อันตรายถึงชีวิต!! ถ้าลูกสำลักนมแม่

คุณแม่มือใหม่ เกือบสูญเสียลูกชาย หลังสำลักนมแม่ ... พร้อมวิธีป้องกันการสำลักนมแม่ที่คุณแม่ทุกคนควรทราบ!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำลักนมแม่ อันตราย

วิคตอเรีย ดอว์สัน คุณแม่มือใหม่วัย 30  ปี เกือบต้องสูญเสีย เอ็ดดี้ ลูกชายวัย 4 สัปดาห์ หลัง สำลักนมแม่ ! แต่ดีที่ วิคตอเรียเป็นนางพยาบาล จึงสามารถช่วยลูกชายไว้ได้ทัน!

เธอเล่าว่า "หลังจากที่พวกเรากลับมาอยู่บ้าน ทุกอย่างก็เหมือนจะผ่านไปได้ด้วยดี เอ็ดดี้ดูดนมแม่เก่งมาก ๆ และจู่ ๆ ในขณะที่เธอกำลังอุ้มเอ็ดดี้อยู่ในอกเพื่อกินนมแม่นั้น เอ็ดดี้ก็ไอเพราะสำลักน้ำนม ไม่กี่วินาทีต่อมาร่างเล็ก ๆ ของเอ็ดดี้ก็อ่อนปวกเปียก ร่างกายเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทา ใช่!! เขาหยุดหายใจ!!!

วิคตอเรีย รีบตะโกนเรียกตะโกนขอความช่วยเหลือจาก อเล็กซ์ ผู้เป็นสามี จากน้ำเสียงของเธอ ทำให้สามีรู้ทันทีว่าต้องเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นแน่ ๆ อเล็กซ์ รีบวิ่งมาแล้วโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากรถพยาบาลฉุกเฉินโดยทันที

แต่ด้วยสัญชาตญาณของนางพยาบาล เธอจึงรีบทำ CPR ให้กับเอ็ดดี้ทันที "วินาทีนั้นยาวนานมาก ฉันรู้แต่ว่าความเป็นกับความตายนั้นห่างกันเพียงนิดเดียว และไม่นานเอ็ดดี้ก็เริ่มกลับมาหายใจได้อีกครั้งนึง พวกเราจึงรีบให้ออกซิเจนแก่เขา และนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที ฉันไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ฉันจะมีโอกาสได้ทำ CPR ให้กับลูกชายของตัวเอง โชคดีที่ตอนนั้นฉันมีสติ ไม่อย่างนั้น ฉันอาจจะต้องสูญเสียเขาไปแล้ว " วิคตอเรียกล่าว

คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สำลักนมแม่ ที่หน้าถัดไปค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจัยสี่ยงที่ทำให้เกิดการสำลักนม

1. จากตัวเด็กเอง

เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเรื่องของโรคหัวใจหรือโรคปอดนั้น จะส่งผลให้เด็กต้องหายใจเร็วขึ้น จึงมีโอกาสสำลักนมได้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป ทั้งนี้ รวมถึงเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า หรือมีประวัติการชักด้วย

2. ปัจจัยภายนอก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยกตัวอย่างเช่น วิธีการให้นม การให้ลูกดูดนมแม่นั้น โอกาสที่จะเกิดการสำลักนมนั้นอาจเกิดได้น้อยมาก เว้นแต่คุณแม่อุ้มลูกให้นมไม่ถูกวิธี หรือจากอีกสาเหตุหนึ่งนั่นก็คือ การให้ลูกดูดขวดนม เพราะต่อให้ลูกจะดูดหรือไม่ดูดก็แล้วแต่ น้ำนมก็ไหลออกมาอยู่ดี และค่อนข้างที่จะไหลเร็วกว่านมแม่เสียด้วย ทั้งนี้ รวมถึงลูกทานนมล้นกระเพาะ ก็เป็นสาเหตุของการสำลักนมด้วยเช่นกัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสำลักนมแม่

