การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ เสี่ยงแค่ไหนกับลูกและแม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องรู้ก็คือ การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ซึ่งเป็นการทำคลอดโดยใช้เครื่องสุญญากาศดึงเอาศีรษะของทารกออกมา เพื่อช่วยให้ทารกเคลื่อนตัวออกมาทางช่องคลอดได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเครื่องดูดสุญญากาศยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยเรื่องแรงเบ่งของคุณแม่ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่งด้วยค่ะ

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ คืออะไร?

การช่วยคลอดด้วยการดูดสุญญากาศเป็นอีกหนึ่งหัตถการในการคลอดทางช่องคลอด ซึ่งมีการใช้มาเป็นเวลานานแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สามารถคลอดทารกได้ตามปกติ แต่ก็จะมีคุณแม่ตั้งครรภ์บางกลุ่มที่ไม่มีแรงเบ่งเพียงพอที่จะดันทารกออกมาจากมดลูก จึงจำเป็นที่แพทย์ต้องรีบให้คลอดเพื่อให้ทารกปลอดภัย โดยวิธีการนี้จะใช้ถ้วยโลหะสเตนเลส หรือเป็นถ้วยยางซิลิโคนเล็ก ๆ ไปครอบที่ศีรษะของทารก

และจะมีการต่อสายเข้ากับเครื่องที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะสุญญากาศที่ศีรษะทารก เมื่อได้ระดับสุญญากาศที่เหมาะสมแล้ว ทีมแพทย์ก็จะทำการดึงสายที่ต่อกับถ้วย พร้อม ๆ กับการเบ่งของคุณแม่ขณะที่มดลูกหดรัดตัวด้วย เพื่อเป็นการช่วยเสริมแรงเบ่งของแม่ ซึ่งสามารถช่วยให้ทารกคลอดออกมาได้ปกติ

 

เมื่อไหร่ที่ต้องใช้การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

คุณหมออาจแนะนำให้ทำการช่วยคลอดด้วย เครื่องดูดสุญญากาศ เมื่อปรากฏอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • เมื่อคุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่สามารถออกแรงเบ่งคลอดได้ เช่น เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ เป็นต้น
  • เมื่อทารกอยู่ในภาวะจำเป็นต้องรีบให้คลอด ในกรณีที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้ว และทารกลงมาอยู่ต่ำใกล้บริเวณปากช่องคลอด
  • เมื่อทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด

แม้ว่าการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศจะทำให้คลอดง่ายขึ้นเมื่อแม่ท้องมีปัญหาเรื่องการคลอด แต่อย่างไรก็ตาม การช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศก็มีความเสี่ยงที่อาจทำให้มีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขั้นตอนคลอดลูก แบบคลอดเองและผ่าคลอด ขั้นตอนการคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ เสี่ยงไหม ?

ความเสี่ยงต่อคุณแม่

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่มีดังนี้

  • มีอาการเจ็บปวดมากหลังคลอด
  • อาจทำให้ช่องคลอดเกิดการฉีกขาดได้
  • อาจทำให้ปัสสาวะลำบากในช่วงแรก
  • เสี่ยงต่อภาวะโรคโลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดระหว่างคลอด
  • อาจทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนได้

 

ความเสี่ยงต่อทารก

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกมีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อาจทำให้เกิดแผลที่หนังศีรษะ
  • เสี่ยงกระดูกไหปลาร้าหัก
  • อาจทำให้กะโหลกศีรษะร้าว
  • ภาวะเลือดออกในสมอง

หากจำเป็นต้องทำการช่วยคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศจริง ๆ ในบางกรณีก็อาจทำให้ทารกต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลนานขึ้น ซึ่งในช่วงนี้คุณหมอและพยาบาลจะมีการดูแลทารกอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถสังเกตอาการผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาหลังคลอดได้

 

ข้อห้ามในการช่วยคลอดด้วย การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

  1. เมื่อทารกมีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสมองของทารกได้
  2. หลังจากที่ตรวจพบว่ามีแผลบริเวณหนังศีรษะของทารก
  3. ขนาดของทารกและขนาดของอุ้งเชิงกรานแม่
  4. ทารกที่กำลังอยู่ในท่าหน้า/ทารกท่าหน้า
  5. ศีรษะของทารกยังไม่เข้าสู่อุ้งเชิงกรานของแม่
  6. แพทย์ไม่สามารถระบุท่าของทารกได้ชัดเจน

 

การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะคลอดทางช่องคลอดได้ปกติหรือไม่ ทำให้การพิจารณาช่วยคลอดด้วยการใช้เครื่องดูดสุญญากาศ อยู่ที่การตัดสินใจของแพทย์เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในขณะทำการคลอดบุตร ซึ่งทางแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่เบ่งคลอดตอนมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก พร้อมกับการช่วยดึงศีรษะของทารกด้วยเครื่องดูดสุญญากาศเพื่อเป็นการเสริมแรงกัน ทำให้ช่วยทารกคลอดออกมาได้ง่ายขึ้น จากนั้นจึงจะถอดเครื่องดูดสุญญากาศออก และไปทำคลอดตัวทารกต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แพทย์ช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศอย่างไร

