8 อาหารเพิ่มน้ำนมคุณแม่ ให้มีน้ำนมพอ รวมมาให้หมดแล้ว !
รวมมาให้แล้ว เมนูอาหารคุณแม่ลูกอ่อน เมนูเพิ่มน้ำนม อาหารบำรุงน้ำนม อาหารเพิ่มน้ำนมคุณแม่ อาหารบำรุงน้ำนมแม่ ที่จะช่วยให้แม่น้ำนมไหลมาก น้ำนมมาเยอะ ลูกอิ่มทุกมื้อ แถมยังปั๊มนมแม่ เก็บไว้เป็นนมสต็อกได้อีกเพียบ
ทำไมจึงควรบำรุงน้ำนมแม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ
น้ำนมแม่เป็นอาหารของทารก ที่ธรรมชาติสร้างมาให้อยู่แล้ว หรืออาจบอกได้ว่า เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารก ดังนั้นหากคุณแม่มีปัญหาในการให้นม มีน้ำนมน้อยเกินไป น้ำนมไม่ไหล สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหาการให้นมในอนาคต ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะน้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก มีสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการที่ดีของลูก ทั้งในด้ายภูมิคุ้มกัน สมอง และสุขภาพลำไส้
ดังนั้นเพื่อความมั่นใจว่าคุณแม่จะให้นมเพียงพอ คุณแม่จึงควรกระตุ้นน้ำนมตั้งแต่เนิ่น ๆ ในช่วงก่อนคลอด ไปจนถึงช่วงที่คลอดแล้ว ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี
อย่าพลาดการกระตุ้นน้ำนมเหลืองให้มากขึ้น
การกินอาหารที่ถูกต้อง ถูกเมนูสามารถช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ได้ไม่มากก็น้อย สาเหตุส่วนหนึ่งที่เราอยากให้คุณแม่เริ่มรับประทานอาหารเพื่อกระตุ้นน้ำนมแม่ตั้งแต่ช่วงก่อนคลอด คือ “น้ำนมเหลือง (Colostrum)” เพราะในน้ำนมเหลืองเป็นระยะที่นมแม่มีสารอาหารสูงที่สุด มีสารอาหารสำคัญ เช่น MFGM, DHA และพบ แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) ในปริมาณสูงที่สุดเมื่อเทียบกับนมแม่ในระยะอื่นๆ โดยน้ำนมเหลืองจะพบได้เพียงช่วงหลังคลอด 1-3 วันแรกเท่านั้น หลังจากนั้นปริมาณแลคโตเฟอร์รินในน้ำนมแม่จะไม่มากเท่าที่พบในระยะน้ำนมเหลืองอีกแล้ว
การให้น้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์รินกับทารกเปรียบเสมือนการให้วัคซีนธรรมชาติจากคุณแม่ เพราะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยทำลายแบคทีเรียในร่างกายของลูก จากการดูดธาตุเหล็กของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถเติบโตได้
หากคุณแม่มองข้ามการกระตุ้นนมแม่ไป อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้ปริมาณน้ำนมเหลืองน้อยลงไปได้ อย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ด้วย
8 อาหารเพิ่มน้ำนมคุณแม่ ผัก ผลไม้ บำรุงน้ำนมแม่
อาหารบำรุงน้ำนมแม่ ก่อนจะไปดูเมนูอร่อย ๆ มารู้จักวัตถุดิบชั้นดี อาหารบำรุงน้ำนมแม่ ที่จะช่วยให้น้ำนมแม่ไหลเยอะ
1. มะรุม
ใบและดอกของมะรุม มีวิตามินนานาชนิด เช่น วิตามินซีสูง และวิตามินเอสูง นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอย่างโพแทสเซียมสูง และยังมีโปรตีนสูงอีกด้วย ที่ช่วยในการขับน้ำนมได้ด้วย ส่วนเมนูมะรุมที่เราแนะนำ ได้แก่ มะรุมผัดไข่, แกงส้มมะรุมปลากระป๋อง, ยอดมะรุมผัดไฟแดง และแกงมะรุมปลานิล
2. ตำลึง
มีเส้นใยอาหารในปริมาณมากช่วยบำรุงน้ำนมคุณแม่สุด ๆ ในผักตำลึงที่มีโปรตีน มีวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี แคลเซียม และเหล็ก ยังช่วยบำรุงเลือด กระดูก สายตา ผม และประสาท ส่วนเมนูตำลึงที่เราแนะนำ ได้แก่ ต้มเลือดหมูตำลึง, แกงจืดตำลึง และตำลึงผัดไข่
3. หัวปลี
