เด็กรุ่นใหม่ “วิ่งช้า” กว่าเด็กรุ่นก่อน

ผลการศึกษาสมรรถภาพร่างกายล่าสุดชี้เด็กรุ่นใหม่ “วิ่งช้า” กว่าเด็กรุ่นก่อนหรือสรุปได้ว่าเด็กสมัยนี้ไม่แข็งแรงเท่าพ่อแม่สมัยที่ยังเป็นเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กรุ่นใหม่ “วิ่งช้า” กว่าเด็กรุ่นก่อน

ผู้เชี่ยวชาญซึ่งนำเสนอผลงานชิ้นนี้ในงานประชุมประจำปีของสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกันระบุว่าระดับ “ความฟิต” หรือสมรรถภาพร่างกายของเด็กอาจกำลังลดลง

นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาจากเด็กมากกว่า 25 ล้านคนใน 28 ประเทศในช่วงระยะเวลา 46 ปี และพบว่าเมื่อวัดจากระยะทาง 1 ไมล์ เด็กรุ่นใหม่วิ่งได้ช้ากว่าเด็กเมื่อ 30 ปีก่อนโดยเฉลี่ยประมาณ 90 วินาที

โรคอ้วน

ข้อมูลที่ได้จากทั้ง 28 ประเทศเผยให้เห็นว่าความอึดของเด็ก ซึ่งวัดตามระยะทางที่เด็กสามารถวิ่งได้ในระยะเวลาที่กำหนดกำลังลดลงอย่างต่อเนื่องราวร้อยละ 5 ในทุก ๆ 10 ปี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตัวเลขที่ลดลงนี้เห็นได้ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชายอายุตั้งแต่ 9 ถึง 17 ปี และยังมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสุขภาพหลักในหลายประเทศ

หัวหน้าทีมนักวิจัย ดร. แกรนท์ ทอมคินสัน แห่งมหาวิทยาลัยเซาธ์ออสเตรเลียกล่าวว่า “อันที่จริง ความอึดในการวิ่งที่ลดลงราวร้อยละ 30-60 นั้นมีสาเหตุมาจากมวลไขมันในร่างกายที่เพิ่มขึ้น”

ปัญหาโรคอ้วนมักพบในประเทศแถบตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ แต่ประเทศในเอเชียบางประเทศเช่น เกาหลีใต้ จีนแผ่นดินใหญ่ และฮ่องกงก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน

ดร. ทอมคินสันกล่าวว่าเด็ก ๆ ควรถูกกระตุ้นให้ออกกำลังมากขึ้น มิเช่นนั้นเราอาจจะต้องประสบกับวิกฤตด้านสาธารณสุขขั้นรุนแรง

หอบแฮ่ก ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ถ้าเด็กร่างกายไม่แข็งแรงก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้นเเมื่อพวกเขาโตขึ้น” ดร. ทอมคินสันกล่าว

การจะรักษาให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เด็ก ๆ ควรจะออกกำลังอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เช่น เดิน ปั่นจักรยาน หรือวิ่งเล่นโดยสามารถแยกทำเป็นช่วง ๆ ได้ไม่จำเป็นต้องทำต่อเนื่อง

ศาสตราจารย์ไมเคิล กวิตซ์ แห่งสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน กล่าวว่า “ประเภทของการออกกำลังก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การออกกำลังควรจะทำให้เด็ก ๆ “เหงื่อออก” “มีความต่อเนื่องและมีการเคลื่อนไหวเยอะ ๆ” เพื่อกระตุ้นให้หัวใจทำงาน

ลำพังแค่การไปยิมหรือเล่นกีฬาที่โรงเรียนอาจจะไม่เพียงพอนอกจากว่าเด็กจะเคลื่อนไหวตลอดเวลา

คริสโตเฟอร์ อัลเลน จากมูลนิธิโรคหัวใจแห่งอังกฤษ กล่าวว่า “เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าการที่เด็กไม่ค่อยได้ออกกำลังกายจะทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงต่าง ๆ มากขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น”

“การออกกำลังจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ และยิ่งเริ่มออกกำลังเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น การกระตุ้นให้เด็กออกกำลังจะช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ พ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนควรสนับสนุนให้เด็กมีเวลาออกกำลังอย่างน้อยวันละ 60 นาที”

คุยกับ “กุลชลา วรวิจิตรชัยกุล” นักแบดมินตันมือ 7 ของโลก

แนะนำสวนสาธารณะเที่ยวฟรีสำหรับครอบครัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team