อาการ คือ ระหว่างที่เด็กกินนมนั้น แรก ๆ เด็กจะไอ และเหมือนจะขย้อนนมหรืออาหารออกมา หากสำลักไม่มาก ก็อาจไอเล็กน้อย 2-3 ครั้งแล้วก็หายไป แต่ถ้าหากเด็กไอแรงจนถึงขนาดหน้าเขียว หรือมีเสียงหายใจผิดปกติ ดังครืดคราด คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอโดยด่วน

บางครั้งการสำลักนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเกิดในขณะที่ลูกกินนมแต่เพียงอย่างเดียว ยังสามารถเกิดได้ในขณะที่เด็กนอนหลับด้วยเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิกเพื่ออ่านวิธีการป้องกันลูกสำลักนมแม่และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

 

วิธีการป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนมแม่

1. ควรให้ลูกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวก่อนในช่วง 6 เดือนแรก ที่สำคัญ ควรเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม คือเมื่ออายุ 4 - 6 เดือนไปแล้ว เพราะทักษะการดูดกลืนของลูกทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าช่วงแรกเกิด และสามารถชันคอตั้งตรงได้ดี โอกาสที่จะเกิดการสำลักก็มีน้อยลง
2. ไม่ควรนำของเล่นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย หรือของเล่นที่สามารถแตกหักออกได้ง่ายมาให้ลูกเล่น  เช่นกระพรวน กระดิ่ง เหรียญ และลูกปัด เป็นต้น
3. เลือกประเภทอาหารที่เหมาะกับวัย เช่น โดยทั่วไปเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่แนะนำให้กินถั่วเม็ดเล็ก ข้าวโพด เม็ดทานตะวัน เพราะมีโอกาสที่เด็กจะเกิดการสำลักมีได้ง่าย แต่หากจะนำมาปรุงให้กับเด็กเล็กๆ ก็ควรบดหรือตัดให้ขนาดเล็กพอควร
4. จับลูกเรอทุกครั้งหลังที่กินนมเสร็จ

สำลักนมแม่

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น
หากลูกสำลักนม ให้จับ เด็กนอนตะแคง ให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นมหรืออาหารที่อาจมีอยู่ในปาก ไหลย้อนกลับไปที่ปอด ที่สำคัญ ไม่ควรจับเด็กอุ้มขึ้นทันทีเมื่อเกิดอาการสำลัก
สำลักสิ่งแปลกปลอม เช่น ถั่ว, เมล็ดผลไม้, ลูกอมเม็ดเล็ก, ของเล่นชิ้นเล็กๆ
- วิธีตบหลัง โดยจับเด็กนอนคว่ำ ให้ศีรษะต่ำลงบนแขน แล้วใช้ฝ่ามือตบกลางหลังบริเวณกระดูก ติดต่อกัน 5 ครั้ง และสังเกตสิ่งแปลกปลอมในปากเด็ก ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอม ให้เอาออก ถ้าไม่เห็นให้ทำขั้นตอนต่อไป
- วิธีกระแทกหน้าอก โดยจับเด็กพลิกหงายขึ้นบนตัก ในท่าศีรษะต่ำ ใช้นิ้วมือ 2 นิ้วกระแทกแรงๆ ลงบนกระดูกหน้าอก เหนือลิ้นปี่ 5 ครั้ง แล้วสังเกตสิ่งแปลกปลอมในปากเด็ก ตบหลังและกระแทกหน้าอกครบทั้ง 5 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะเห็นสิ่งแปลกปลอม
สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือ เด็ก ที่สำลักวัตถุของแข็งคือ ไม่ควรรีบใช้มือหยิบจับ หรือดึงของออกมาจากปากเด็ก เพราะนิ้วมืออาจไปกดทับสิ่งของที่อยู่ด้านใน และทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นบวมขึ้นและบางครั้งอาจดันทำให้สิ่งแปลกปลอม

ที่มา: https://ph.theasianparent.com , The Sun และ Natur

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

สำลักนมในเด็กเล็กอันตรายที่คาดไม่ถึง

หยุดกังวล...ลิ้นเป็นฝ้าขาวในเด็กเล็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth