100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 86 หากผิดนัด เลื่อนนัดสำคัญอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่มือใหม่ที่ตั้งครรภ์ต้องเตรียมรับมือกับลูกน้อย การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ผิดนัด เลื่อนนัด สำคัญทำไมต้องไปตามนัด เลื่อนนัด มีผลเสียอย่างไร

ฝากครรภ์คืออะไร?

ฝากครรภ์ (Prenatal care) คือการตรวจสุขภาพเป็นระยะ ตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์จนกระทั่งถึงวันคลอด โดยแพทย์จะคอยตรวจความเรียบร้อยเกี่ยวกับสุขภาพของแม่และเด็ก คนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ ก็มักจะไปตรวจเช็กเพื่อความชัวร์ว่าตั้งครรภ์จริงไหม และหากตั้งครรภ์จริง แพทย์จะแนะนำให้ฝากครรภ์ทันที

ฝากครรภ์ตรวจอะไรบ้าง?

ฝากครรภ์

การฝากครรภ์มีจุดประสงค์หลักเพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก เพื่อประเมินความเสี่ยง อาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะใช้การตรวจดังต่อไปนี้

  • ยืนยันการตั้งครรภ์ วมถึงตรวจอายุครรภ์จากรอบประจำเดือนล่าสุด
  • ซักประวัติ แพทย์จะถามเรื่องทั่วไป เช่น เคยตั้งครรภ์มาก่อนไหม มีโรคอะไรที่เคยได้รับวินิจฉัยหรือเปล่า ยาที่ใช้ประจำ เป็นต้น
  • ตรวจร่างกาย จะแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ส่วนแรกคือตรวจทั่วไป เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ตรวจการทำงานของปอด อีกส่วนคือการตรวจภายใน ซึ่งใช้เวลาสั้นๆ แต่สามารถเช็กความผิดปกติได้ทั้งรังไข่ ท่อนำรังไข่ ช่องคลอด รวมถึงมะเร็งปากมดลูก ที่สำคัญคือไม่เจ็บ
  • ตรวจเลือด เปรียบเสมือนการสกรีนร่างกาย เพราะเลือดสามารถบอกค่าต่างๆ ในร่างกายได้เป็นภาพกว้าง เช่น ไขมัน ความสมบูรณ์เลือด ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงตรวจการติดเชื้อต่างๆ เช่น เอชไอวี ซิฟิลิส

ดังนั้นเมื่อทราบแล้วว่าแพทย์จะตรวจอะไรและถามประมาณไหนแล้ว ควรเตรียมข้อมูลก่อนไปพบแพทย์เพื่อความสะดวกของทั้งสองฝ่ายด้วย รวมถึงสามารถขอคำแนะนำในการดูแลสุขภาพได้ด้วย

เริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นัดคุณหมอ

คุณแม่ควรเริ่มฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อว่าจะได้ตรวจดูสุขภาพของคุณแม่เองว่ามีโรคอะไรที่อาจจะมีผลต่อลูกได้ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาก่อนที่จะสายเกินไป

ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ คงตื่นเต้นบ้างสำหรับการเจอกันครั้งแรก คุณหมอถามประวัติความเป็นไปเป็นมาของคุณแม่หลาย ๆ อย่าง เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ประวัติเกี่ยวกับโรคทางกรรมพันธุ์ในครอบครัวเพราะโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเลือด สามารถปรากฏอาการแทรกซ้อนในระหว่างที่ตั้งครรภ์ได้
  • ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต ประวัติโรคประจำตัว…เพราะโรคบางอย่างอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ก็อาจมีผลต่อโรคที่เป็นอยู่ก็ได้ ที่สำคัญในรายที่รับประทานยาบางอย่างอยู่เป็นประจำต้องดูด้วยว่ามีผลต่อลูกในครรภ์หรือไม่ บางครั้งอาจต้องปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม
  • ประวัติประจำเดือน และ การคุมกำเนิด…คุณหมอจะถามถึงวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายด้วยเสมอ เพื่อใช้ในการคำนวณหาอายุครรภ์ และกำหนดคลอด
  • ระวัติการคลอดในครรภ์ก่อน…ในรายที่เป็นคุณแม่ที่เคยมีลูกมาก่อนแล้วคุณหมอก็จะถามถึงการตั้งครรภ์และการคลอดในครั้งต่อน ๆ ว่าคลอดอย่างไร หนักเท่าไร มีภาวะแทรกซ้อนอะไรหรือเปล่า เพื่อใช้วางแผนในการดูแลครรภ์ครั้งนี้ประกอบด้วย

กำหนดคลอด

การคำนวณวันคลอดใช้วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นหลัก แล้วบวกไปข้างหน้า 7 วัน นับย้อนกลับไป 3 เดือนก็จะได้กำหนดคลอด สมมติว่าประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาวันที่ 15 มิถุนายน นับบวกไป 7 วัน ก็คือวันที่ 22 นับย้อนหลังกลับมา 3 เดือน ก็เป็นเดือนมีนาคม ดังนั้นก็จะครบกำหนดคลอดในวันที่ 22 มีนาคม ของปีถัดไป ซึ่งถ้านับรวมแล้วจะได้ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์พอดี 

คุณแม่ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน ? 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คั้งครรภ์

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น คุณหมอจะนัดคุณแม่มาเป็นระยะ ๆ โดยจะนัดทุกๆ 4 สัปดาห์ ใน 28 สัปดาห์แรก ทุก 2-3 สัปดาห์ ในระหว่าง 28-36 สัปดาห์ และทุกสัปดาห์หลัง 36 สัปดาห์เป็นต้นไป ยิ่งครรภ์แก่ขึ้นเท่าไหร่คุณหมอก็จะนัดถี่มากขึ้น เพราะภาวะแทรกซ้อนสิ่งผิดปกติต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ ในรายที่พบมีความผิดปกติ มีภาวะแทรกซ้อนคุณหมอก็จะนัดคุณแม่มาตรวจถี่ขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

ความถี่ในการตรวจครรภ์ 

เมื่อคุณแม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ควรมาฝากครรภ์กับคุณหมอให้เร็วที่สุด โดยเกณฑ์มาตรฐานการฝากครรภ์ มีดังนี้

  • ครั้งที่ 1 ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์  38 สัปดาห์

นอกจากนี้ การตรวจครรภ์ตามคลินิกหรือโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆ อาจจะมีความถี่ในการตรวจนัดครรภ์เพิ่มขึ้น โดยใช้เกณฑ์ดังนี้

  • อายุไม่เกิน 28 สัปดาห์ ให้นัดทุก ๆ 4  สัปดาห์
  • อายุระหว่าง 28- 36 สัปดาห์ ให้นัดทุก 2 สัปดาห์
  • อายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ให้นัดทุกสัปดาห์

ทำไมต้องอุลตร้าซาวด์

อุลตร้าซาวด์

เมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ คุณหมออาจจะให้ตรวจโดยใช้เครื่องอุลตร้าซาวด์ เพื่อดูอายุครรภ์ที่ถูกต้อง ตรวจความสมบูรณ์ทางด้านโครงสร้างของอวัยวะภายในต่าง ๆ ดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ตรวจดูตำแหน่งการเกาะตัวของของรก นอกจากนั้นยังสามารถทราบเพศของทารกในครรภ์ได้ด้วย

ห้ามผิดนัดฝากครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมคุณหมอต้องนัดตรวจครรภ์หลายครั้ง ในเมื่อสุขภาพของคุณแม่ก็ยังคงปกติดี คุณแม่บางคนไปตรวจเพียงครั้งเดียว พอเห็นว่าตัวเองไม่เป็นอะไรก็เลยไม่ไปอีก หรือบางคนก็ไม่ไปฝากครรภ์เลย มาโรงพยาบาลอีกตอนเจ็บท้องใกล้จะคลอด เพราะมีความเชื่อผิด ๆ ที่คิดว่าถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็ไม่ต้องมาฝากครรภ์ก็ได้ แต่เชื่อไหมว่าความผิดปกติหลาย ๆ อย่างมักเกิดขึ้นได้เสมอหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้วหลายเดือน และบางอย่างคุณแม่ก็ไม่สามารถรับรู้เองได้ หรือบางทีไปให้หมอตรวจเพียง 1-2 ครั้ง หมอก็อาจจะยังวินิจฉัยไม่ได้เช่นกันว่าคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัยดีหรือไม่ ดังนั้นการตรวจครรภ์แต่ละครั้งจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ดูน้อยลง

สิ่งสำคัญคือ เวลามาฝากครรภ์ แม่ต้องบอกรายละเอียดให้หมด ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว หรือประวัติการแท้ง เคยต้องผ่าตัดคลอดมาก่อน หรือเป็นโรคที่มีความเสี่ยงอื่นๆ อย่างเช่น กามโรค และต้องไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ที่มา : https://somruedeening.blogspot.com/2018/05/19.html

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

แม่ให้นมลูกฉีดโบท็อกซ์ได้ไหม?

7 สิ่งที่ต้องระวังหากยังให้นมลูก แม่ที่ให้นมลูก ต้องระวังอะไรบ้าง? มาดูพร้อมๆกัน

นมแม่ที่สต็อคเหลือบาน เพราะลูกติดเต้า รู้ไหมว่า นมแม่ใช้แทนโบท็อกซ์

 

 

 

 

 

 

 

 

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow