หัวใจจะวาย! คลิปเด็กขับรถของเล่นบนถนนจริง

เมื่อกล้อง CCTV จับภาพเด็กขับรถของเล่นบนถนนจริงได้ จะเป็นอย่างไรไปชมคลิปพร้อม ๆ กัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิปเด็กขับรถของเล่นบนถนนจริง เป็นเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ซึ่งเหตุการณ์นี้ สามารถบันทึกไว้ได้โดยกล้องวงจรปิด ขณะที่หนูน้อยวัย 3 ขวบ กำลังขับรถของเล่นของเขาไปบนถนนจริง ที่เต็มไปด้วยรถที่พลุกพล่าน โชคยังดี ที่มีตำรวจพบเห็นและสามารถช่วยหนูน้อยไว้ได้ทัน และสามารถพาเด็กส่งผู้ปกครองได้ในที่สุด

คลิปเด็กขับรถของเล่นบนถนนจริง

เบอร์นาร์ด สวาชแลนเดอร์ ตัวแทนขององค์การอนามัยโลกในประเทศจีนกล่าวว่า ในประเทศจีนนั้น มีเด็กมากกว่าหนึ่งแสนคนต้องจบชีวิตลงบนท้องถนนในทุก ๆ ปี และในนั้นคือเด็กที่เดินอยู่ข้างถนน

คลิปเด็กขับรถของเล่นบนถนนจริง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถสะท้อนให้เห็นเป็นอุทาหรณ์กับผู้ปกครองทุกคนได้เป็นอย่างดี ว่าไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่คาดสายตาเลยแม้แต่วินาทีเดียว คุณพ่อคุณแม่สามารถชมคลิปได้ที่นี่เลยค่ะ

[youtube

ไม่ว่าจะเป็นรถหัดเดิน หรือรถของเล่นก็ตาม ความอันตรายของมันอยู่ที่การที่เด็กยังไม่สามารถควบคุมทิศทางของอุปกรณ์ชนิดนี้ได้อย่างมั่นคง จากผลวิจัยของ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เก็บข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ทารก 12 ชนิด ในครอบครัวที่มีลูกอายุไม่เกิน 2 ขวบ ได้แก่ กรุ๊งกริ๊ง หัวนมหลอก รถเข็นเด็ก ยางกัด เตียงเด็ก เปลคอก เปลไกว รถพยุงตัว (หัดเดิน) เก้าอี้สูง เก้าอี้นั่งโยก เก้าอี้กระโดด และเป้อุ้มเด็ก พบสิ่งที่น่าตกใจว่า ในจำนวนเด็ก 245 ราย มีเด็กบาดเจ็บจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถึง 82 ราย  โดยบาดเจ็บจากรถหัดเดินสูงสุดถึง 47 ราย ตามติดด้วยของเล่นยอดฮิตในเด็กทารก  “กรุ๊งกริ๊ง” (24ราย)  เปลไกว (20ราย) รถเข็นเด็ก (10ราย) และอื่นๆ ตามลำดับ

รถหัดเดิน / รถของเล่น อุบัติภัยใกล้ตัว อันตรายที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

1. รถหัดเดินโดยมากแล้วจะมีฐานที่ไม่กว้าง โครงสร้างก็เปราะบาง จึงมักจะเกิดเหตุพลิกคว่ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กไถไปโดยเร็วแล้วไปเจอพื้นต่างระดับ สะดุดกับสิ่งของบนพื้น หรือแม้แต่ชนกับเสาหรือกำแพง จนได้รับบาดเจ็บไม่ว่าจะที่แขน ขา ใบหน้า หรือศีรษะ ที่สำคัญคือ  รถหัดเดินร่วงลงมาจากที่สูง ไม่ว่าจะเป็นชั้นบนของบ้าน หรือบ้านที่มีใต้ถุน ทำให้เด็กบางคนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้

