แม่ต้องรู้! ลูกวัยนี้ให้กินอะไรดี อาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย ป้องกันลูกกินยาก

เทคนิคการป้องกัน ปัญหาลูกกินยาก พ่อแม่ต้องรู้อาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย เทคนิคการป้องกัน ปัญหาลูกกินยาก ก่อนลูกจะเริ่มโต เลือกกิน กินยาก แม่ต้องจัดอาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย เริ่มฝึกให้ลูกกินตั้งแต่เล็ก ๆ

อาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย

เทคนิคการป้องกัน ปัญหาลูกกินยาก

บ่อยครั้งที่หมอมักจะได้ยินคุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟังว่า ตอนลูกยังเป็นทารก จะป้อนอะไรก็ทานหมด แต่พอเริ่มโตขึ้น หลัง 1 ขวบแล้ว ไม่ค่อยยอมทานอะไรเลย และเกิดเป็นปัญหาเด็กกินยาก เลือกกินอาหาร ตามมาด้วยปัญหาน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ จนนำมาซึ่งความกังวลของคุณพ่อคุณแม่

7 เทคนิคป้องกันลูกกินยากด้วยอาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย

ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาเด็กกินยากที่เป็นเรื่องของพฤติกรรมโดยไม่ได้มีโรคทางกายภาพ อันเป็นความผิดปกติอื่น ๆ นั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้โดยมีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

1. คุณพ่อคุณแม่ และผู้เลี้ยงดูควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก และจัดอาหารให้เหมาะสม ยกตัวอย่างอาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัยง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

  • ทารกแรกเกิด 0-6 เดือน ควรทานอาหารเหลว อันได้แก่ นมแม่
  • ทารก 6- 7 เดือน สามารถเริ่มทานอาหารกึ่งเหลวได้แล้ว
  • ทารก 8-12 เดือน ควรเริ่มให้ทานอาหารบดอย่างหยาบ
  • ทารก 12-18 เดือน สามารถเริ่มทานอาหารชิ้นเล็กและเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวง่ายได้
  • ทารก 18-24 เดือน ควรให้ทานเนื้อสัตว์ผลไม้ และผักสดได้

หากให้ทานอาหารไม่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยอาจจะทำให้ลูกไม่อยากทาน เช่น หลังอายุ 1 ขวบหากยังให้ลูกทานอาหารเหลวอยู่ ก็จะเกิดปัญหาได้

อาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย

2. คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่า อาหารที่ลูกชอบมีลักษณะแบบใด เพราะลักษณะนิสัย และความชอบในการทานอาหารของเด็กแต่ละคน ก็อาจแตกต่างกัน เราจึงควรสังเกต และปรับลักษณะอาหารที่มีประโยชน์ให้เข้ากับความชอบของลูกอย่างเหมาะสมนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. คุณพ่อคุณแม่ และทุกคนในบ้านควรทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกด้วยนะคะ

4. ฝึกให้ลูกได้ทานอาหารที่หลากหลาย ทานให้เป็นหลาย ๆ อย่าง ก่อนที่ลูกจะอายุ 15-18 เดือน ซึ่งจะเป็นช่วงวัยที่เริ่มปฏิเสธอาหาร และเลือกทานมากขึ้น โดยเคล็ดลับในการเริ่มให้เด็กทานอาหารชนิดใหม่ ๆ ผู้ใหญ่ควรชักชวนให้เด็กลองเอง ไม่ยัดเยียด หรือบังคับ อาจใช้วิธีถามว่าจะทานในปริมาณเท่าใด โดยผู้ใหญ่เป็นผู้เลือกชนิดของอาหารที่รับประทาน

5. ฝึกให้ลูกทานอาหารเป็นมื้อ ไม่ทานขนม พร่ำเพรื่อ เช่น เมื่ออายุมากกว่า 1 ปีก็ควรทานอาหารวันละ 3 มื้อ อาจมีของว่างได้ระหว่างมื้ออาหารหลัก แต่ไม่ควรเกิน 2 มื้อโดยไม่ให้ทานขนม หรือน้ำหวานบ่อย เพราะจะทำให้ลูกอิ่ม และไม่อยากทานอาหารมื้อหลัก

6. ฝึกลูกตั้งแต่เล็ก ๆ ให้รู้สึกว่าการทานอาหารเป็นเรื่องที่สนุกและผ่อนคลายโดยไม่ใช้สิ่งอื่นมาดึงดูด ความสนใจให้ทานอาหาร เช่น ของเล่น หรือโทรทัศน์

อาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. ในแต่ละมื้อที่ลูกทานอาหารควรให้ได้ปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย โดยประมาณอย่างง่ายๆ  จากปริมาณอาหารต่อมื้อที่ผู้ใหญ่ทาน ดังนี้ เด็กอายุ 1 ปีควรทานอาหารได้ประมาณ ⅓ ถึง ½ ของผู้ใหญ่ และเด็กอายุ 3 ปีจะทานได้ประมาณ ½ ของผู้ใหญ่ ซึ่งหากลูกทานได้ในปริมาณเท่านี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะชื่นชมและให้กำลังใจแก่ลูกค่ะ

หวังว่าเทคนิคง่าย ๆ 7 ข้อนี้คงจะมีประโยชน์ และช่วยป้องกันปัญหาลูกกินยากให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้บ้าง ไม่มาก ก็น้อยนะคะ ทั้งนี้เด็กในช่วงวัย 1-3 ปีจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง การที่ลูกจะเลือกกิน หรือปฏิเสธอาหารชนิดใด ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติตามวัยของเด็กในช่วงนี้ ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจจะเกิดปัญหาในเรื่องการกินบ้าง มากหรือน้อยแตกต่างกันได้ค่ะ

รู้กันไปแล้วว่าอาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย มีอะไรบ้าง ชวนแม่ ๆ มาโหวตกันหน่อยว่า อาหารเสริมที่ลูกชอบทาน คืออะไร โหวตได้ที่โพลด้านล่าง หรือ คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อ้างอิง : www.healthlinkbc.ca

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคที่เกิดขึ้นในวัยทารก โรคยอดฮิตในหมู่เด็กมีอะไรบ้าง พ่อแม่จะรู้ได้ไงว่าลูกป่วย

5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแพ้อาหารของทารก

ลูกเป็นแผลในปาก ร้อนใน แม่จะรู้ได้ไงว่าลูกเป็นแค่ร้อนใน หรือป่วยร้ายแรงกว่านั้น

ทารกน้อยหายใจเสียงดัง มีน้ำมูก จากภาวะ nasal snuffles ลูกป่วยหนักหรือเปล่า


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว