โรค APS คนท้อง โรคลิ่มเลือดอุดตัน แม่ท้องเสี่ยงแท้งลูกได้จากอาการขาบวม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงตั้งครรภ์ การดูแลรักษาตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหมายถึงสุขภาพของเจ้าตัวน้อยจะได้แข็งแรงตามไปด้วย แต่ถ้าคุณแม่เกิดเป็นโรค APS ขึ้นมาจะเป็นอย่างไร โรค APS คนท้อง มีอาการอย่างไร สามารถรักษาได้หรือไม่ ติดตามอ่านได้จากบทความนี้

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | ตุลาคม 2565

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรค APS คนท้อง เสี่ยงแท้งลูกได้

โรค APS สามารถพบได้ทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ ทำให้การตั้งครรภ์ผิดปกติ การเจริญของทารกในครรภ์ต่ำกว่าปกติ การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ โดยที่ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการแท้งโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดได้ อีกทั้งยังพบข้อมูลว่า อัตราการสูญเสียทารกในแม่ที่ไม่ได้รับการรักษาสูงถึง 90% มาทำความรู้กับกับโรค APS กันครับ

 

ผลที่เกิดขึ้นหากคนท้องเป็นโรค APS

โรค APS หรือ Antiphospholipid  Antibody Syndrome (โรคลิ่มเลือดอุดตัน) เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ซึ่งอาจเป็นที่เส้นเลือดแดงหรือเส้นเลือดดำก็ได้ ถ้าพบโรคนี้ในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการแท้งลูก ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย ๆ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้

 

สาเหตุการเกิด APS

สาเหตุของการเกิด APS ยังไม่ทราบแน่ชัด  สามารถพบโรคนี้ได้ 2-4 % ของคนทั่วไป แต่สันนิษฐานกันว่าอาจเป็นผลของ Antiphospholipid Antibody ต่อเยื่อบุชั้นในของเกร็ดเลือด หรือส่วนประกอบการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดความผิดปกติของผนังด้านในของหลอดเลือด โดยมีภูมิคุ้มกันในร่างกายมาเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน ความผิดปกตินี้มักเกิดตามหลังจากมีการติดเชื้อภายในร่างกาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการโรค APS หรือ Antiphospholipid  Antibody Syndrome

  1. มีอาการขาบวมมากกว่าปกติ อาจจะบวมข้างเดียว หรือบวมทั้งสองข้างก็ได้ ซึ่งอาการบวมนี้แสดงว่าอาจมีการอุดตันเกิดขึ้น
  2. มีอาการปวดขามาก เดินไม่ไหว คือ ปกติแม่ท้องจะมีอาการขาบวมอยู่แล้ว แต่จะไม่ปวด
  3. กดแล้วปวด เมื่อเอามือกดบริเวณตำแหน่งที่บวมแดง จะรู้สึกปวดมาก

การมีลิ่มเลือดก็เหมือนเส้นเลือดมีก้อนเล็ก ๆ มาขวาง หากลิ่มเลือดก้อนนี้หลุดออกไปอุดเส้นเลือดใหญ่ภายในร่างกาย เช่น ไปอุดหลอดเลือดที่ปอด พบได้ประมาณร้อยละ 15-25 เมื่อไปอุดแล้วจะทำให้ปอดเกิดภาวะขาดออกซิเจน และมีโอกาสเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ประมาณร้อยละ 12-15

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตรวจวินิจฉัย โรค APS และ โรคลิ่มเลือดอุดตัน ในคนท้อง

การวินิจฉัยโรค APS นั้นจะใช้ทั้งประวัติการตั้งครรภ์ของผู้ป่วย และ การตรวจเลือด มาประกอบกัน โดยผลเลือดจะพบว่ามี Antiphospholipid Antibody และอาจมีเกล็ดเลือดต่ำ สำหรับขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยอาการลิ่มเลือดอุดตันนั้นสำคัญมาก ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และไม่เป็นอันตรายกับแม่ท้อง คือ การทำดอปเลอร์  อัลตร้าซาวนด์ เป็นการตรวจการไหลเวียนเลือดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้เห็นการไหลเวียนของเลือดว่าไหลช้าหรือไม่  มีการอุดตันหรือไม่ ซึ่งมีความไวในการวินิจฉัย 95% และมีความแม่นยำถึง 99% เมื่อตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่า มีแนวโน้มของโรค สิ่งที่จะต้องทำต่อไป คือ หาสาเหตุของการเกิดโรคด้วยเสมอเพื่อรักษาที่ต้นเหตุ

 

การรักษา APS

เมื่อคุณแม่เกิดเป็นโรคนี้ขณะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น วิธีการรักษาคือ การให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งยาละลายลิ่มเลือดมีทั้งยาฉีด และยากิน

  • ยาฉีด ข้อควรระวังคือ ต้องอยู่ในความควบคุม และการดูแลของแพทย์ ห้ามฉีดเอง แต่ก็มีข้อดี คือ ยาฉีดเป็นยาที่ไม่ผ่านน้ำนม และไม่ผ่านรก เพราะฉะนั้นไม่มีผลกับลูก มีความปลอดภัย
  • ยากิน ต้องระมัดระวัง เพราะตัวยาจะผ่านน้ำนม และผ่านรก ซึ่งระหว่างตั้งครรภ์จะไม่ให้กินในช่วง 3 เดือนแรก เพราะยาละลายลิ่มเลือดบางชนิด ถ้ายังกินในขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลให้ลูกพิการได้

 

เมื่อทราบข้อมูลเช่นนี้แล้ว  สำหรับคุณแม่ที่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้มาแล้วในท้องที่แล้ว  หรือมีประวัติเป็นลิ่มเลือดอุดตันที่ขามาก่อน หรือมีประวัติอุดตันที่ปอด  ถ้าเริ่มตั้งครรภ์ ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีนะครับ เพื่อป้องกันไว้ก่อนครับ

 

แม่ ๆ คนไหนยังมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพบ #ทีมหมอGDTT ได้ฟรี ที่ Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน เพียงกดรับสิทธิ์ผ่าน Reward ในแอปพลิเคชัน theAsianparent หรือสามารถกดลิงค์นี้ได้เลยครับ https://bit.ly/3SjhvJW

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำความรู้จักโรคที่อาจเกิดได้ทุกเมื่อ โรคจิ๋มล็อก เกิดจากอะไร ต้องทำยังไงถ้าอยู่ ๆ จิ๋มล็อก

โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก