อย.คือ ? สำคัญอย่างไร และเราสามารถตรวจสอบได้อย่างไร

อย. คืออะไร ทำไมต้องให้ความสำคัญกับ อย. วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับอย. มาให้ทุกคนแล้ว จะสำคัญกับเราแค่ไหน ไปดูกันเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย.คือ อะไร สำคัญอย่างไร และเราสามารถตรวจสอบได้อย่างไร ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ อย. ว่าการที่เราจะหันมาใส่ใจ และตรวจสอบหมายเลข อย. ที่ระบุอยู่ข้างผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะสามารถบอกอะไรกับเราได้บ้าง และเราจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการตรวจสอบ

อย.คืออะไร สำคัญอย่างไร และเราสามารถตรวจสอบได้อย่างไร มักจะมีหลาย ๆ คน ต่างก็สงสัย บางคนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้ และตรวจดูเพียงแค่มีปรากฎเลข อย. อยู่ที่ตัวบรรจุภัณฑ์หรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงเลข อย. ที่ปรากฎนั้น อาจจะถูกขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง หรือไม่ถูกต้องก็เป็นไปได้

อย.คือ

 

อย. คืออะไร? เครื่องหมาย อย หมาย ถึง

อย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” (Food and Drug Administration) เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการดําเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้อง และคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง) โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐาน และปลอดภัย

มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้ และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย และมีประโยชน์ เครื่องหมาย อย. ที่อยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่าย ๆ นะคะ

อาหารที่จะได้รับ อย. นั้น ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง และอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร  และอุปกรณ์ในการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาลโรงงานการบำรุงรักษา และทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต นั่นคือ เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ และการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารนั้น จึงจะได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา กระทรวงสาธารณสุข

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ยาสามัญประจําบ้าน คนมีลูก ยาสามัญ สำหรับทารก ยารักษาอาการป่วยที่พบบ่อยในเด็ก

 

เครื่องหมาย อย. เชื่อได้มากน้อยแค่ไหน?

อย.คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การที่มีเครื่องหมาย อย. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้การผ่านเกณฑ์การตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยาเท่านั้น และสิ่งที่ผู้เขียนอยากให้ทราบเพิ่มเติมมีดังนี้

  • ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น ทาง อย. ไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งหมด เจ้าของสินค้าจะยื่นข้อมูลส่วนประกอบ จากนั้น อย. เพียงแค่พิจารณาปริมาณส่วนผสมว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
  • ส่วนประกอบที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ กับส่วนประกอบที่ยื่นกับ อย. อาจไม่ตรงกัน คือ จดอีกอย่าง ใส่จริงอีกอย่างอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอันนี้ผู้ผลิตคิดไม่ซื่อแน่นอน ผิดกฏหมายด้วย ถ้าพบเจอสามารถแจ้งทาง อย. ได้เลย
  • การแพ้ผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล อย. ไม่เกี่ยว ผู้บริโภคต้องพิจารณาจากส่วนผสมเอง
  • เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามฉลาก (โดยเฉพาะยา) และต้องพิจารณาการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ อย่าหลงเชื่ออะไรที่มันเวอร์ ๆ

สุดท้ายแล้ว ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะมีเครื่องหมาย อย. แล้วก็ตาม ผู้บริโภคเองยังต้องพิจารณาหลายปัจจัยเพิ่มด้วย ทั้งการแพ้, การโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ และการใช้งานให้ถูกวิธี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คนท้องดมยาดม อันตรายไหม

 

หาเลข อย. จากผลิตภัณฑ์ได้ที่ไหน?

เริ่มแรกอ่านฉลากของผลิตภัณฑ์ก่อนเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา เครื่องสำอางต้องระบุ สถานที่ผลิต วันที่ผลิต วันหมดอายุ ที่ชัดเจน ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะต้องมีฉลากไทยพร้อมเลขกำกับทุกชิ้น และมีสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผ่านการอนุญาต หรือจดแจ้งกับ อย. แล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

 

  • สัญลักษณ์สารบบอาหาร สัญลักษณ์ อย. ที่เราเห็นกันบ่อย ๆ แบบนี้จะมีในผลิตภัณฑ์อาหาร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะต้องมีตัวเลข 13 หลัก
  • สัญลักษณ์ทะเบียนยา พบในผลิตภัณฑ์ยา ทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาแผนไทย หรือยาแผนโบราณ จะมีเลขทะเบียนตำรับยาแสดงบนฉลากเสมอ โดยจะมีลักษณะเป็น “ทะเบียนยาเลขที่ G XXX/XX” ถ้าเห็นเป็นเลขที่จดแจ้ง หรือ อย. อาหาร ถือว่าร้านนั้นมั่วข้อมูลแล้วนะ เพราะยาจะต้องเป็นเลขทะเบียนยาเท่านั้นค่ะ
     
