เคล็ดลับง่ายๆ ช่วยให้ลูกกินนมจากขวดได้เอง

จริงๆแล้ว ลูกน้อยสามารถถือขวดนมได้เองตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป เพราะช่วงนี้ ลูกน้อยสามารถพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว และส่งของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้ ถ้าหากลูกของคุณสามารถถือขวดนมได้ตั้งแต่ 6 เดือน หมายความว่าลูกของคุณมีพัฒนาการด้านร่างกายที่ดีเลยทีเดียว แต่บางกรณี อาจต้องใช้เวลาถึง 10 เดือนกว่าที่ลูกน้อยจะสามารถถือขวดนมเองได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคล็ดลับง่ายๆ ช่วยให้ลูกกินนมจากขวดได้เอง

เรามาดูกันว่าเราจะ ช่วยให้ลูกกินนมจากขวดได้เอง ได้อย่างไร

วิธีการช่วยให้ลูกถือขวดนม

ลูกจะค่อยๆ ถือขวดนมได้เอง คุณแม่และคุณพ่อควรให้เวลาลูกและอดทนค่อยๆ ให้ลูกลองถือขวดนมหลายๆ ครั้งหากลูกทำหล่น

  • ให้ลูกรู้จักขวดนม ช่วงที่คุณแม่ให้นม โดยให้ลูกเริ่มสัมผัสขวดนม ให้รู้ว่าขวดนนมมีรูปทรง ขนาด และน้ำหนักประมาณไหน
  • เมื่อลูกเริ่มอยากถือขวดนม ให้ลูกลองถือขวดนมที่มีนม 1 ใน 3 ของขวด จากนั้นค่อยๆ เพิ่มเป็นครึ่งขวด และเต็มขวด
  • เมื่อค่อยๆ เพิ่มปริมาณนม ให้ดูว่าลูกสามารถถือได้หรือไม่
  • ค่อยๆ ประคองขวดนมในมือลูกใส่ปาก
  • หากลูกอมจุกนมและดูดได้เอง แปลว่าลูกถือได้แล้ว หากไม่ คุณต้องค่อยๆ ให้ลูกอมจุกนม
  • คุณควรประคองก้นขวดนมก่อน เมื่อแน่ใจว่าลูกถือขวดนมเองได้ จึงค่อยปล่อย และคอยระวังดูลูกดูดนมเสมอ

6 เคล็ดลับที่ช่วยให้ลูกถือขวดนมเองได้ดีขึ้น

หากลูกอยากถือขวดนมเองเมื่อไหร่ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกถือ มาดูว่ามีเคล็ดลับในการช่วยให้ลูกถือขวดได้อย่างไรบ้างครับ

1. ดูพัฒนาการการเคลื่อนไหวของลูก

อย่าบังคับให้ลูกถือขวดนมขณะที่กำลังให้นมทันที ปกติแล้ว เด็กจะสามารถแบและกำมือได้ช่วงอายุ 3 เดือน และช่วงนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกเริ่มถือของเล่นก่อน และเมื่อลูกได้ลองถือของเล่นบ้างแล้ว ก็ค่อยเริ่มให้ลูกหัดถือขวดนมครับ

2. สอนให้ลูกรู้จักขวดนม

สอนให้ลูกรู้ว่าจะต้องถือขวดนมเมื่อหิวและต้องการทานนม โดยสอนให้ลูกถือขวดนมช่วงที่ลูกหิว จากนั้นลูกจะจำหน้าตาของขวดนมได้ตั้งแต่ 3 เดือน และค่อยๆ เข้าใจว่าขวดนมเกี่ยวข้องกับการหิว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. กอดลูก

ลูกจะได้รับไออุ่นจากร่างกายของคุณแม่ขณะให้นม หากคุณต้องการให้ลูกถือขวดนมเองขณะทานนม คุณแม่ควรกอดและอุ้มลูกไว้แนบอกของคุณแม่ เพื่อให้ลูกรู้สึกเหมือนกำลังทานนมจากคุณแม่อยู่

4. ควรมีสภาพแวดล้อมเงียบสงบขณะทานนมจากขวดนม

ไม่ควรให้มีเสียงดังระหว่างที่ลูกดูดนม หากมีเสียงดังหรือกิจกรรมอื่นๆ ระหว่างที่ลูกทานนม จะทำให้ลูกไม่มีสมาธิ หรือดูดอากาศเข้าไปในท้องแทนที่จะดูดนมเข้าไป

5. ควรช่วยลูกระหว่างลูกทานนม

แขนของลูกอาจล้า เมื่อต้องถือขวดนมนานๆ ควรมีหมอนรองแขน หรือใส่ที่จับขวดนมบนขวดนมให้ลูกถือขวดนมได้ดีและถูกวิธีมากยิ่งขึ้น

6. ถ้าหากลูกถือไม่ได้ในช่วงแรกๆ ค่อยๆ ให้ลูกลองถือไปเรื่อยๆ

เด็กก็มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเหมือนผู้ใหญ่ บางวันลูกอาจไม่อยากถือขวดนม คุณก็ไม่ควรบังคับลูก ควรปล่อยให้ลูกเอื้อมมือหยิบขวดนมเอง เมื่อลูกหิว ช่วงวันแรกๆ ลูกอาจยังถือขวดนมเองไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ตวรใจเย็นๆ เพื่อให้ลูกค่อยๆ เรียนรู้ถือขวดนมเองได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อควรระวังเมื่อลูกถือขวดนมมีอะไรบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไป>>

ข้อควรระวังเมื่อลูกถือขวดนม

1. ให้ลูกถือขวดนมในตำแหน่งที่ถูกต้อง

ควรอุ้มลูกแนบอกตำแหน่งเดียวกับที่คุณแม่ให้นมลูกด้วยตัวเอง อย่าให้ลูกถือขวดนมแนวตั้ง หรือเหนือปาก เพราะจะทำให้ลูกสำลัก หรือน้ำนมอาจไหลใส่หูลูก ควรให้ปริมาณน้ำนมพอเหมาะให้ลูกถือได้สะดวก

2. อย่าปล่อยให้ลูกดูดนมจากขวดเพียงลำพัง

แม้ว่าลูกจะรู้สึกเป็นอิสระ เมื่อดูดนมเอง แต่คุณควรคอยดูลูกอยู่เสมอไม่คลาดสายตา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ฟังเสียงลูกดูดนม

หากลูกดูดนมเสียงดังเกินไป เป็นไปได้ว่าลูกอาจดูดเอาอากาศเข้าไปมาก ควรตรวจสอบจุกนมว่าไม่มีรอยรั่ว และดูว่าลูกถือขวดนมในตำแหน่งที่ถูกต้อง

4. ช่วยเอาขวดนมออกให้ลูก

แม้ว่าลูกน้อยของคุณจะถือขวดนมเองได้แล้ว แต่คุณแม่ก็ยังอาจจะต้องช่วยเอาขวดนมออกให้ลูกก่อนนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกน้อยยังเล็กมากๆ

5. อย่าปล่อยให้ลูกหลับคาขวดนม

คุณไม่ควรให้ลูกหลับไปโดยที่ลูกน้อยยังดูดนมจากขวดอยู่ เพราะเค้าอาจจะได้รับน้ำนมมากเกินไป หรือที่เรียกกันว่า overfeeding อีกทั้งยังอาจทำให้ลูกสำลัก จนอาจเป็นอันตรายได้

การหัดให้ลูกถือขวดนมได้เองนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย และหากคุณแม่ท่านใดมีเคล็ดลับดีๆ ก็สามารถนำมาแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านท่านอื่นได้นะครับ


ที่มา momjunction

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

แผ่นป้องกันหัวนม คืออะไร ควรใช้หรือไม่ระหว่างให้นมลูก?

เทคนิคและวิธีเลือกเครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่ต้องรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul