หูดข้าวสุก ตุ่มเนื้อเล็ก ๆ สีเนื้อ ตามตัวลูก อันตรายมากน้อยแค่ไหน

รู้จักโรคหูดข้าวสุกในเด็ก ตุ่มเล็กๆ สีเนื้อ บนขา แขนลูก ตรงกลางมีจุดบุ๋มลงไปคล้ายสะดือ โรคนี้จะอันตรายกับลูกไหม ตามไปไขคำตอบกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หูดข้าวสุก ตุ่มเล็ก ๆ สีเนื้อ ตามตัวลูก อันตรายแค่ไหน

หูดข้าวสุก ตุ่มเล็กๆ สีเนื้อ ตามตัวลูก อันตรายแค่ไหน น้องออย ( นามสมมติ ) อายุ 8 ปี มีตุ่มเล็ก ๆ สีเนื้อ ตรงกลางมีจุด บุ๋มลงไป คล้ายสะดือ ขึ้นที่บริเวณ แขน และ ขา เมื่อมาพบคุณหมอ ได้รับการตรวจ อย่างละเอียดแล้ว ก็ทราบว่า น้องออยเป็น หูดข้าวสุก นั่นเองค่ะ

 

หูด ข้าวสุก

รู้จักโรคหูดข้าวสุก ในเด็ก

หูดข้าวสุก คืออะไร?

หูดข้าวสุก คือ โรคผิวหนัง ที่เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสชื่อ Molluscum contagiosum พบมากในเด็กวัย 1 – 10 ปี โรคหูดข้าวสุก สามารถติดต่อได้ อย่างง่ายดายในเด็ก โดยการสัมผัส กับรอยโรคของผู้ป่วย หรือ ใช้สิ่งของ ร่วมกับผู้ที่มีรอยโรคหูดข้าวสุก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หูดข้าว สุก ตุ่มเล็ก ๆ

ลักษณะอาการ ของหูดข้าวสุก เป็นอย่างไร ?

ลักษณะของหูดข้าวสุก เป็นตุ่มเนื้อขนาดเล็ก มีสีเดียวกับผิวหนัง รูปโดม มีลักษณะบุ๋มเป็นหลุม ตรงกลาง พบบ่อยบริเวณลำตัว หน้าอก หลัง แขนขา บางครั้ง อาจมีอาการบวมแดง อักเสบร่วมด้วย หูดข้าวสุกมักจะหายได้เองภายในเวลา 2 – 3 เดือน มีรายงานผู้ป่วยเด็กบางราย เป็นได้นานถึง 9 เดือนหากไม่ได้รับการรักษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หูดข้าว สุก ตุ่มเนื้อ

การรักษาหูดข้าวสุกทำได้อย่างไร?

คุณหมอ สามารถให้การรักษาโรคนี้ ได้หลายวิธีคือ การกำจัดรอย โรคด้วยการขูด การจี้เย็น การจี้ไฟฟ้า พ่นไนโตรเจนเหลว โดยคุณหมอ อาจจะนัดมา ให้การรักษาซ้ำทุก 2 – 3 สัปดาห์ จนรอยโรคหายทุกรอย และ การทายา เพื่อช่วยรอยโรคหายเร็วขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หูด ข้าวสุก

หากลูกเป็นหูดข้าวสุก คุณพ่อ คุณแม่ควรทำอย่างไร ?

เมื่อทราบจากคุณหมอว่า ลูกเป็นหูดข้าวสุก คุณพ่อ คุณแม่ ควรสอนให้ลูก ดูแลตนเองโดย ไม่แกะ เกาตุ่มรอยโรค เพื่อป้องกัน การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน และ ลดการพาเชื้อไปติดบริเวณอื่น ของร่างกาย , ให้ลูก ใส่เสื้อผ้าที่ ปกคลุมตุ่มรอยโรค เพื่อป้องกันการเกาของลูก และ ยังช่วยป้องกัน การสัมผัสรอยโรคไปสู่ผู้อื่น , ไม่ลงสระว่ายน้ำ ขณะทีเป็นโรค , ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น นอกจากนี้ หากสัมผัสรอยโรคของตัวเอง ควรให้ลูกล้างมือ ด้วยสบู่ล้างมือ หรือ ใช้เป็นแอลกอฮอล์ ชนิดเจลทำความสะอาดมือ

หากพบว่ารอยโรค มีหนอง. ปวด บวม แดงร้อน ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุ จากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน และ รับการรักษาอย่างถูกต้องนะคะ

 

การป้องกันหูดข้าวสุกทำได้อย่างไร?

การป้องกัน การติดเชื้อโรคหูดข้าวสุก ทำได้โดย การหลีกเลี่ยง การสัมผัสรอยโรคของผู้ป่วย , ล้างมือให้สะอาด , ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น, หมั่นทำความสะอาดสิ่งของ เครื่องใช้หรือ ของเล่นที่เด็กใช้ร่วมกัน ซึ่งก็คือ การรักษาความสะอาด ตามสุขอนามัยพื้นฐาน ก็จะลดโอกาส ในการเป็นโรคลงได้

โดยสรุป หูดข้าวสุกในเด็ก เป็นโรคที่ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรง ติดต่อได้ง่าย สามารถหายได้เอง ในเวลาเป็นเดือน แต่หากได้รับการรักษาก็จะหายได้เร็วขึ้นค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ร้อนแล้วจ้า หูดข้าวสุกเริ่มระบาด แม่ๆ ระวังลูกด้วย

เครดิตภาพ : wikipedia.org

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

นมแช่แข็ง 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 46 ใส่กระเป๋าเก็บความเย็นแช่ซ้ำได้ไหม

โรงเรียนนี้ที่แม่เลือก: โรงเรียนอนุบาลเปล่งประสิทธิ์สายลม รีวิวโดยคุณแม่เปิ้ล-น้องข้าวปั้น-น้องข้าวปุ้น (School Hit)

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 27 เวลามีเพศสัมพันธ์แล้วรู้สึกเจ็บมาก เป็นเพราะ แผลฝีเย็บฉีกใช่ไหม ?