2. นอกจากจะไถรถไปวิ่งชนกับ “ของแข็ง” ยังมีโอกาสวิ่งไปชน “ของร้อน” อีกด้วย เช่น โต๊ะที่วางกาน้ำร้อน หม้อหุงข้าว หรือสายไฟเตารีด  หากโดนน้ำร้อนลวกเพียงแค่ 30 วินาที ผิวหนังจะไหม้ และอาจเสียหายอย่างถาวร และการโดนของร้อนอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้  เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำ และเกลือแร่อย่างฉับพลัน)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. สิ่งที่อาจจะนึกไม่ถึง แต่ได้เกิดขึ้นแล้วก็คือ รถหัดเดินเป็นอีกสาเหตุให้เด็ก “จมน้ำตาย” ดังเช่น จากรายงานทั้งในไทยและต่างประเทศ เกิดกรณีเด็กไถรถหัดเดิน จนหล่นลงไปในสระน้ำ บ่อน้ำหรือไถรถไปชนจนหน้าคว่ำลงไปในอ่างน้ำ ถังน้ำ หรือแม้แต่ส้วมชักโครกก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว นั่นสามารถนำมาสู่ภาวะสมองตายเพราะขาดอากาศหายใจ

เล่นแถวบ้านก็ไม่ปลอดภัย สถิติอันตรายที่เกิดขึ้นกับเด็ก

คนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับคำว่า “7 วันอันตราย” ในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วยังมี “3 เดือนอันตราย” ที่ควรที่จะต้องระวัง นั่นคือ ช่วงเวลาปิดเทอมใหญ่ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเด็ก ๆ จะอยู่บ้าน และมีเวลาวิ่งเล่นมากกว่าเดิม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่น่าตกใจก็คือ ช่วง 12 วันของกลางเดือนเมษายน ระหว่างวันที่ 12 – 23 เมษายน มีเด็กที่มีอายุระหว่าง 4 – 12 ปีเสียชีวิตมากที่สุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ โดยสาเหตุการเสียชีวิตนั้นมาจาก

– การจมน้ำ แหล่งน้ำเสียที่อยู่ละแวกชุมชน ยกตัวอย่างเช่น บ่อน้ำ สระน้ำสาธารณะ ห้วยหนองคลองบึง และแม่บ้านใกล้บ้าน

– อุบัติเหตุจราจร ขับหรือซ้อนมอเตอร์ไซด์แล้วพลิกคว่ำ ถูกเฉี่ยวชน

– ตกจากที่สูง เช่นตกจากระเบียง หลังคา ต้นไม้ แป้นบาส เสาฟุตบอลหรือถูกของแข็งกระแทก เช่นเล่นสเก็ต ถูกเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นหล่นทับศรีษะ ทำให้ได้รับการกระทบกระเทือยอย่างรุนแรง อวัยวะภายในแตกแหลกเหลว

– ถูกทำร้าย ไฟดูดไฟช็อต การขาดอากาศหายใจ น้ำร้อนลวก เป็นต้น

และทราบหรือไม่คะว่า จากสาเหตุการเสียชีวิตที่เอ่ยมาในข้างต้นนั้น เกิดจากที่ไหน หากไม่ใช่สถานที่เล่นใกล้บ้าน รศ.นพ.อดิศักดิ์ เผยหากเกิดอุบัติเหตุในเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ความตายของเด็กกลุ่มนี้ถือเป็นความละเลยของผู้ปกครอง ขณะที่ความตายของเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไปมักพบว่าเป็นความละเลยของผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดูแลพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น ไม่จัดพื้นที่เล่นปลอดภัยสำหรับเด็ก พื้นที่เล่นของเด็กนั้นไม่มีการแยกเด็กออกจากถนน แหล่งน้ำ ไม่มีการตรวจสอบเครื่องเล่นในสนาม รวมถึงไม่ตรวจสอบความปลอดภัยของสนามกีฬา เป็นต้น

ที่มา : CCTV News China
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
 
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth