วิจัยชี้! เด็กที่ชอบโกหก มักจะเป็นเด็กฉลาด
พ่อแม่มักจะคอยสอนลูกว่า เด็กที่ชอบโกหก มักจะเป็นคนไม่ดี และเด็กก็จะรู้เพียงแค่ว่าถ้าเขาโกหกจะกลายเป็นคนไม่ดี แต่พวกเขาไม่รู้เลยว่าคนไม่ดีเป็นอย่างไร มีผลกระทบหรือผลเสียต่อเด็กอย่างไรบ้าง แต่กลับมีงานวัจัยที่พบว่าเด็กที่ชอบโกหก มักจะเป็นเด็กฉลาด ทำไมถึงเป็นแบบนั้น
เด็กๆ จะเริ่มต้นโกหกครั้งแรกเมื่ออายุ 2 ขวบ มีการทดลองหนึ่งที่เด็กๆ จะได้รับคำสั่งไม่ให้มองของเล่นที่อยู่ข้างหลังพวกเขา หลังจากนั้นนักวิจัยก็เดินออกจากห้องไป ไม่นานนักวิจัยคนนั้นก็กลับเข้ามาในห้อง แล้วถามเด็กๆ ว่าเขาแอบมองของเล่นหรือไม่
การทดลองนี้ได้รับการออกแบบมาจากนักจิตวิทยาด้านการพัฒนาชื่อว่า Michael Lewis โดยได้ทำการศึกษากลุ่มหนึ่งหลายร้อยคน ผลการศึกษาพบว่า เด็กส่วนใหญ่จะมองไปที่ของเล่นภาสยในไม่กี่วินาทีหลังจากถูกปล่อยให้อยู่ในห้องลำพัง และเด็กจำนวนมากมักจะโกหก สำหรับเด็กบางคนแล้ว การโกหกอาจเริ่มที่อายุน้อยกว่านี้ แล้วอะไรที่ทำให้เด็กเริ่มต้นโกหก อะไรทำให้หนูน้อยไม่ซื่อสัตย์ คำตอบก็คือ พวกเขาฉลาดไง
ศาสตราจารย์ลูอิส พบว่า เด็กวัยหัดเดินที่โกหกเกี่ยวกับการมองของเล่นนั้น มีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ดูของเล่น การวิจัยอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นว่าเด็กที่โกหกมีทักษะในการบริหารที่ดีขึ้น รวมทั้งความสามารถในการสามารถคิดเห็นโลกรอบตัวจากมุมมองของผู้อื่นด้วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจที่เรียกว่า “ทฤษฎีจิตใจ”
ส่วนศาสตราจารย์ลีได้ค้น พบว่า การฝึกเด็กโดยใช้เกมแบบโต้ตอบและการเล่นละครที่หลากหลาย สามารถเปลี่ยนความจริงให้กลายเป็นคนโกหกได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ และจากการทดสอบการทำงานทฤษฎีของจิตใจ ยังพบอีกว่า การโกหกเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสมอง แต่มันคงไม่ดีแน่ถ้า ลูกของเราฉลาดพอที่จะโกหกได้ แล้วจะทำอย่างไรไม่ให้พวกเขาเป็นเด็กขี้โกหก
พ่อแม่บางคนจะทำโทษลูกด้วยการตี เมื่อจับได้ว่าเด็กโกหกอยู่ แต่คุณรู้ไหมว่าวิธีการนั้นนอกจากไม่ได้ผลแล้ว เด็กยังจะมีพฤติกรรมโกหกเพิ่มมากขึ้นด้วย วิธีการที่ดีที่สุดแค่ตำหนิลูกด้วยคำพูดก็เพียงพอแล้ว
ศาตราจารย์ได้แนะว่า การที่ให้ลูกๆ ได้อ่านนิทานเกี่ยวกับการปลูกฝังเรื่องกากรโกหกหลอกลวง เช่น เด็กเลี้ยงแกะ และพิน็อกคิโอ ไม่ช่วยป้องกันให้เด้กหลีกเลี่ยงพฤติกรรมโกหก หรือการโกหกลดน้อยลง แต่วิธีที่จะทำให้เด็กไม่กลายเป็นเด็กโกหก พ่อแม่ต้องสอนลูกโดยการเน้นย้ำถึงประโยชน์ของความซื่อสัตย์ สุจริตมากกว่า
ที่มา: nytimes
บทความอื่นที่น่าสนใจ:
6 พฤติกรรมยอดแย่ของลูก ที่ส่งผลเสียต่อเด็กในอนาคต
ลูกพูดอังกฤษปร๋อเพราะดูยูทูป จิตแพทย์เตือนดูทั้งวัน เสี่ยงออทิสติกเทียม