หลังจากทีมแพทย์ตัดสินใจที่จะทำการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศแล้ว ศีรษะของทารกต้องอยู่ต่ำลงมาในช่องคลอด และถุงน้ำคร่ำต้องแตกเรียบร้อยแล้ว จากนั้น แพทย์จะเลือกถ้วย ซึ่งอาจจะเป็นถ้วยซิลิโคน หรือ ถ้วยโลหะ ก็ขึ้นอยู่ที่การพิจารณา และเลือกขนาดที่เหมาะสมที่จะทำการครอบที่ศีรษะทารกได้ หลังจากครอบถ้วยแล้วจะเหนี่ยวนำทำให้เกิดภาวะสุญญากาศ โดยให้ถ้วยติดกับหนังศีรษะทารก

จากนั้นจะมีสายต่อสำหรับให้แพทย์ดึงช่วยเพื่อทำคลอด การดึงจะทำพร้อม ๆ กับการเบ่งของคุณแม่ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก ทำจนให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาและคลอดได้สำเร็จ ซึ่งการดึงของแพทย์ส่วนใหญ่แล้วจะดึงไม่เกิน 3 ชุด หรือใช้เวลาประมาณ 15- 30 นาทีเท่านั้น หากไม่สำเร็จต้องหยุดหัตถการช่วยคลอดนี้ และรีบทำการผ่าตัดคลอดแทนค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผ่าคลอด มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ผ่าคลอดแนวขวางหรือแนวตั้งดีกว่ากัน

 

 

ข้อด้อยของการช่วยคลอดด้วยการดูดสุญญากาศ

สำหรับการคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ อาจจะมีโอกาสไม่สำเร็จได้ 10-20 % ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การผิดปกติของอุ้งเชิงกราน การใช้ขนาดถ้วยที่ไม่เหมาะกับทารก เทคนิคการดึงทารก ขนาดของตัวทารกที่ไม่สามารถดึงได้ การตั้งครรภ์ที่ยังไม่ครบกำหนด เป็นต้น

 

ทารกที่เกิดจากการดูดสุญญากาศมีปัญหาหรือไม่?

ถ้าหากมีการประเมินขนาดทารกแล้ว ขนาดช่องเชิงกรานได้ถูกต้อง การเลือกใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสมส่วนก็จะไม่มีปัญหาในการช่วยคลอดเท่าไร ยกเว้นในกรณีที่ทารกตัวโต และอาจมีอาการชอกช้ำมากจากการดึงหลาย ๆ ครั้ง หรือการเลือกขนาดถ้วยดูดสุญญากาศที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ถ้วยดูดที่ศีรษะทารกหลุดบ่อย จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อคุณแม่และทารกได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หลังคลอดด้วยการดูดสุญญากาศ อีกนานแค่ไหนถึงพบแพทย์อีกครั้ง

หลังคลอดด้วยการดูดสุญญากาศ โดยปกติแล้ว แพทย์จะนัดตรวจหลังคลอด ประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่ถ้าหากมีภาวะการติดเชื้อ หรือมีอาการปวดแผลฝีเย็บมากผิดปกติ มีอาการตกขาวเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น มีไข้ หรือมีเลือดออกตามทางช่องคลอด ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที สามารถไปโรงพยาบาลก่อนแพทย์นัดได้เลยค่ะ ส่วนคนที่ผ่าตัดคลอดก็ให้สังเกตว่า มีไข้หรือเปล่า แผลปวดผ่าตัดผิดปกติไหม หรือมีหนองไหลจากแผล มีเลือดออกทางช่องคลอดมากเกินกว่าปกติหรือเปล่า ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ก่อนแพทย์นัดได้เช่นเดียวกันค่ะ

 

ป้องกันการคลอดด้วยการดูดสุญญากาศได้ไหม?

การป้องกันการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ บางกรณีอาจจะสามารถป้องกันได้ คือ การป้องกันไม่ให้ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่มากเกินไป โดยต้องมีการเพิ่มน้ำหนักตัวคุณแม่ขณะตั้งครรภ์อย่างพอดี และถ้าคุณแม่เป็นเบาหวานในขณะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เพราะการช่วยคลอดด้วยวิธีนี้ถือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทางแพทย์จำเป็นต้องรีบช่วยคลอดทารก

 

ในกรณีที่คุณแม่เพิ่มตั้งครรภ์แรก จะต้องมีการช่วยคลอดด้วยการดูดสุญญากาศเนื่องจากแรงเบ่งของคุณแม่ยังไม่เพียงพอ จึงมีโอกาสเกิดซ้ำได้ในครรภ์ต่อมา ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลส่วนใหญ่มักมีการเตรียมพร้อมเอาไว้เสมออยู่แล้วค่ะ อย่างไรก็ตาม ในครรภ์ต่อมาก็อาจจะไม่ต้องใช้การช่วยคลอดด้วยการดูดสุญญากาศ เพราะคุณแม่เคยมีประสบการณ์ในการช่วยเบ่งคลอดมาแล้ว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

16 เคล็ดลับ ช่วยแม่ท้อง คลอดธรรมชาติ

รู้ทันลดอันตราย “ท้องแข็ง”แบบไหนต้องรีบไปโรงพยาบาล !

อีกหนึ่งอันตราย ที่แม่ท้องควรรู้! น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำรั่ว ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์

ที่มา : haamor

บทความโดย

P.Veerasedtakul