เคล็ดลับแสนสนุก สอนเจ้าตัวเล็กจับดินสอให้ถูกวิธี พ่อแม่ควรทำแบบนี้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูก ๆ ในช่วงก่อนวัยเรียน เริ่มที่จะใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กได้ถนัดขึ้นแล้ว แต่นั้นก็ยังไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะควบคุมได้ดี อย่างเช่น เรื่องของการใช้มือจับดินสอที่บางครั้งพ่อแม่ก็ต้องเข้าใจและหาวิธีมาสอนลูกว่าต้องจับดินสอให้ถูกต้อง วิธีจับปากกาที่ถูกต้อง ทำอย่างไร เรามีเคล็ดลับอันแสนสนุกที่จะช่วย สอนเจ้าตัวเล็กจับดินสอให้ถูกวิธี กันค่ะ

 

วิธีจับปากกาดินสอที่ถูกต้อง

1. เพื่อสอนให้ลูกเริ่มจับดินสอได้อย่างถูกต้องคุณแม่อาจใช้วิธีให้ลูกสมมติว่ามือข้างที่เขียนถนัดนั้นเป็นจระเข้อ้าและหุบปาก เจ้าจระเข้หิวและต้องการที่จะกินดินสอแล้ว (ทำมือตามภาพ)

 

 

2. เมื่อเจ้าจระเข้อ้าปากเพื่อคาบดินสอ ให้วางดินสอลงที่กรามล่างของเจ้าจระเข้ และค่อยปิดปากของจระเข้ลงบนดินสอ จระเข้กินดินสอเข้าไปแล้วรู้สึกไม่ชอบรสชาติของดินสอเลย ดังนั้นดินสอเลยอยู่ริมฝีปากของจระเข้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. จากนั้นให้ร่นปากของจระเข้ขยับเข้ามาให้เป็นรูปตัว O แล้วกดดินสอไว้ด้วยฟันของมัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. คุณแม่ลองให้ลูกทำตามวิธีดังกล่าวข้างบน และสังเกตวิธีจับดินสอที่ถูกต้องของลูกดูนะคะ

ครูเจน จากโรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต ได้แนะนำวิธีการจับดินสอไว้ว่า เมื่อเริ่มใช้มือจับสิ่งดินสอเด็ก ๆ จะเริ่มต้นแบบกำมือก่อน ซึ่งเป็นท่าที่ไม่ถูกต้อง จนกระทั่งเจ้าตัวน้อยเริ่มมีพัฒนาการการจับดินสอที่ดีขึ้นเรียกว่า “ การจับ 3 นิ้ว” (Tripod grasp ) คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว คือนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • ดินสอจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง ขณะที่จะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • นิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนโต๊ะเขียนหนังสือ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูกเขียนหนังสือ ด้วยดินสอไม้ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เสริมสมาธิเจ้าตัวน้อย

 

เด็กแต่ละวัยเหมาะกับดินสอแบบไหน

1. อายุ 1 – 1.5 ขวบ : Power Grasp

สำหรับอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยนี้จะเป็นสีเทียนกลมอ้วน เนื่องจากเด็ก ๆ ยังพัฒนากล้ามเนื้อมือได้ไม่เต็มที่ แถมยังควบคุมน้ำหนักมือได้ไม่ดี โดยในช่วงวัยนี้ อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสมจะเป็นสีเทียนด้ามอ้วน ๆ เพราะว่ามันทำให้จับถนัดมือ และทนต่อแรงกดได้ดีกว่าดินสอ หรือปากกาด้ามผอม ดังนั้น จึงควรจับสีเทียนที่ใช้ในการเขียนด้วยการกำมือเป็นท่าแรกเริ่ม เพราะจะทำให้ควบคุมการเขียนได้ง่ายขึ้น เวลาเขียนก็จะขยับไปทั้งท่อนแขน มีการงอของข้อมือ ถือว่ามีส่วนช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และความมั่นคงของข้อมือ ได้ดีเลยค่ะ

 

