เมื่อคุณแม่วัยรุ่นที่มีอายุเพียง 16 – 17 ปี กลัวว่าลูกที่อยู่ในครรภ์จะตัวใหญ่เกินไป พวกเขาจึงเลือกวิธีการลดขนาดของทารกในครรภ์ด้วยการสูบบุหรี่
เมื่อรองศาสตราจารย์ ซิโมน เดนนิส ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวหลังจากที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของคุณแม่วัยรุ่นว่า “ฉันถึงกับอึ้ง เมื่อผลจากการศึกษาพบว่า บรรดาคุณแม่วัยรุ่นที่มีอายุราว 16-17 ปี มีค่านิยมในการตั้งครรภ์กันแปลก ๆ สืบเนื่องจากพวกเขายังเป็นเด็ก อายุน้อยและมีร่างกายที่เล็ก ก็เลยกลัวว่า เด็กที่อยู่ในครรภ์นั้นจะมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะรับไหว และเพื่อควบคุมให้ทารกมีขนาดเล็ก วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การสูบบุหรี่นั่นเอง ซึ่ง 18 เปอร์เซ็นของคุณแม่ที่สูบบุหรี่นั้นลูกในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวเบาถึง 200 กรัม”
แม่ท้องสูบบุหรี่
คงไม่ใช่เรื่องดีนักที่แม่ท้องสูบบุหรี่ เพราะแม่ท้องเพียงแค่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ฝุ่น ควัน กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำลายสุขภาพแม่และทารกในครรภ์ทั้งสิ้น ปัจจุบันพบว่า มีแม่ท้องจำนวนไม่น้อยที่ยังสูบบุหรี่ซึ่งผลร้ายจากการสูบบุหรี่นั้น จากรายงานการศึกษาพบว่า แม่ท้องที่สูบบุหรี่ ทารกที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติและยังทำให้ทารกแรกคลอดมีโอกาสเจ็บ ป่วยได้ง่าย สมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แห่งอเมริกา มีผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 13 ของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงที่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ระหว่างที่ตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุทำให้แท้งบุตร ภาวะรกเกาะต่ำ ทารกน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน ฯลฯ นอกจากนี้ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะมีแน้วโน้มที่จะหมดประจำเดือนเร็วกว่า ผู้หญิงทั่วไปถึง 4 ปี
แม่ท้องสูบบุหรี่ส่งผลอย่างไรต่อลูกในครรภ์คลิกอ่านได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
บุหรี่มหันตภัยร้ายต่อลูกในครรภ์
บุหรี่และควันบุหรี่เป็นอันตรายร้ายแรงทั้งต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์ มีรายงานวิจัยพบว่า ถ้าแม่ท้องสูบบุหรี่หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่จะมีผลต่อทารกใน ครรภ์ กล่าวคือ สารเคมีในบุหรี่จะทำลายโครโมโซมของทารก ทำให้ทารกตายแรกคลอดหรือทำให้ทารกเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ มีน้ำหนัก ส่วนสูง รอบอกและรอบศีรษะต่ำกว่าเกณฑ์ ระบบประสาท ระบบการหายใจและหลอดเลือด ซึ่งประเมินภายหลังแรกคลอด พบว่า มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ภายหลังคลอดทันทีและมีแนวโน้มจะเป็นโรคหอบหืดเมื่อโตขึ้น มีอาการปวดท้อง โคลิก (colic) อาเจียน ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ กระสับกระส่าย นอนหลับพักผ่อนน้อย มีอาการเหมือนคนขาดยา มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะแต่กำเนิดและเมื่อโตขึ้นเด็กอาจเจ็บป่วย ด้วยโรคมะเร็งในระบบต่าง ๆ ภายหลังคลอดทารกยังได้รับสารเคมีผ่านทางน้ำนมแม่อีกถ้าหากแม่ยังไม่เลิกสูบ บุหรี่
มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Wisconsin – Milwaukee ได้ทำการศึกษาพบว่า 13 % ของแม่ที่สูบบุหรี่ตอนท้องมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ลูกเป็นโรคออทิสติกได้ โดยให้เหตุผลว่า เพราะทารกในครรภ์ต้องการออกซิเจน การที่แม่สูบบุหรี่ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่จะส่งผ่านไปยังลูกน้อยทางสายสะดือ นั้นลดลง มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กตลอดจนพัฒนาการต่าง ๆ ที่ถดถอย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและการแท้งด้วย
นอกจากนั้นการสูดดมควันบุหรี่จากคนในบ้าน โดยที่ทารกไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยตนเอง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้ทารกมีระดับสติปัญญาต่ำ เมื่อโตขึ้นจะมีบุคลิกไม่อยู่นิ่ง (Hyperactive) เป็นเด็กสมาธิสั้นมีพัฒนาการทางอารมณ์และพฤติกรรมการเรียนรู้ไม่เหมาะสมกับ วัย สำหรับทารกที่เป็นเพศหญิงนั้นเมื่อโตขึ้นอาจเกิดภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากท่อนำไข่ถูกสารเคมีจากบุหรี่ทำลาย ดังนั้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์และไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ควรแจ้งแพทย์เพื่อหาวิธีเลิก บุหรี่เพื่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
การอดบุหรี่ในแม่ท้องสามารถทำได้
ตามปกติแล้วผู้หญิงที่สูบบุหรี่ก่อนตั้งครรภ์ หากวางแผนจะตั้งครรภ์ควรเลิกบุหรี่อย่างน้อย 4 – 5 เดือน ก่อนที่จะตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้ปัญหาจากการสูบบุหรี่ที่มีต่อทารกในครรภ์ลดน้อยลงนอกจากนี้จาก การศึกษาพบว่า การอดบุหรี่เพียง 1 เดือนก่อนคลอด ก็สามารถช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างคลอดทารกได้ การอดบุหรี่บางคนเรียกว่า “การหักดิบ” สำหรับแม่ท้องคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะจะมีผลกระทบข้างเคียงตามมา คือ มีอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นต้น
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะเลิกบุหรี่ก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช ในการปฏิบัติตัวก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยในการอดบุหรี่ และลดอาการพิษจากนิโคตินในบุหรี่ คุณแม่ควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 – 10 แก้ว หรือดื่มน้ำผลไม้คั้นสด เช่น น้ำส้ม น้ำแครอท น้ำองุ่น เป็นต้น เลือกรับประทานผักผลไม้สด งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำ เล่นโยคะ เพื่อการมีสมาธิที่ดี กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่ลืมนึกถึงการสูบบุหรี่ได้
ที่มา: Dailytelegraph
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
แม่ยุคใหม่กับปัจจัยที่เสี่ยงต้อการคลอดลูกก่อนกำหนด
ไลฟ์สไตล์ของแม่ท้องที่เสี่ยงแท้ง