ในการสมัครสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น สิ่งที่ผู้สมัครสอบ จะต้องเตรียมเพิ่มเติมคือ Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน ซึ่งการนำแฟ้มสะสมผลงาน ไปโชว์ให้คณะกรรมการดู จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้กรรมการสอบสัมภาษณ์ จะใช้เพื่อพิจารณาเราว่า เรามีคุณสมบัติพอหรือไม่ วันนี้ เรามีวิธีการเตรียมพอร์ตมาแนะนำให้น้อง ๆ นักเรียนค่ะ
Portfolio คืออะไร?
Portfolio หมายถึง ผลงาน แฟ้มสะสมผลงาน ความถนัดของบุคคล หรือหลักฐานที่แสดงว่าเคยเข้าร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ และประสบผลสำเร็จไปด้วยดี หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เราต้องการจะโลว์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรามีศักยภาพในการทำสิ่งนั้น ๆ ได้
องค์ประกอบสำคัญของ Portfolio
สำหรับองค์ประกอบหลักของการทำพอร์ต ต้องมีส่วนประกอบของแฟ้มสะสมผลงาน และควรคำนึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ต้องรู้ว่า ตัวเองจะเข้าคณะอะไร
ในแต่ละคณะ จะมีเกณฑ์การรับคนเข้าศึกษาที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นพอร์ตที่เราต้องเตรียมไป จะต้องให้เหมาะสม และเป็นไปในแนวทางที่เกี่ยวกับคณะที่เราอยากจะเข้าเรียน ดังนั้น หมายความว่า ในการทำพอร์ต ไม่ใช่การทำเพียงเล่มเดียว แต่ยื่นในทุก ๆ คณะ ควรเลือกผลงานที่เหมาะสมกับคณะนั้น ๆ ด้วย
2. อ่านเกณฑ์การตัดสินของคณะกรรมการ ให้ชัดเจน
บางคนทำพอร์ต โดยที่ไม่ได้อ่านหลักเกณฑ์การตัดสิน ซึ่งจะเป็นการเสียเวลาเปล่า หากคุณสมบัติของเรา ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การตัดสิน ที่ทางคณะกรรมการตั้งไว้ ถ้าเราไม่มีสิทธิ์ เราก็ควรไปหาคณะอื่น ที่เราสามารถเข้าได้จะดีกว่า
3. จะต้องทำพอร์ตแบบไหน
รูปแบบในรสการทำพอร์ต หลัก ๆ จะมีประมาณ 3 รูปแบบ คือ
- แฟ้มสะสมผลงานแบบ 10 หน้า
- แฟ้มสะสมผลงานแบบไม่จำกัดจำนวนหน้า
- แฟ้มสะสมผลงานที่ต้องทำตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยหรือคณะกำหนด
ก่อนทำ ควรเช็กให้ดีว่า ทางคณะ หรือมหาวิทยาลัยกำหนดรูปแบบในการทำพอร์ตมาหรือไม่ เพราะหากทำไปผิดรูปแบบ มีโอกาสที่จะโดนตัดสิทธิ์ได้ แต่หากไม่มีการกำหนดรูปแบบมา ควรเลือกแบบ 10 หน้า เพราะเป็นรูปแบบหลัก ที่คนส่วนใหญ่นิยมทำ
4. องค์ประกอบหลักที่ต้องมี
เนื้อหาใน Portfolio จะประกอบไปด้วย เนื้อหาต่าง ๆ ประมาณ 10 หน้า และ 10 หน้าที่ผู้สมัครสอบ จำเป็นต้องมีคือ
- หน้าแรก ประวัติส่วนตัว
- หน้าที่ 2 ประวัติการศึกษา
- หน้าที่ 3 เหตุผลการเลือกคณะ / มหาวิทยาลัย
- หน้า 4-7 เกียรติบัตร ผลงาน
- หน้า 8-10 กิจกรรมต่าง ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ม.ปลายควรรู้! ประวัติส่วนตัวมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรให้ Portfolio น่าสนใจ
วิธีเตรียมพอร์ตสำหรับสายงานเฉพาะทาง
สำหรับสายงานที่มีความเฉพาะทางมากขึ้น เรามีวิธีการเตรียมพอร์ตมาแนะนำเพิ่มเติมเพื่อทำ Portfolio ในการสมัครงาน
สายบริหาร บัญชี เศรษฐศาสตร์
ควรมีผลงานที่ใส่เพิ่มเติม มีดังนี้
- ภาวะผู้นำ : ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้นำ เพื่อทำให้กลุ่มที่ตนเอง ดูแลอยู่นั้น ประสบความสำเร็จ เช่น การไปเข้าค่ายผู้นำ เป็นฝ่ายดูแลจัดการกิจกรรมตอนกีฬาสี เคยได้รับหน้าที่เป็นเหรัญญิก หรือส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลจัดการสิ่งต่าง ๆ ก็สามารถนำมาใส่ได้
- เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการ : หรือกิจกรรมการแข่งขันเพื่อโชว์ทักษะทางวิชาการ เช่น การเข้าร่วมแข่งขันในโรงเรียน หรือ แม้แต่การแข่งขันระหว่างโรงเรียน หากเป็นการแข่งขันที่มีความเกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษ อาจได้รับการพิจารณาเพิ่มเติม
- การแข่งขันอื่น ๆ : การแข่งขันอื่น ๆ ในที่นี้หมายถึง การแข่งขันที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องทางด้านการบริหาร ตัวเลข หรือการคุมคนหมู่มาก หรือแม้แต่การเคยได้เข้าร่วมประกวดไอเดียต่าง ๆ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ประกวดแข่งวางแผนธุรกิจ การแข่งขันบอร์ดเกมที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับสายคณะนี้
- กิจกรรมทางวิชาการ : คือการได้โชว์ศักยภาพของตัวเอง ในงานด้านวิชาการต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียน หรือแม้แต่ชุมชนจัดขึ้น เช่น เคยได้รับหน้าที่พิธีกร หรือหากมีการใช้ภาษาต่างประเทศ ในกิจกรรมนั้น ๆ ยิ่งจะได้รับ การพิจารณาเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่การทำโครงงาน เคยไปร่วมกิจกรรมนอกโรงเรียน ก็สามารถนำมาใส่ได้เช่นกัน
- กิจกรรมอื่น ๆ : ในยุคนี้มีคอร์สเรียนออนไลน์ ที่เราสามารถสมัครเพื่อเรียนได้ แถมบางที่ยังไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย และเมื่อจบคอร์สนั้น ก็จะได้ใบประกาศนียบัตรด้วย เราสามารถนำใบประกาศนั้น มาใส่เพิ่มเป็นผลงานของเราเพิ่มเติมได้ และหากลงเรียนในสายวิชา ที่เกี่ยวข้องกับทางสายธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือบัญชี สิ่งนี้จะช่วยให้ กรรมการพิจารณาเราเพื่อเข้าเรียนเพิ่มเติมได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากเป็นหมอ หรือ เรียนต่อสายแพทย์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร
สายแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ทันตแพทย์
ควรมีผลงานที่ใส่เพิ่มเติม มีดังนี้
- ภาวะผู้นำ : ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้นำ เพื่อทำให้กลุ่มที่ตนเองดูแลอยู่นั้น ประสบความสำเร็จ เช่น การไปเข้าค่ายผู้นำ เป็นฝ่ายดูแลจัดการกิจกรรมตอนกีฬาสี เคยได้รับหน้าที่เป็นเหรัญญิก หรือส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลจัดการสิ่งต่าง ๆ ก็สามารถนำมาใส่ได้
