ครั้ง เพราะมันเป็นประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว แถมยังสามารถถามสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมได้จากคุณหมอหรือพยาบาลอีกด้วย

9. หาซื้อเสื้อผ้าแบบที่ใส่ได้ทั้งตอนท้องและหลังคลอด

ไม่ว่าคุณแม่อยากจะกลับมาผอมเพรียวอีกครั้งมากแค่ไหนหลังจากคลอดลูกแต่มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้ในทันทีหรอก แต่เมื่อคลอดลูกแล้วและไม่อยากใส่เสื้อผ้าแบบคนท้อง ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียดาย คุณแม่ควรจะมองหาชุดแบบที่สามารถใส่ได้ทั้งตอนท้องและหลังคลอด การได้ใส่ชุดสวย ๆ ใส่แล้วให้ดูดีทั้งระหว่างท้องและหลังคลอดนั้น มันจะช่วยเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของคุณแม่ได้อย่างมากเชียวล่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10. จดบันทึกลูกน้อย

คุณจะไม่เสียดายเลยว่า การที่คุณเสียเวลานิดหน่อยในการจดบันทึกเรื่องราวเจ้าตัวน้อยไม่ว่าจะเป็นวันที่เริ่มรู้ว่าตั้งครรภ์ ไปจนถึงวันที่ไปทำอัลตร้าซาวด์ และเรื่องอื่น ๆ นอกจากนี้ ทั้งภาพตอนท้อง จนไปถึงวันที่ลูกเกิด รวบรวมเรื่องน่ารักเหล่านี้จดไว้ในสมุดบันทึก แล้วยื่นมันให้ลูกดูหลังจากที่ลูกโตพอที่จะรู้เรื่องแล้ว

11. เตรียมชาร์ตแบตมือถือ/ กล้องให้พร้อม

ทุกคนนั้นมีสมาร์ทโฟนที่พร้อมจะยกมือถ่ายรูปจากกล้องมือถือได้ง่าย ๆ แต่มันก็เป็นเรื่องที่ดีที่จะมีกล้องสำรองไว้เพื่อในกรณีฉุกเฉิน แถมคุณพ่อยังสามารถถ่ายภาพของเจ้าตัวน้อยของคุณได้เป็นร้อยรูปโดยไม่กลัวเมมโมรี่เต็ม

12. ซ้อมการเดินทางไปโรงพยาบาล

การซ้อมนั้นไม่ใช่แค่ดูว่าใช้เวลาเท่าไหร่ในการเดินทาง แต่ควรจะรู้ว่าต้องจอดรถที่ไหนและต้องไปตรงไหนเมื่อไปถึง ไปชั้นไหน และในทุก ๆ เรื่อง เพราะเมื่อคุณแม่กำลังจะคลอดนั้น คงไม่มีเวลาจะนึกถึงอะไรอีกแล้ว นอกจากความตื่นเต้นและคิดถึงว่าอีกนานเท่าไหร่ที่ลูกน้อยจะคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

13. จัดทำแผนการคลอด

ระยะใกล้คลอดนี้คุณแม่จะมีความกังวลใจมาก นอนไม่หลับ กังวลเรื่องการคลอดบุตร ซึ่งก็ควรจะทำใจให้ร่าเริงแจ่มใส ไม่ซึมเศร้า เพราะส่วนใหญ่แล้วการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรจะเป็นไปตามขบวนการตามธรรมชาติ การคลอดส่วนใหญ่จะเป็นไปโดยปกติ คุณแม่ที่ฝากครรภ์อย่างดี กินยา และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ มีการเตรียมพร้อมอย่างดี ส่วนใหญ่แล้วจะผ่านการคลอดได้อย่างเป็นปกติดี ดังนั้นมันเป็นการดีที่คุณแม่ผู้ไม่เคยมีประสบการณ์คลอดลูกมาก่อนจะได้รู้ว่า คุณต้องการคลอดแบบไหน อะไรที่คุณแม่ต้องการทำระหว่างการคลอด ใครที่อยากให้ไปอยู่ในห้องคลอดกับคุณด้วย และถ้าต้องการโอกาสที่จะให้นมลูกทันทีหลังจากที่เจ้าตัวน้อยคลอดออกมา เพียงแค่คุณยื่นโน๊ตนี้ให้กับนางพยาบาล จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจมากขึ้นเกี่ยวกับการคลอดครั้งนี้

