คุณแม่คงสงสัย เด็กวัย 1 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ลูกน้อยจะสื่อสารด้วยวิธีไหนบ้าง มาดูกันค่ะว่า เด็กวัย 1 เดือน จะมีการพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
น้ำหนักและส่วนสูงของ เด็กวัย 1 เดือน
น้ำหนักของทารกชาย : 1 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 3.5 – 5 กิโลกรัม และมีพัฒนาการส่วนสูงประมาณ 50 – 57 เซนติเมตร
น้ำหนักของทารกหญิง : 1 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 3- 4.5 กิโลกรัม และมีพัฒนาการส่วนสูงประมาณ 49 – 57 เซนติเมตร
พัฒนาการด้านการมองเห็น
เด็กทารก 1 เดือนจะมองเห็นได้ชัด เมื่อเข้าใกล้ประมาณ 8 – 10 นิ้ว สามารถมองตามใบหน้าของคุณพ่อและคุณแม่ หรือชำเลืองมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ไปมา จากบนลงล่าง สามารถมองวัตถุถึงกึ่งกลางลำตัว
วิธีกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น
- คุณพ่อและคุณแม่ช่วยจัดสภาพแวดล้อมรอบ ๆ
- แขวนโมบายไว้หน้าเปลนอนลูก
- เคลื่อนไหวของเล่นที่มีสีสัน เพื่อให้ลูกสนใจ
- เว้นระยะห่าง 1 ไม้บรรทัด เคลื่อนของเล่นจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง และสังเกตการมองตาม
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คุณแม่ต้องอ่าน! พัฒนาการทางสังคม ของลูกน้อยวัย 1-36 เดือน
พัฒนาการด้านร่างกาย
เด็กทารก 1 เดือน จะสามารถเคลื่อนไหวมือ แขน และขา ทั้ง 2 ข้างได้ แต่ไม่สามารถพยุงศีรษะให้ตั้งตรงเองได้ สามารถดูดปากมีเสียงดังได้
วิธีกระตุ้นพัฒนาการด้านร่างกาย
- การโอบกอดสัมผัส
- อุ้มลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ทารกสัมผัสความอบอุ่น
- ยิ้มและพูดคุย กับทารก
- ร้องเพลงให้ลูกฟัง ระหว่างที่ให้นม
- ออกกำลังกายแขนขา ให้ลูกนอนหงาย จับขาขึ้น ลง งอ หรือ เหยียด
พัฒนาการด้านสติปัญญา
เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน สมองกับระบบประสาทกำลังเชื่อมต่อได้ดีเรื่อย ๆ และรู้จักวิธีกลับตัวในบางครั้ง อาจจะขยับร่างกาย ให้คุณแม่ได้อุ้มได้ง่ายขึ้น
วิธีกระตุ้นพัฒนาการด้านสติปัญญา
- กระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม
พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ
เด็กอาจจะทำสีหน้าไม่พอใจ เมื่อรู้สึกไม่สบายตัว หรือทำสีหน้าเมื่อรู้สึกเจ็บ ซึ่งถ้าได้มองสายตาคุณพ่อคุณแม่แล้ว อาจจะทำให้อารมณ์ดีขึ้น เพราะลูกเริ่มจำเสียงคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว พร้อมกับปรับท่าทางให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มได้
วิธีกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
- คุณพ่อคุณแม่ ควรเข้าหาลูกด้วยท่าทางที่อารมณ์ดี ลูกก็จะยิ้มแย้ม ไม่งอแง
- หากคุณพ่อคุณแม่เครียด ลูกจะรับรู้ได้โดยอัตโนมัติและจะงอแง ร้องไห้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่