        – G คือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่บอกประเภทยา ถ้าเป็นยาแผนปัจจุบัน จะเป็นตัวอักษร A,B,C,D,E และ F ตัวใดตัวหนึ่ง ส่วนถ้าเป็นยาแผนโบราณจะเป็นตัวอักษร G,H,K,L,M และ N ตัวใดตัวหนึ่ง
        – XXX คือ ลำดับการอนุญาต
        – XX คือ ปี พ.ศ. ที่จดทะเบียน
  • สัญลักษณ์เลขที่ใบรับแจ้ง พบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีตัวเลข 10 หลัก หรือ 13 หลัก ลักษณะตัวเลขจะเป็นแบบนี้ค่ะ 10-X-XXXXXXX

 

ตรวจสอบเลข อย. หรือ เลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ได้ที่ไหน?

เราสามารถนำหมายเลขที่เราเห็นจากบนฉลากผลิตภัณฑ์มาตรวจสอบเลข อย. ได้ที่เว็บไซต์นี้ค่ะ ซึ่งเราสามารถใช้หมายเลขจากผลิตภัณฑ์ทุกตัว มาตรวจสอบได้ที่เว็ปไซต์เดียวกันได้เลยค่ะ

  • เว็ปไซต์ตรวจสอบหมายเลข อย. สำนักงานโครงการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข : www.fda.moph.go.th

 

วิธีตรวจสอบหมายเลข อย.

  • กรอกตัวเลขที่ช่องนี้ หรือจะใส่เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ก็ได้เช่นกัน สามารถตรวจได้ทุกประเภท ทั้งเลขสารบนอาหาร ทะเบียนยา เลขที่ใบรับแจ้งค่ะ

อย.คืออะไร สำคัญอย่างไร

 

  • กดค้นหา จะขึ้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ตรวจสอบ ส่วนที่ต้องดู คือชื่อผลิตภัณฑ์ว่าตรงกับชื่อบนฉลากหรือไม่ ถ้าไม่ตรงกันแสดงว่า มีการสวมเลข อย. ของสินค้าตัวอื่น หรือมั่วเลขมา ยกตัวอย่างเช่น อาหารเสริม A แต่เมื่อนำเลข อย. ไปค้นหาแล้วขึ้นเป็นชื่อผลิตภัณฑ์แบรนด์อื่น และสถานะต้องขึ้นว่า “คงอยู่” ในบางผลิตภัณฑ์สามารถกด ดูข้อมูล เพื่ออ่านข้อมูลของผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย. คืออะไร สำคัญอย่างไร

 

ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างมีสติ

  • แต่ถึงตรวจสอบ อย. และเลขที่ใบรับแจ้งแล้วก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์จะปลอดภัยซะทีเดียว เพราะ อย. เพียงแค่พิจารณาส่วนผสมต่าง ๆ ว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่ได้มีการวิเคราะห์ตรวจเนื้อครีม / เม็ดยาแต่อย่างใด ดังนั้นอาจจะมีการผสมสารอันตรายในภายหลังก็ได้
  • เพื่อความปลอดภัยของเรา ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายในสถานที่ที่น่าเชื่อถือ เช่น มีเคาท์เตอร์ตามห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ ดรักสโตร์ขนาดใหญ่ เป็นต้น
     
  • มีสติ พิจารณาโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ อย่าหลงเชื่อสรรพคุณที่เกินจริง เช่น เร่งขาวผิวใสใน 3 วัน หน้าใสใน 7 วัน ผอมเฉพาะส่วน ลดแขน ลดขา เป็นต้น สรรพคุณที่กล่าวมามักจะเป็นแอบอ้างสรรพคุณที่เกินจริง เพียงเพื่อ “อยากขายของได้เท่านั้น”
  • เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามที่ฉลากกำหนด (โดยเฉพาะยา) หากไม่แน่ใจควรปรึกษาเภสัชกร/พนักงานขายก่อนใช้
  • การแพ้ผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล ผู้บริโภคต้องพิจารณาจากส่วนผสมด้วยเช่นกัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ยา 10 ชนิดที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย มีอะไรบ้าง แม่ต้องระวัง

 

เหนือสิ่งอื่นใด นอกจากการตรวจสอบเลข อย. ว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้รับการตรวจสอบ และรับรองเบื้องต้นมาอย่างถูกต้องหรือไม่แล้วนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อย่างมี “สติ” จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้บริโภคเองนะคะ

 

ที่มา : check-oryor , cosmenet , asiafoodbeverage

บทความโดย

Arunsri Karnmana