14. จัดเตรียมถุงเก็บน้ำนมแม่

แน่นอนว่าหากคุณแม่เตรียมเครื่องปั๊มนมแม่ไว้แล้ว การมีถุงบรรจุน้ำนมแม่นั้นก็จำเป็นอย่างยิ่ง ทารกที่คลอดออกมาอาจไม่สามารถเริ่มดูดนมได้ในทันที ทั้งคุณแม่และทารกจึงต้องเรียนรู้วิธีการดูดนมและให้นมระยะหนึ่ง ซึ่งการศึกษาวิธีให้นมลูกอย่างถูกต้องในเบื้องต้นอาจช่วยให้คุณแม่มือใหม่รับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการให้นมหลังคลอดได้

15. ทำให้ “พ่อ” รู้สึกว่าเป็นคนพิเศษ

นาทีใกล้คลอดนี้คุณพ่อคือบุคคลและส่วนสำคัญที่สุดในชีวิตคุณแม่ อย่าลืมที่จะทำให้คุณพ่อได้รู้ว่าคุณซาบซึ่งแค่ไหนที่คุณพ่อคอยช่วยเหลือต่าง ๆ ตั้งแต่ตอนท้องจนกระทั่งหลังคลอด การแบ่งหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพราะทารกมักจะตื่นบ่อยทุก 2-3 ชั่วโมง ขับถ่ายบ่อย ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ กล่อมนอน ต้องอดหลับอดนอนคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวัน ต้องวางแผนรับมือกันให้ดีนะคะ อาจมองหาคนใกล้ชิด หรือพี่เลี้ยงสักคน อาจช่วยให้การต้อนรับสมาชิกเป็นเรื่องง่ายขึ้น นอกเหนือจากการเตรียมสิ่งของแล้ว ร่างกายและจิตใจของคุณพ่อคุณแม่ก็สำคัญมาก เมื่อใกล้วันคลอดคุณแม่อาจรู้สึกกังวลใจสำหรับเรื่องต่าง ๆ แนะนำให้คุณแม่ลองออกกำลังกายเบา ๆ ฝึกสมาธิ มองโลกในแง่ดี พักผ่อนให้เพียงพอ หรืออาจฟังเพลงและคุยกับลูกในท้องเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เตรียมตัวให้พร้อมรับบทบาทของพ่อแม่มือใหม่ดูแลลูกตัวน้อยที่เข้ามาเติมเต็มชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นช่วงเวลาใกล้คลอดนี้คุณพ่อคือบุคคลและส่วนสำคัญที่สุดในชีวิตคุณแม่ อย่าลืมที่จะทำให้คุณพ่อได้รู้ว่าคุณซาบซึ่งแค่ไหนที่คุณพ่อคอยช่วยเหลือต่าง ๆ ตั้งแต่ตอนท้องจนกระทั่งหลังคลอด

 

สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อนคลอด 1 เดือน

แน่นอนว่า ทั้ง 15 เรื่องนี้ในบางอย่างคุณแม่อาจจะได้ทำหรือไม่ได้ มันไม่ได้เป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงใด ๆ แต่ถ้าคุณมีสิ่งใดเพิ่มเติมก็ควรที่จะจดมันเอาไว้ ช่วยกันแชร์เรื่องนี้ให้กับแม่ ๆ ที่ใกล้คลอดท่านอื่น ๆ ไว้เตรียมตัวกันนะคะ


ที่มา :lifewithmylittles bangkokhospital paolohospital

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เตรียมตัวก่อนคลอด อะไรบ้างที่แม่ท้องควรเขียนวางแผนก่อนลูกเกิด

เช็กด่วน! 9 สัญญาณอาการก่อนคลอด ก่อนรู้สึกเจ็บท้องจริง

 

บทความโดย

Tulya