เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่อยู่ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนจะได้สบตากับเบบี๋ซึ่งกำลังจะลืมตาดูโลกในอีกไม่กี่สัปดาห์ น่าจะมีความกังวลคล้าย ๆ กันว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการแบบไหน คือ สัญญาณใกล้คลอด ? เจ็บท้องคลอด กับ เจ็บท้องเตือน ต่างกันอย่างไร แบบไหนต้องรีบคว้ากระเป๋าโรงพยาบาลกันแน่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การแยกแยะ สัญญาณใกล้คลอด กับ อาการเจ็บท้องเตือน ไม่ได้ ถือเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณแม่ใกล้คลอดหลายคนสับสน และกังวลอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะคุณแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์คลอดบุตรมาก่อน มักจะแยกไม่ออกว่า การเจ็บท้องแบบใด ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

ก่อนที่ร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์จะส่ง สัญญาณใกล้คลอด มักจะพบว่ามี อาการเจ็บท้องเตือน มาก่อน ซึ่งอาจพบได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของไตรมาสสุดท้ายหรือ หรือประมาณสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ โดยคุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกแข็งตัวบ่อย ปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือน ปวดมากบ้างน้อยบ้าง ไม่สม่ำเสมอ ระยะเวลาห่างกันไม่แน่นอน และเมื่อขยับตัวเปลี่ยนท่าทาง อาการปวดจะหายไป ซึ่งหากคุณแม่รีบเดินทางไปโรงพยาบาลในระยะนี้ คุณหมอมักจะแนะนำให้กลับมาพักผ่อนที่บ้าน

ซึ่ง 7 สัญญาณใกล้คลอด ที่มั่นใจได้ว่า เจ้าตัวเล็กมาแน่ แม่รีบหิ้วกระเป๋าไปโรงพยาบาลได้เลย มีดังนี้

  1. ท้องลด เป็นลักษณะที่ทารกในครรภ์เปลี่ยนท่า โดยหมุนศีรษะลงไปอยู่ในตำแหน่งอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมพร้อมคลอด โดยศีรษะของทารกในครรภ์จะเคลื่อนตัวลงต่ำในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ก่อนคลอด ทำให้หน้าท้องลดต่ำลง คุณแม่จะรู้สึกหายใจสะดวกขึ้น แต่จะปวดหน่วงบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดปัสสาวะถี่ และมีอาการเป็นตะคริวที่ขาบ่อยขึ้น
  2. ท้องเสีย เนื่องจากร่างกายจะปล่อยสารโพรสตาแกลนดิน เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดตัวในระหว่างเตรียมคลอด ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการท้องเสียด้วย คุณแม่จึงควรระวังไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และเดินทางไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
  3. มีมูกขาวข้นออกมาจากช่องคลอด เป็นมูกที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกมดลูกเข้าทำอันตรายกับทารกในครรภ์ มักจะหลุดออกมาในช่วงก่อนคลอดประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ และมักมีเลือดไหลปนออกมาพร้อมมูก
  4. น้ำคร่ำเดิน พบว่ามีน้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะไหลออกมาจากช่องคลอด มีลักษณะขุ่นเล็กน้อย แต่ไม่มีกลิ่น
  5. เจ็บท้องคลอด มีอาการปวดสม่ำเสมอ ปวดถี่ และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เจ็บท้องทุก ๆ 10 นาที และมีมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด
  6. ปากมดลูกเปิด ยิ่งใกล้คลอดปากมดลูกจะยิ่งเปิดกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร พร้อมกับมีเลือดไหลออกมาพร้อมกับมูกที่ทำหน้าที่ปิดกั้นบริเวณปากมดลูก
  7. ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง หากพบว่าลูกดิ้นน้อยลง หรือหยุดดิ้นนานเกินไป ให้รีบไปพบคุณหมอทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ก่อนถึงกำหนดคลอดได้