2. อายุ 2 – 3 ขวบ : Immature Pronated Grasp

อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสมจะเป็นดินสอสามเหลี่ยม เพราะว่าช่วงอายุนี้ เด็ก ๆ เริ่มจะมีพัฒนากล้ามเนื้อได้ดียิ่งขึ้นแล้ว แต่ก็ไม่ได้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าไร โดยอุปกรณ์การเขียนสามารถเปลี่ยนมาใช้ดินสอได้แล้ว แต่ก็ควรเป็นดินสอที่มีด้ามใหญ่ค่ะ ถ้าเป็นแบบสามเหลี่ยมจะทำให้จับได้ถนัดมือมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงจับดินสอโดยใช้ทั้งนิ้ว และใช้ข้อมือคว่ำ หัวแม่มือและนิ้วชี้ลงไปที่กระดาษ โดยไม่มีช่องว่างระหว่างนิ้ว แล้วเวลาเขียนก็ยังคงขยับแขนทั้งท่อน เพื่อช่วยพัฒนาความมั่นคงของข้อมือ

 

3. อายุ 3.5 – 4 ขวบ : Less Mature Static Tripod / Static Quadripod

เด็ก ๆ ในวัยนี้สามารถใช้อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสมดินสอธรรมดาได้แล้วค่ะ เริ่มมีความมั่นคงมากขึ้น และสามารถเริ่มจับดินสอในท่าเกือบถูกต้องแล้ว แต่จะมีช่องว่างในการจับระหว่างโคนนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้อาจแคบ จึงทำให้นิ้วเรียงตัวแปลก ๆ ทำให้ช่วงวัยนี้จะจับดินสออยู่ 2 ท่าหลัก ๆ คือ การใช้ 3 นิ้ว และใช้ 4 นิ้วจับ และยังเขียนโดยเคลื่อนไหวไปทั้งแขนอยู่ดี ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนสามารถใช้ดินสอแบบปกติได้เลย โดยการจับแบบนี้มีส่วนช่วยพัฒนาความแม่นยำของมือในการหมุนตามตำแหน่งที่ต้องการ แถมยังช่วยพัฒนาการควบคุมกล้ามเนื้อแบบแยกส่วนได้ดีอีกด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกให้ลายมือสวย สอนคัดลายมือทำอย่างไร พร้อมแจก แบบคัดลายมือสวย ๆ

 

 

4. อายุ 4.5 – 6 ขวบ : Mature Dynamic Tripod / Dynamic Quadripod

ช่วงวัย 4.5-6 ขวบ ถือเป็นช่วงที่ควร สอนเจ้าตัวเล็กจับดินสอให้ถูกวิธี เพราะมีการควบคุมน้ำหนักมือได้ดีขึ้นแล้วค่ะ เวลาเขียนจะไม่รู้สึกเมื่อยนิ้ว ข้อมือ หรือท่อนแขน ซึ่งท่าทางที่เหมาะสมจะเป็นการจับดินสอด้วยปลายนิ้ว โดยหัวแม่มืออยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับนิ้วชี้หรือนิ้วกลางค่ะ จะทำให้เขียนได้ง่าย และหัวแม่มีความมั่นคง เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำให้เด็ก ๆ เขียนได้นานและไม่รู้สึกปวดแขน

 

จริง ๆ แล้ว การจับดินสอนั้น มันไม่มีถูกหรือผิด เพียงแค่วาดหรือเขียนได้อย่างถนัดมือก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าลูกรู้สึกเมื่อย หรือว่าไม่ยอมเขียนหนังสือ เมื่อถึงช่วงวัยที่เหมาะสมแล้ว ผู้ปกครองก็อาจต้องมาดูว่าสาเหตุเกิดจากการจับดินสอที่ไม่ถนัดหรือเปล่า เพราะการจับดินสอที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เด็กออกแรงมาก หรือน้อยเกินไปในการเขียน ทำให้เขียนลำบาก ซึ่งจะส่งผลให้การเขียนไม่มีประสิทธิภาพ จนเขารู้สึกว่าปวดแขน ข้อมือ และทำให้ล้าง่าย เพราะการเขียนผิดท่า อาจทำให้เกิดตุ่มพองได้ เพราะการเสียดสีในบางนิ้ว จนทำให้ไม่อยากวาดรูปหรือเขียนหนังสืออีกเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 ชุดฝึกลากเส้น แนะนำสำหรับลูกน้อย เสริมพัฒนาการ ช่วยฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัด

แบบฝึกหัดภาษาอังกฤษอนุบาล แบบเรียนเสริมภาษาอังกฤษ แจกฟรี 100+ ชุด!!

เมื่อไหร่ลูกจะอ่านออกเขียนได้ พ่อแม่ควรสอนลูกยังไง ใช้เวลานานแค่ไหน?

ที่มา : parentsone

บทความโดย

Napatsakorn .R