อุ้มบุญอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย และที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีหลักเกณฑ์อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อุ้มบุญอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย หลายคนอยากมีลูก… แต่ติดปัญหาตรงที่ สภาพร่างกายไม่พร้อม หรือไม่สมบูรณ์ ตั้งแต่กำเนิด ในบางคนก็อาจมีโรคที่สืบต่อกันทางกรรมพันธุ์ และกลัวลูกติดโรคทางกรรมพันธุ์ นั้นด้วย ในบางคนก็ไม่สามารถมีลูกได้เพราะเป็นหมัน หรือ กลุ่มชายรักชาย หรือ ผู้หญิงข้ามเพศ แต่อยากมีลูก จึงต้องการ ให้มีแม่มาอุ้มท้อง ดังที่เป็นข่าวใหญ่โต ซึ่งหลายคนคงรู้จัก และเลือกที่จะใช้การมีลูก โดยวิธีการอุ้มบุญกัน แต่ การ อุ้มบุญอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย เรามีมาแนะนำ

 

ในปัจจุบันความก้าวหน้าในการช่วยเหลือให้มีการตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) เพื่อบำบัดรักษาภาวการณ์มีบุตรยาก  หรือการอุ้มบุญ ได้รับการคุ้มครอง และควบคุมตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558

 

เงื่อนไขของสามีภริยาผู้ขอให้อุ้มบุญ

การอุ้มบุญ จะใช้ในกรณีที่ภริยา มีภาวะที่ทำให้ไม่สามารถตั้งท้องเองได้ อาจเป็นภาวะที่ทำให้ตัวอ่อน ไม่สามารถฝังตัวในมดลูกได้ หรือภาวะไร้มดลูก หรือมดลูกมีความผิดปกติใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเป็นที่อาศัยของตัวอ่อนของทารกได้ ดังนั้น ผู้ขอให้มีการอุ้มบุญ จะต้องเป็นสามี และภริยาสัญชาติไทยที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยภริยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้และยินยอมที่จะให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนตน หรือหากเป็นกรณีสามีหรือภริยาเป็นชาวต่างชาติจะต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอุ้มบุญที่ถูกต้องตามกฏหมาย มีหลักเกณฑ์อย่างไร?

(พระราชบัญญัติคุ้มครองเด้กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจิญพันธุ์ทางการแพทย์ พศ 2558)

การอุ้มบุญ หรือการตั้งครรภ์แทนกัน คือ การตั้งครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ทางการแพทย์ในการช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ด้วยการนำตัวอ่อนที่เกิดจากไข่ หรืออสุจิของสามีภริยากับไข่ หรืออสุจิคนอื่น (แต่ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน)นำมาเก็บไว้แล้ว นำเข้าไปใส่ในอวัยวะสืบพันธุ์ของหญิงอื่นเพื่อให้ตั้งครรภ์แทน โดยข้อกำหนดผู้ที่จะขอให้มีการอุ้มบุญนั้นมีเงื่อนไขต่างๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใครสามารถขอให้มีการอุ้มบุญได้? 

ตามกฎหมายแล้วนั้น : สามีภริยาที่มีสิทธิดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ สามีภริยาได้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฏหมายที่เขตหรืออำเภอ และมีความพร้อมทางครอบครัวและปัจจัยในการดำรงชีพต่างๆที่ดีมีความเหมาะสมและเลี้ยงดูเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญได้ เป็นบิดามารดาของเด็กนั้นได้โดยไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ดังนั้นหญิงโสด ชายโสด ชายหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยา และคู่รักเพศเดียวกัน จึงไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนตามกฏหมายได้

 

ใครสามารถตั้งครรภ์แทนได้?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตามกฎหมายแล้วนั้น : หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนได้ (แม่อุ้มบุญ) จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • ต้องเป็นญาติ สืบสายโลหิตในครอบครัว ของทางฝ่ายสามี หรือภริยา แต่ต้องไม่ใช่บิดามารดา และลูกสืบสายโลหิต เว้นแต่ในกรณีที่ไม่มีญาติสืบสายโลหิต กฏหมายได้เปิดโอกาสให้หญิงอื่นเป็นผู้รับตั้งครรภ์แทนได้
  • ต้องเคยมีบุตรมาก่อนแล้ว ถ้าหญิงนั้นมีสามีอยู่จะต้องได้รับความยินยอมจากสามีด้วยถึงจะตั้งครรภ์แทนได้
  • ต้องไม่ใช่เจ้าของไข่ที่ให้กำเนิดตัวอ่อน เพื่อป้องกันความเชื่อมโยงทางพันธุกรรม และความรู้สึกผูกพันของผู้รับตั้งครรภ์แทนต่อเด็ก

 

เงื่อนไข การตั้งครรภ์แทน ที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?

ตามกฎหมายแล้วนั้น : ก่อนการตั้งครรภ์

  • ต้องมีการตกลงเป็นหนังสือ ระหว่างหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนกับสามีภริยาที่ต้องการมีบุตร ว่าให้ทารกในครรภ์ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นบุตรของสามีภริยาที่ขอให้มีการอุ้มบุญ (มาตรา3)
  • กฏหมายยังกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
    มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อตกลงการตั้งครรภ์แทนค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนในขณะตั้งครรภ์คลอด และรวมทั้งหลังคลอด (มาตรา24)

การทำข้อตกลงดังกล่าว จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนในสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สามีภริยา และแม่อุ้มบุญ เพื่อป้องกันมิให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า (มาตรา23) หรือเกิดการต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนโดยใช้ทารกในครรภ์เป็นประกัน รวมทั้งเป็นการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของเด็กและแม่อุ้มบุญด้วย ซึ่งสัญญาที่ทำขึ้นโดยขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจะตกเป็นโมฆะในทันทีบังคับใช้ไม่ได้

 

ข้อห้ามเกี่ยวกับการอุ้มบุญ หรือตั้งครรภ์แทน มีอะไรบ้าง? (มาตรา23)

กฎหมายนี้กำหนดห้ามดำเนินการให้ตั้งครรภ์แทน เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจการค้า รวมถึงห้ามมิให้กระทำการเป็นนายหน้า คนกลาง โดยเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อเป็นการตอบแทนในการจัดการหรือชี้ช่องให้มีการรับตั้งครรภ์แทน (มาตรา26) และห้ามมิให้มีการโฆษณาว่ามีหญิงประสงค์จะรับตั้งครรภ์แทนผู้อื่น หรือมีบุคคลประสงค์จะให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ไม่ว่าจะกระทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือไม่ก็ตาม (มาตรา27) ดังนั้น การรับจ้างอุ้มบุญ การเป็นนายหน้าจัดหาหญิง หรือสถานพยาบาลเพื่อทำการอุ้มบุญจึงเป็นความผิด และมีโทษทางอาญา

 

ใครเป็นบิดา และมารดาตามกฏหมายของเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญหรือตั้งครรภ์แทน?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กฏหมายแพ่งที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันก่อนจะมี พ.ร.บ เรื่องการอุ้มบุญบังคับใช้ ได้กำหนดให้หญิงที่ตั้งครรภ์และได้ให้กำเนิดเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฏหมายของเด็ก เด็กจึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของแม่อุ้มบุญ ส่วนสามีภริยาซึ่งต้องการมีบุตรทำได้เพียงรับเด้กเป็นบุตรบุญธรรม

แต่กฏหมายฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงหลักการข้างต้น เฉพาะกรณีอุ้มบุญเท่านั้นโดยกำหนดให้เด็กที่เกิดจากอสุจิไข่ หรือตัวอ่อนของผู้บริจาคโดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของสามีและภริยาที่ประสงค์จะมีบุตรโดยใช้วิธีการอุ้มบุญ ไม่ว่าภริยาจะเป็นผู้ตั้งครรภ์เองหรือเป็นการตั้งครรภ์แทนโดยหญิงอื่น ผลก็คือเด็กที่คลอดจากครรภ์ของแม่อุ้มบุญจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายของสามีภริยา ซึ่งสามีภริยานั้นจะต้องเดินทางไปแจ้งเกิด ส่วนชาย หรือหญิงที่บริจาคอสุจิ หรือไข่ซึ่งนำมาใช้ปฎิสนธิเป็นตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์ หรือผู้บริจาคตัวอ่อน และเด็กที่เกิดจากอสุจิ หรือไข่ หรือตัวอ่อนที่บริจาคดังกล่าว ไม่มีสิทธิ และหน้าที่ระหว่างกันตามประมวลกกหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว และมรดก

 

ครอบครัวที่มีลูกเองได้อยู่แล้วสามารถขอให้มีการอุ้มบุญได้หรือไม่

ตามกฏหมายนี้ มีความมุ่งหมายให้ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาวะของการมีบุตรยาก หรือไม่สามารถมีบุตรได้ ดังนั้นในกรณีที่คู่สมรสสามารถมีบุตรได้ แต่ภริยาไม่ต้องการตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ หรือคู่สมรสซึ่งต้องการมีบุตรจำนวนมากโดยมีจุดประสงค์ที่มิชอบหรือกรณีชาย หรือหญิงที่ไม่ได้สมรสแต่ต้องการมีบุตร ย่อมไม่อยู่ในขอบเขตของการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ตามกฏหมายฉบับนี้

 

ปัจจุบัน การอุ้มบุญในประเทศไทย สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน กำหนดให้ทำได้เฉพาะคู่สามีภรรยา ที่ชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น การอุ้มบุญในประเทศไทย จึงถือว่ายังมีข้อจำกัดต่อผู้ที่ต้องการมีบุตร เพราะฉะนั้น การอุ้มบุญมีข้อควรรู้และข้อห้ามของหญิงตั้งครรภ์แทน รวมถึงเด็กที่จะคลอดออกมาด้วย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 อีกด้วย

 

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษาสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ชั้น 4 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 02-193-7000 ต่อ 18419 หรือ 18418 และเฟซบุ๊ก กลุ่มคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

 

ที่มา : (1) (2

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องต้องฉีดอะไรบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 5 สมุดวัคซีนแม่ท้อง

ทำไมท้องแล้วถึงแท้ง? ลูกหลุดเกิดจากอะไร มาดูสาเหตุที่ท้องแล้วลูกหลุดบ่อย

แตงโม โพสต์บอก น้องอีสเตอร์ ลูกสาวที่เกิดจากอุ้มบุญ

 

 

บทความโดย

@GIM