อาการปวดหัว เรื่องใกล้ตัวที่ คุณแม่ท้องต้องเพิ่มความระมัดระวัง

อาการปวดหัว เป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่คุณแม่ท้อง จะต้องประสบ บางคนอาจเริ่มปวดหัว ตั้งแต่ไตรมาสแรก ไปจนคลอดแล้ว ก็ยังมีอาการปวดหัวอยู่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการปวดหัว เป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่คุณแม่ท้อง จะต้องประสบ บางคนอาจเริ่มปวดหัว ตั้งแต่ไตรมาสแรก ไปจนคลอดแล้ว ก็ยังมีอาการปวดหัวอยู่ และไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลง ซึ่งการปวดหัวของคนท้อง จะมีหลายสาเหตุด้วยกัน เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าทำไมคนท้องจึงมักมี อาหารปวดหัว

 

การปวดหัวในไตรมาสที่ 1

อาการปวดหัวในช่วงไตรมาสแรก ยังไม่มีสาเหตุเป็นที่ชัดเจน ซึ่งคุณแม่ท้อง อาจปวดหัว จากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ หรืออาจมาจากปริมาณเลือดในร่างกาย ที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะตั้งครรภ์ รวมไปถึงอาการแพ้ท้อง ความหิว การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออาจเป็นเพราะ คุณแม่ท้องบางคน เลิกดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ในทันทีทันใด ทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมาได้ค่ะ ซึ่งอาการปวดหัวของคุณแม่ มักจะมักทุเลาลงในช่วงไตรมาสที่ 2 เมื่อระดับฮอร์โมนเริ่มคงที่ และร่างกายเริ่มปรับตัวได้แล้ว

 

การปวดหัวในไตรมาสที่ 2 และ 3

การปวดหัว ของคุณแม่ท้องในสองไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ความตึงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เนื่องจากจากการแบกรับน้ำหนักครรภ์ ที่เพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่คุณแม่ท้องต้องระวังเป็นอย่างมาก คือ การปวดหัวในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นสัญญาญอันตราย ของการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง หรือภาวะครรภ์เป็นพิษได้ เมื่อคุณแม่มีอาการปวดหัวในไตรมาสที่ 3 จึงควรเฝ้าระวังอาการ และไปพบคุณหมอทันที หากอาการปวดรุนแรงผิดปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการปวดหัวในช่วงตั้งครรภ์ มี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

  1. อาการปวดหัวในระหว่างตั้งครรภ์ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เช่น ปวดหัวจากความตึงเครียด ไมเกรน จากความร้อน จากมลพิษ หรือจากการแพ้ท้อง ซึ่งการปวดหัวเหล่านี้ ไม่ใช่สัญญาณของภาวะแทรกซ้อน ในการตั้งครรภ์ค่ะ ส่วนใหญ่แล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์มักปวดหัวจากภาวะตึงเครียด และกังวล คุณแม่ควรทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งของคุณแม่ และลูกน้อย แต่หากคุณแม่มีอาการปวดหัว จากไมเกรนเรื้อรัง ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อให้คุณหมอดูแลได้อย่างถูกต้องค่ะ
  2. อาการปวดหัวที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง โดยคุณแม่ท้องแต่ละท่านจะมีอาการปวดหัวที่แตกต่างกันไป คุณแม่บางคนอาจปวดหัวแบบทื่อๆ มึนๆ หนักหัว หรือบางคนอาจมีอาการปวดแบบเป็นจังหวะ หรือบางคนอาจมีอาการปวดอย่างรุนแรงข้างใดข้างหนึ่งหรืออาจทั้งสองข้าง รวมไปถึงปวดหลังหรือดวงตาทั้งสองข้าง คลื่นไส้ อาเจียน และเห็นเส้นหรือกะพริบของแสงในดวงตา ซึ่งเมื่อคุณแม่มีอาการแบบนี้เพียงแค่อย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งหมด ต้องรีบแจ้งให้คุณหมอทราบทันทีค่ะ

 

ส่วนใหญ่ อาการปวดหัวในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ของการตั้งครรภ์ มักเป็นสัญญาณว่า คุณแม่ อาจมีความดันโลหิตสูง ซึ่งสภาวะนี้ สามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง และอันตราย ต่อทั้งตัวคุณแม่ และลูกน้อย ในครรภ์ได้ โดยการปวดหัวจากสาเหตุนี้ มักพบบ่อย หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งหากคุณแม่ มีภาวะความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงอย่างมาก ต่อความดันโลหิตที่สูง และการไหลของออกซิเจนที่ต่ำ ไปยังลูกน้อยในครรภ์ เสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และน้ำหนักแรกเกิดของทารกต่ำกว่าเกณฑ์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษาอาการปวดหัว เนื่องจากความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์

  1. คุณแม่ควรลดเกลือ และเพิ่มไฟเบอร์ในอาหาร ในแต่ละมื้อ
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยปรับสมดุล ของความดันโลหิต
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ลดความกังวลต่าง ๆ ทำใจให้สบาย

 

การป้องกันไม่ให้มีอาการปวดหัว ของคุณแม่ท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าอาการปวดหัวในคุณแม่ท้อง จะเป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องประสบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่สามารถป้องกันการปวดหัว ไม่ให้เริ่มเกิดขึ้นได้เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะภาวะปวดหัวไมเกรน ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณแม่ไม่มีความสุขแล้ว ลูกน้อยในครรภ์ ก็จะได้รับผลจากความทุกข์ ของการปวดหัวของคุณแม่ด้วยนะคะ

  1. คุณแม่ควรรับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน
  2. คุณแม่ควรออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  3. คุณแม่ควรนอนหลับ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  4. คุณแม่ควรลดการทำงานต่าง ๆ ลง และให้ความใส่ใจ กับลูกน้อยในครรภ์มากขึ้น
  5. คุณแม่ควรดื่มน้ำวันละมาก ๆ 

ทั้งนี้ หากคุณแม่มีอาการปวดหัว ไม่แนะนำให้ รับประทานยาเองนะคะ คุณแม่ควรพยายามนอนหลับพักผ่อน ให้มากขึ้น หรือประคบผ้าอุ่นบนดวงตา และจมูก หรือวางประคบผ้าเย็น ที่ด้านหลังคอ และใช้วิธีนวดคอ และไหล่ เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อลงค่ะ แต่หากยังไม่ดีขึ้น และยังรุนแรงเพิ่มขึ้น ควรรีบปรึกษาคุณหมอ ที่ดูแลครรภ์ทันทีนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารต้องห้ามสำหรับแม่ท้อง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 6

คนท้องต้องฉีดอะไรบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 5 สมุดวัคซีนแม่ท้อง

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 60 ปัจจัยสำคัญของพัฒนาการลูกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

@GIM