ในหัวปลีมีธาตุเหล็กจำนวนมาก ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นน้ำนมได้ดี และยังมีแคลเซียมสูง มีโปรตีน และฟอสฟอรัสส รวมไปถึงสารอื่น ๆ เช่น วิตามินอี และเบตาแคโรทีน เป็นต้น ที่ยังช่วยป้องกันโรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้ และช่วยบำรุงเลือด ส่วนเมนูหัวปลีที่เราแนะนำ ได้แก่ ยำหัวปลีกุ้งสด, ต้มยำหัวปลี, แกงหัวปลี และหัวปลีต้มกะทิกุ้ง
4. ใบกะเพรา
ใบกะเพราพบเจอได้ทั่วไป โดยเฉพาะเมนูประจำของคนไทยอย่างผัดกะเพราะ ซึ่งผักชนิดนี้มีแคลเซียม ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูง ความร้อนจากใบกะเพราช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมให้กับคุณแม่หลังคลอดได้ ส่วนเมนูใบกะเพราที่เราแนะนำ ได้แก่ ผัดเผ็ดปลาดุกทอดกะเพรากรอบ, ผัดฉ่าปลาหมึกใส่กะเพรา, ทอดมันปลาทู และข้าวต้มปลาใส่ใบกะเพรา
5. มะละกอ
มะละกอเป็นผลไม้ที่มีธาตุเหล็ก และแคลเซียมสูง ช่วยขับน้ำนม บำรุงเลือด บำรุงกระดูก และสายตา แถมยังช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ส่วนเมนูมะละกอที่เราแนะนำ ได้แก่ ส้มตำไทยไข่เค็ม, มะละกอผัดไข่, แกงเหลืองมะละกอกุ้ง และมะละกออบแห้ง
6. ขิง
ขิง มีคุณค่าทางอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 คาร์โบไฮเดรต มีสรรพคุณคือช่วยขับลม แก้อาเจียน ช่วยย่อยไขมัน เพิ่มการไหลเวียนเลือดได้เป็นอย่างดีและทำให้น้ำนมแม่ไหลดี ส่วนเมนูขิงที่เราแนะนำ ได้แก่ ปลากะพงนึ่งซีอิ๊วใส่ขิง, โจ๊กหมู, ไก่ผัดขิง และเต้าหู้ผัดขิง
7. กุยช่าย
ทั้งใบและต้นสดของกุยช่าย มีคุณค่าทางสารอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต แบต้าแคโรทีน และวิตามินซี สรรพคุณของใบกุยช่าย คือจะช่วยเพิ่มน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ส่วนเมนูกุยช่ายที่เราแนะนำ ได้แก่ ขนมกุยช่าย, กุยช่ายทอดกรอบ, ดอกกุยช่ายผัดตับ และผัดกุยช่ายขาวเต้าหู้หมูสับ
8. อินทผลัม
อินทผลัม มีประโยชน์มากกว่าที่คิดมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มสารอาหารสำคัญในน้ำนมแม่ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะมีวิตามินมากมาย ส่วนเมนูอินทผลัมที่เราแนะนำ ซึ่งจะเน้นไปที่เมนูขนม ได้แก่ เค้กอินทผลัม, ช็อกโกแลตบอลอินทผลัม, พิสตาชิโอเอนเนอร์จี้ไบท์ และคุกกี้อินทผลัม
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทารกน้อยเริ่มอย่านมแม่ในช่วงอายุ 6 เดือนจนถึง 2 ปี คุณแม่สามารถพิจารณาอาหารประเภทอื่น ๆ ที่มีสารอาหารครบถ้วนให้กับลูกน้อยได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์นม ที่มีสารอาหารครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการของทารก เพื่อพัฒนาการที่ดี และสมวัย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีนวดกระตุ้นน้ำนมไม่พอ เทคนิคสำคัญช่วยแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน
สีน้ำนมแม่ น้ำนมใส ที่ปั๊มออกมา ลูกจะกินได้ไหม ทำไมนมแม่มีหลายสี
วิธีกระตุ้นน้ำนม ให้มีน้ำนมเยอะ ๆ สำหรับแม่มือใหม่กลัวน้ำนมน้อย ลูกไม่พอกิน
ที่มา : pregnancyfoodchecker, mary-catherinerd.
- ดานอน ประเทศไทย รวมพลังรณรงค์ต่อต้านภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก ยืนหนึ่งในใจพ่อแม่ คว้ารางวัล Parents’ Choice สุดยอดอาหารเสริมสำหรับเด็ก จากเวที theAsianparent Awards 2024
- S-26 สุดยอดแบรนด์นมสำหรับเด็ก ที่คุณแม่ไว้วางใจ คว้า 3 รางวัลแห่งปี จากเวที theAsianparent Awards 2024