หากพบความผิดปกติอื่น ๆ นอกจาก 7 ข้อข้างต้น ที่อาจเป็นอันตรายกับลูกรัก เช่น อาเจียนไม่หยุด น้ำคร่ำมีสีและกลิ่นผิดปกติ แนะนำให้รีบเดินทางไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งในระหว่างนี้ คุณแม่ควรทำใจให้สบาย ไม่ควรกังวลมาก เพราะหากคุณแม่รู้สึกผ่อนคลายมากเท่าไร ก็จะทำให้ร่างกายสามารถรับมือกับความเจ็บปวดได้ดียิ่งขึ้น

 

เคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด ให้คุณแม่แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในกรณีที่ ผ่าคลอด คุณแม่จะฟื้นตัวช้ากว่าการคลอดธรรมชาติ ร่างกายจะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 6 สัปดาห์ โดยผิวหนังบริเวณแผลผ่าคลอดก็จะค่อย ๆ ผสานกัน ด้วยการสร้างคอลลาเจนมาฟื้นฟูผิว แต่หากร่างกายสร้างคอลลาเจนมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดแผลเป็นลักษณะนูนแดง หรือเป็นแผลคีลอยด์ได้ ดังนั้น คุณหมอจึงแนะนำให้คุณแม่ผ่าคลอดเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ดูแลแผลผ่าคลอด ที่มีคุณสมบัติลดการสูญเสียน้ำพร้อมช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นกับผิวหนัง และประกอบด้วยวิตามินซี คืนความสวยงามให้กับหน้าท้องของคุณแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย เดอร์มาติกซ์ อัลตร้า (Dermatix Ultra) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันการเกิดแผลเป็น และช่วยดูแลรอยแผลจากผ่าคลอด ที่คุณหมอส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ และคุณแม่ผ่าคลอดจำนวนมากไว้วางใจ ด้วย ซิลิโคนเจล ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่า คุณสมบัติของ CPX เทคโนโลยี ช่วยให้รอยแผลเป็นระยะแรกอ่อนนุ่มขึ้น ส่วน วิตามินซี เอสเตอร์ มีคุณสมบัติช่วยให้รอยแผลเป็นสีจางลง โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เนื้อเจลสัมผัสนุ่ม บางเบา เกลี่ยง่าย ไม่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะผิว ทั้งยังช่วยปกป้องผิวจากสารเคมี เชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย รังสี UVA และ UVB ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้รอยแผลสีจางลง โดยให้ผลลัพธ์ดีที่สุดในการป้องกันแผลเป็นแบบนูน (Hypertrophic Scar)* อย่าง แผลผ่าคลอด แผลผ่าตัดศัลยกรรม หรือแผลเป็นจากอุบัติเหตุ ช่วยให้แผลนูนลดลง นุ่มขึ้น และสีจางลง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คุณแม่สามารถทา เดอร์มาติกซ์ อัลตร้า (Dermatix Ultra) ได้ทันทีหลังจากตัดไหม รอยเย็บจางลง หรือบาดแผลสมานกันดีแล้ว (ประมาณ 7 – 14 วัน หลังผ่าคลอด) โดยใช้หลังจากเช็ดแผลให้แห้ง ด้วยการบีบซิลิโคนเจลขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ปาดบาง ๆ บริเวณแผลเป็นที่มีความยาวประมาณ 3-6 นิ้ว รอ 1 – 2 นาที (โดยไม่ต้องนวดวน) ก็สามารถทาครีมกันแดด หรือสวมเสื้อผ้าทับได้ทันที ใช้วันละ 2 ครั้ง (เช้า – เย็น) และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ควรใช้ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 – 6 เดือน คุณแม่ก็จะเบาใจเรื่องรอยแผลเป็นนูนบนหน้าท้อง รอยแผลสีจางลง และช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สามารถหาซื้อ ผลิตภัณฑ์ดูแลแผลผ่าคลอด เดอร์มาติกซ์ อัลตร้า (Dermatix Ultra) ทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ 5 กรัม 9 กรัม และ 15 กรัม ได้ตามร้านขายยาทั่วไป Boots, Watsons, หรือสามารถช็อปออนไลน์ได้ที่ Shopee Official Store

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คลิกที่นี่

 

*ให้ผลลัพธ์ที่ดีสำหรับรอยแผลที่เกิดขึ้นในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี

 

ข้อมูลอ้างอิง 1 2 3 4

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team