- งานวิจัย : หมายถึงการกระทำเพื่อค้นหาความจริง ในสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการจะทราบที่มาที่ไป หรือความมุ่งหมายหลัก ในการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่ง การค้นพบ ในส่วนนี้ หากมีโอกาสได้ ทำวิจัยเราใส่งานวิจัยที่เราเคยทำลงไป พร้อมกับใส่ผลการวิจัยที่ได้ลงไปด้วย และหากเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางคณะที่เราลงสมัคร จะเป็นการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการตัดสินใจในการเลือกเข้าคณะนั้น ๆ มากขึ้น อีกด้วย
- จิตอาสา : การมีจิตอาสาถือเป็นปัจจัยหลัก ของสายงานทางด้านแพทย์เลยก็ว่าได้ เพราะการมีจิตอาสา นั่นหมายถึง ความต้องการที่จะช่วยเหลือ เพื่อนมนุษย์ ผลงานที่ควรโชว์ ตัวอย่างเช่น เป็นอาสาในการดูแลช่วยเหลือคนไข้ตามโรงพยาบาล หรือไปเป็นอาสาด้านสุขภาพต่าง ๆ หรืออาจเคยทำหน้าที่เป็นฝ่ายพยาบาลของโรงเรียนก็นำมาใส่เลย หรือ แม้แต่เคยเป็นอาสา เมื่อเกิดภัยทางธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น
- กิจกรรมทางด้านวิชาการ : ในข้อนี้ ควรให้มีความเกี่ยวข้องกับคณะที่ต้องการจะเข้าด้วย เช่น เคยเข้าค่ายทางวิชาการ เข้าค่าย สอวน. เคยเข้าร่วมอบรมทางวิชาการกับทางโรงเรียน หรือเคยแข่งขันทางวิชาการ แข่งโครงงาน แข่งตอบปัญหา ทั้งหมดนี้สามารถนำไปใส่ในพอร์ตได้ทั้งหมด
- งานศิลป์ : สำหรับคนที่จะเข้าศึกษาต่อในคณะทันตแพทย์ สิ่งที่ควรมีเพิ่มเติมคือ งานศิลป์ เหตุผลก็เพราะในการจัดรูปแบบของฟัน ซึ่งอาจรวมไปถึงโครงหน้า ควรจะต้องมีความสามารถทางด้านศิลปะ ติดไปด้วย เช่น ผลงานปั้นดินน้ำมัน ผลงานแกะสลัก ผลงานวาดภาพเหมือน
สิ่งที่ไม่ควรทำในการทำใน แฟ้มสะสมผลงาน
- คัดลอกข้อความ โดยที่ไม่มีการเขียนใหม่ เมื่อไปเจออะไรมาใน Internet ก็ก๊อปปี้และวาง โดยไม่มีการเขียนใหม่ใด ๆ ทั้งสิ้น
- ใส่เนื้อหาโดยไม่สนใจผู้อ่าน ในการใส่เนื้อหา เราควรรู้ว่าเราใส่อะไรลงไปและเมื่อผู้อ่าน ไม่เข้าใจ เราสามารถอธิบายเพื่อความชัดเจนได้
- ควรใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษา เนื่องจาก Portfolio นั้น เป็นเอกสารค่อนข้างสำคัญ จึงจำเป็นจะต้องใช้ภาษาให้ถูกต้อง
- ไม่ควรใส่เนื้อหาเยอะ จับฉ่าย และเยิ่นเย้อเกินไป
- ข้อมูลแน่น จนกลายเป็นสารานุกรม การทำพอร์ต ควรใส่เนื้อหาแค่พอดี ดูอะไรที่เหมาะกับเราเท่านั้น
- อย่าคิดว่าตัวเองดีมาก จนคณะจะต้องรับเราแน่นอน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
SET GOALS อย่างไรให้สอบติด เตรียมตัวให้พร้อมลุย TCAS
สำรวจ สายการเรียน ม.ปลาย เรียนต่อสายไหน ให้เข้าคณะในดวงใจได้!
10 แอปเรียนออนไลน์ สำหรับการเรียนการสอนในยุคโควิด เด็กวัยเรียนต้องรู้!
ที่มา : tcasportfolio, dekshowport