อาการซึมเศร้าหลังคลอด อาการผิดปกติหลังคลอดที่อาจเกิดกับใครก็ได้

จริงอยู่ที่มันเป็นเรื่องปกติ ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของคุณแม่หลังคลอด แต่อาการบางอย่างก็ต้องใส่ใจเป็นพิเศษและเข้าพบแพทย์โดยทันที มาดูกันว่าอาการผิดปกติหลังคลอดแบบไหนบ้างที่เราควรจะต้องใส่ใจและเข้าพบแพทย์โดยทันที 

อาการซึมเศร้าหลังคลอด อาการผิดปกติหลังคลอด อาการเป็นอย่างไร แม้แต่แม่ชมพู่ก็ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

แม่ชมพู่เผชิญภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

เป็นแม่คนแล้ว แต่หุ่นยังเช้งไม่เปลี่ยนไปเลย สำหรับคุณแม่ลูกแฝด ชมพู่ อารยา ที่มาอวดหุ่นแซ่บขึ้นปกนิตยสารแพรว ในลุคสุดเปรี้ยว สวมวิกผมสั้นสุดชิค ถ่ายแฟชั่นเก๋ ๆ

นอกจากจะมีเซ็ตแฟชั่นสวย ๆ ให้ได้ดูกันแล้ว นิตยสารแพรวปกแม่ชม (นิตยสารแพรว ธ.ค. 61) ยังมีบทสัมภาษณ์พิเศษ ที่เจ้าตัวเปิดเผยเรื่องที่ใครหลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่า คุณแม่ชมพู่คนเก่ง ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะที่แม่หลังคลอดหลายคนเคยผ่านกันมาแล้ว

“หมอเตือนเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดว่า ชมอาจต้องเผชิญ แต่ชมมั่นใจตัวเองไปหน่อยว่า ร่างกายฉันฟิต จิตใจแข็งแรง ไม่น่าเจอปัญหานี้ แต่สุดท้ายเจอจริง ๆ บางวันชมร้องไห้เหมือนคนบ้า ทั้งโมโหและอะไรหลายอย่าง นอนน้ำตาไหลอยู่คนเดียว พร้อมตั้งคำถามว่า เราเป็นอะไรเนี่ย”

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues)

Baby Blues เป็นปรากฏการณ์ปกติหลังคลอดบุตร ซึ่งพบได้บ่อยถึง 50 – 85 เปอร์เซ็นต์ อาการมักเริ่มเกิดในช่วงหลังคลอดไม่กี่วัน โดยมีอาการมากที่สุดประมาณวันที่ 4 – 5 และมักหายภายในวันที่ 10 ในบางรายอาจมีอาการอยู่นานถึง 2 สัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญถือว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นหลังคลอด บวกกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของแม่ รวมไปถึงการอดนอนของแม่มือใหม่ด้วย

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่บางคนอาจต้องเผชิญหลังคลอดบุตร โดยอาจมีอาการซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูกหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หากมีอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม และหากมีอาการรุนแรงอย่างหลอน มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือลูกน้อย หรือแม้แต่คิดฆ่าตัวตาย คนรอบข้างควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที

คุณแม่อาจพบว่าอยู่ดี ๆ ตัวเองก็ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ อารมณ์ขึ้นลง และจะหายไปเอง ในขณะที่โรคซึมเศร้าหลังคลอด และความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ นั้นเป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษา

โรคซึมเศร้าหลังคลอด ไม่เหมือนกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues)

1. โรคซึมเศร้าหลังคลอด รวมถึงความวิตกกังวล และความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ ด้วย

โรคซึมเศร้าหลังคลอด เป็นความผิดปกติทางอารมณ์หลังคลอด แบ่งเป็น 4 ชนิด

  • ซึมเศร้า
  • วิตกกังวลแบบซึมเศร้าและวิตกกังลแบบไม่ซึมเศร้า
  • ตื่นตระหนก
  • ย้ำคิดย้ำทำ

ขอบเขตของโรคซึมเศร้าหลังคลอดนี้กว้างกว่าที่คิด แม่บางคนมีความวิตกกังวลมากโดยที่ไม่มีอาการซึมเศร้า แต่คุณอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญอยู่กับโรคซึมเศร้าหลังคลอดในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

2. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงบางคนเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด

แม่ที่มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย หรือแม่เคยมีประวัติความผิดปกติทางอารมณ์มาก่อนมีแนวโน้มที่จะเป็นกับโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ แต่ตามข้อมูลของสมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน ระบุว่า ครึ่งหนึ่งของแม่หลังคลอดที่ได้รับการวินิจฉัย เพิ่งเกิดอาการเช่นนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต

ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อาทิ แม่ที่เคยสูญเสียลูก หรือ มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาสุขภาพ ทารกคลอดก่อนกำหนดและต้องอยู่ใน NICU รวมถึงแม่ที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะมีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นอีกปัจจัยสำคัญ เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ และลดต่ำลงอย่างมากในช่วง 2 – 3 วันหลังคลอด จึงส่งผลต่ออารมณ์ของแม่หลังคลอด

3. การอดนอนส่งผลต่อโรคซึมเศร้าหลังคลอด

การนอนของแม่หลังคลอดจะเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากคุณต้องตื่นมาให้นมลูกน้อยทุก 2 ชั่วโมงถ้าคุณแม่ได้นอนยาว 5 – 6 ชั่วโมงและมีช่วงที่งีบหลับได้ คุณจะรู้สึกดีขึ้นใน 1 – 3 สัปดาห์ นั่นหมายความว่า คุณแม่ควรมีผู้ช่วยที่สามารถป้อนนมจากขวดบ้าง เพื่อที่คุณแม่จะได้พักผ่อนในช่วงกลางคืน และในขณะที่ลูกนอนหลับ คุณแม่ควรฉวยโอกาสนี้นอนไปพร้อมกับลูกด้วยเลย อย่างไรก็ดี แม่บางคนอาจต้องใช้ยา เพื่อช่วยให้สามารถนอนหลับได้ดีขึ้น

ขอบเขตของโรคซึมเศร้าหลังคลอดนี้กว้างกว่าที่คิด แม่บางคนมีความวิตกกังวลมากโดยที่ไม่มีอาการซึมเศร้า แต่คุณอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญอยู่กับโรคซึมเศร้าหลังคลอดในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

อาการซึมเศร้าหลังคลอด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมักเกิดขึ้นในช่วงปีแรกหลังจากคลอดบุตร โดยอาการที่มักพบได้ มีดังนี้

  • รู้สึกเศร้า เสียใจ หมดหวัง
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โกรธง่าย หรืออยู่ไม่สุข
  • วิตกกังวลมากผิดปกติ
  • มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนหลับมากผิดปกติ นอนไม่หลับ เป็นต้น
  • ร้องไห้มากกว่าปกติ หรือร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผล
  • มีปัญหาเรื่องสมาธิ การจดจำรายละเอียด หรือการตัดสินใจ
  • หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบหรืองานอดิเรก
  • รับประทานอาหารน้อยลง หรือรับประทานมากขึ้นอย่างผิดปกติ
  • มีปัญหาสุขภาพโดยไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน เช่น ปวดศีรษะบ่อย ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เป็นต้น
  • เก็บตัว หรือหลีกเลี่ยงการพบเจอเพื่อนและคนในครอบครัว
  • มีปัญหาในการสร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูก
  • กังวลไปว่าตนเองไม่มีความสามารถในการดูแลลูกอยู่บ่อย ๆ
  • มีความคิดทำร้ายร่างกายตัวเองหรือลูกน้อย

คุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดควรไปพบแพทย์หากอาการข้างต้นไม่หายไปภายใน 2 สัปดาห์ มีอาการรุนแรงขึ้น หรืออาการเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อการดูแลลูกน้อยและการใช้ชีวิตประจำวัน และควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุดหากคุณแม่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองและเด็ก โดยคนใกล้ชิดควรช่วยดูแลเด็กชั่วคราว เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายต่อตัวแม่และเด็กได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงบางคนเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาการผิดปกติหลังคลอด

แม่ที่มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย หรือแม่เคยมีประวัติความผิดปกติทางอารมณ์มาก่อนมีแนวโน้มที่จะเป็นกับโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ แต่ตามข้อมูลของสมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน ระบุว่า ครึ่งหนึ่งของแม่หลังคลอดที่ได้รับการวินิจฉัยเพิ่งเกิดอาการเช่นนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต

ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อาทิ แม่ที่เคยสูญเสียลูก หรือ มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาสุขภาพ ทารกคลอดก่อนกำหนดและต้องอยู่ใน NICU รวมถึง แม่ที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะมีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นอีกปัจจัยสำคัญ เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอรโรนและเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ และลดต่ำลงอย่างมากในช่วง 2 – 3 วันหลังคลอด จึงส่งผลต่ออารมณ์ของแม่หลังคลอด

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นสิ่งที่แม่หลังคลอด หลาย ๆ คน ต้องเผชิญ แม่ต้องคอยสังเกตตัวเองให้ดี ถ้ารู้สึกว่า ร้องไห้บ่อย เครียด หงุดหงิด ให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดว่าเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือไม่

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้ในระยะยาว และอาจส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวได้ โดยเฉพาะตัวผู้ป่วยเอง เช่น ทำให้คุณแม่กลายเป็นโรคซึมเศร้า และส่งผลต่อความสามารถในการเลี้ยงดูทารกจนทำให้ทำหน้าที่แม่ได้อย่างไม่เต็มความสามารถ เป็นต้น และแม้จะรับการรักษาแล้วก็ยังมีความเสี่ยงที่คุณแม่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ในภายหลังเช่นกัน

ส่วนผลกระทบต่อลูก ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจทำให้ทารกมีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น นอนหลับยาก ไม่ยอมกินนมหรืออาหาร ร้องไห้มากผิดปกติ เป็นโรคสมาธิสั้น หรือมีปัญหาพัฒนาการทางภาษา เป็นต้น

นอกจากนี้ คุณพ่อของเด็กก็อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในครอบครัวไปด้วย ซึ่งทำให้เสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าสูงขึ้น เพราะจากเดิมคุณพ่อมือใหม่ก็เสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้อยู่แล้วแม้ภรรยาจะไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดก็ตาม

อาการผิดปกติหลังคลอดที่คุณแม่ต้องรีบไปพบหมอทันที

1. แม่หลังคลอด​ปวดท้องรุนแรง

มีอาการปวดท้องมาก ปวดท้องจนตัวบิด และไม่ได้เป็นผลมาจากอาหารการกินแต่อย่างใด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติโดยด่วน เพราะอาการปวดท้องอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ

2. แม่หลังคลอดมีเลือดออกจากช่องคลอด

เมื่อมีเลือดออกมาจากช่องคลอดจนชุ่มผ้าอนามัย 1 แผ่น ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง และเลือดที่ออกมานั้นมีลักษณะเป็นก้อนๆ โดยมั่นใจว่าไม่ใช่ประจำเดือน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติ

3. แม่หลังคลอดแสบขัดหรือเจ็บเวลาขับถ่าย

เวลาถ่ายปัสสาวะมักมีอาการแสบขัด หรือมีอาการเจ็บร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติ

4. แม่หลังคลอดเต้านมผิดปกติ

มีอาการปวดเต้านม เต้านมบวมแดง มีก้อนแข็ง ๆ ที่เต้านม ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการเต้านมอักเสบ หรืออาจเป็นก้อนมะเร็งร้ายก็ได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติ

5. แม่หลังคลอดแผลฝีเย็บอักเสบ

เมื่อแผลฝีเย็บมีหนอง หรือมีเลือดไหลออกมา และเกิดการบวมแดงจนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนปวดถ่วงไปถึงทวารหนัก แบบนี้ก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

6. แม่หลังคลอดปวดหัวและมีไข้สูง

คุณแม่มีอาการปวดศีรษะมาก หนาวสั่น และมีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส แม้จะกินยาลดไข้แล้วก็ยังไม่ดีขึ้น นั่นคืออาการของการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติ

7. แม่หลังคลอดน้ำคาวปลามีสีแดงผิดปกติ

หลังจากคลอดมาได้ 15 วัน หากน้ำคาวปลาก็มีสีแดงตลอด อาจจะเกิดจากการที่มีเศษรกเหลือค้างอยู่ หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะมีการอักเสบติดเชื้อของโพรงมดลูก ควรที่จะไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากน้ำคาวปลาที่ออกมาในช่วงหลังคลอด 3 – 4 วันจะเป็นเลือดสดๆ แต่ผ่านไปประมาณ 10 – 14 วันจะเป็นน้ำปนเลือด สีจะออกน้ำตาลดำ จากนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นน้ำสีขาวออกเหลืองจนกระทั่งหมดไปภายในระยะเวลาประมาณ 4 สัปดาห์

ที่มาจาก : www.pobpad.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 สัญญาณเตือนใกล้คลอด..คุณแม่เตรียมตัวยัง

ภาพหาดูยาก!! ทารกแรกคลอดในถุงน้ำคร่ำ

คุณหมอบอกมา 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!