พัฒนาการทางด้านภาษา
ทารกวัย 1 เดือน เมื่อได้ยินเสียงดัง เด็กจะสะดุ้ง ขยับตัวขยิบตา หรือร้องไห้ และจะร้องไห้เมื่อหิว เปียกแฉะ หรือไม่สบาย และทารกในวัยนี้ก็สามารถจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว
วิธีกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษา
- คุณพ่อคุณแม่ควร เรียกชื่อลูกบ่อย ๆ
- หมั่นยิ้ม พูดคุย กับลูก
ท่าทางของทารก 1 เดือน บ่งบอกอะไร
- ขยี้ตา ถูใบหน้า ถูใบหู
เป็นการบ่งบอกว่า ลูกกำลังง่วงนอน บางคนอาจจะร้องไห้ไปด้วย หรือร้องไห้และดึงผมของตัวเองไปด้วย เพราะลูกกำลังหงุดหงิดเหนื่อยล้า
- แอ่นตัว
ลูกรู้สึกไม่สบายตัว เกิดความผิดปกติบางอย่าง อยากให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มขึ้นมา
- สบตา
ลูกกำลังจะจดจำใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่อยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจจะมองลูกอยู่ใกล้ ๆ และพูดอย่างอ่อนโยน
- กำหมัด
การที่กำหมัดอาจจะ หมายถึง เขากำลังพักผ่อน แต่หากลูกน้อย กำหมัดแน่น ๆ เกร็งร่างกาย แปลว่ามีความเครียดบางอย่าง
- เหยียดแขนขา
ถ้าทารกเหยียดแขน ขา แสดงว่าเขากำลังรู้สึก สบายใจ มีความสุข คุณพ่อคุณแม่ควรไปเล่นกับลูกเวลานี้ เพื่อเพิ่มความสุขให้แก่ลูก
เคล็ดลับเสริมพัฒนาลูกน้อย
- มองตาลูก สื่อสารกับลูกด้วยการมองตาบ่อย ๆ เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ แต่หากลูกน้อยเลิกสบตา หรือ หันไปมองทางอื่น อาจจะเป็นเพราะว่า ลูกน้อยอาจจะง่วงนอนแล้ว
- ยิ้มและหัวเราะเบา ๆ กับลูกบ่อย ๆ เมื่อลูกได้เห็นคุณพ่อ คุณแม่ยิ้ม ลูกน้อยจะรู้สึกดีได้ทันที และ ปลอดภัย และสร้างความสัมพันธ์กับลูกน้อยอีกด้วย
- ใช้เวลากับลูก การโอบกอด อุ้ม สัมผัส พูดคุย ร้องเพลง สื่อสารด้วยมือ นอกจากช่วยสร้างความสัมพันธ์แล้ว ยังช่วยพัฒนาการเด็กแรกเกิด ในด้านร่างกาย ภาษา และ การสื่อสาร
สิ่งที่ไม่ควรทำแก่ลูกน้อยในวัยนี้
- เสียงดังเพราะลูกจะตกใจ และร้องไห้ออกมา
- ไม่ควรอุ้มลูกกล่อมจนหลับ เพราะจะทำให้เด็กไม่สามารถฝึกตัวเองให้หลับเองได้
- ไม่ควรทะเลาะกันต่อหน้าลูกน้อย เพราะลูกจะหวาดกลัว
- ห้ามเขย่าตัวเด็ก เพราะจะทำให้เส้นเลือดบริเวณสมอง หรือ ดวงตาแตกได้
- ห้ามจับหัวแรง เพราะยังมีความบอบบางอยู่
- ห้ามลืมล้างมือ
- ไม่ตกแต่งเตียงนอนมากเกินไป
- ไม่นำหมอน ผ้าห่ม หมอนข้าง ไปวางบนเตียงลูกมากเกินไป เพราะจะทำให้หายใจไม่ออก
theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาวะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุล เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
อายุครรภ์ 1 เดือน มาเช็คลิสต์ข้อห้ามสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนกันดีกว่า
ทำไมเด็ก 1-2 เดือนแรกจึงไม่ควรดูดนมจากขวด?
ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!
ที่มา : momandbaby.net, trueplookpanya.com