หัดเยอรมัน คืออะไร
หัดเยอรมัน เป็นไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคนี้จะติดต่อถึงกันได้ทางการหายใจ โดยเชื้อในละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่กระจายอยู่ในอากาศ จะถ่ายทอดไปยังผู้ใกล้ชิด โดยระยะเวลาแพร่เชื้อ คือ 7 วันก่อนออกผื่นจนถึง 5 วันหลังผื่นขึ้น
อาการและการวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน
ภายหลังได้รับเชื้อแล้ว ประมาณ 14-21 วัน จะเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว และตามข้อเล็กน้อย หลังจากเป็นไข้ได้ 1-2 วัน จะเกิดผื่นแดงบริเวณใบหน้าแล้วจึงกระจายไปตามลำคอ ตัว แขนและขา บริเวณหลังหูข้างท้ายทอยจะคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตเล็กน้อย กดเจ็บ นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของการติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใด ๆ
สำหรับในผู้ป่วยบางรายที่อาการปรากฏไม่ชัดเจน คุณหมออาจต้องทำการเจาะเลือดเพื่อทำการวินิจฉัย สำหรับผู้ที่ตรวจเลือดแล้วพบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอรมันแล้วมีโอกาสที่จะไม่ป่วยเป็นโรคนี้อีก
สำหรับแม่ท้องที่ได้รับเชื้อหัดเยอรมันเนื่องจากก่อนตั้งครรภ์คุณแม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไว้ก่อน เชื้อจะติดต่อถึงทารกในครรภ์และมีความเสี่ยงสูงที่ทารกจะพิการแต่กำเนิดได้ครับ
บทตวามอื่นๆที่น่าสนใจ อาการไข้หวัดใหญ่ อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ระวัง อาการเป็นอย่างไร
ผลกระทบต่อลูกน้อยหากคุณแม่เป็นโรคหัดเยอรมัน
โดยปกติแล้วคุณแม่จะไม่มีอันตรายจากหัดเยอรมันมากนัก แต่ทารกในครรภ์มารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน อาจเกิดความผิดปกติขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่ติดเชื้อ
- หากอยู่ในระยะ 12 สัปดาห์แรก เด็กอาจมีปัญหาความผิดปกติหลายอย่าง และความพิการที่เห็นได้ชัดคือ ตาเป็นต้อกระจกหรือต้อหิน หูหนวก หัวใจพิการแต่กำเนิด และมีความผิดปกติทางสมอง
- หากอยู่ในระยะ 12 – 20 สัปดาห์ ความผิดปกติหรือความพิการต่างๆที่ลูกน้อยจะได้รับ จะเบาลงมา
- หากอยู่ในระยะ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ร่างกายของเด็กจะเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เด็กทารกในครรภ์จึงไม่ได้รับความผิดปกติใดๆจากโรคนี้ครับ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจดีกว่านะครับ
การป้องกันโรคหัดเยอรมันทำได้อย่างไร ติดตามต่อหน้าถัดไปครับ >>>
การป้องกันโรคหัดเยอรมัน
- โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน MMR หากท่านใดต้องการที่จะมีลูก และยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน ควรฉีดก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์อย่างน้อย 28 วัน และในระหว่างที่ฉีดนี้ควรคุมกำเนิดไว้ก่อนครับ
- ขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าจะเป็นหัดเยอรมัน
- สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อหัดเยอรมันหรือผู้ที่ฉีดวัคซีนโรคหัดเยอรมันมาแล้วจะมีภูมิคุ้มไปตลอดชีวิต แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อหัดเยอรมันได้อีกแต่จะไม่แสดงอาการออกมา
โรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่อันตรายต่อแม่ท้องโดยเฉพาะในช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังเจริญเติบโตอยู่ในช่วง 12 สัปดาห์แรก แต่หากคุณแม่เตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆโดยการไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันไว้เสียก่อน ก็ไม่ต้องห่วงต่อการเป็นหัดเยอรมันครับ
ที่มา ncbi.nlm.nih.gov, si.mahidol.ac.th
บทตวามอื่นๆที่น่าสนใจ
6 สัญญาณเตือน โค้งสุดท้ายใกล้คลอด คุณแม่เตรียมตัวได้เลย
ไวรัสRSV เชื้อร้ายในช่วงปลายฝนต้นหนาว
แก้วหัดดื่ม แนะนำอุปกรณ์ถ้วยหัดดื่มตัวช่วยดี ๆ สำหรับลูกน้อย