หัดกุหลาบ ส่าไข้ อันตรายใกล้ตัวทารก แม่ต้องดูลูกให้ดีอย่าประมาท

เตือนแม่ ๆ ต้องระวังลูกเป็นโรคหัดกุหลาบหรือส่าไข้ ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หัดกุหลาบ ส่าไข้ อันตรายวัยทารก

โรคอันตราย ที่แม่ต้องระวัง หัดกุหลาบ ส่าไข้ เป็นยังไง มาอ่านประสบการณ์ของหนูน้อยคนนี้กันค่ะ

คุณแม่เล่าอาการของน้องในวัย 9 เดือน ที่ต้องทรมานจากโรคหัดกุหลาบอย่างละเอียด ว่า ก่อนจะเป็นส่าไข้น้องเป็นหวัดอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ ก็ทานยาตามหมอสั่งจนหายจากอาการไข้หวัด หลังจากนั้น 2 วัน ตอนกลางคืนน้องเริ่มมีอาการตัวร้อนจัดไข้สูงประมาณ 39°-41° มีเสมหะมาก น้ำมูกไหลตลอดเวลา หายใจเร็ว มีเสียงครืดคราด ท้องอืด ปวดท้อง นอนบิดไปบิดมา ถ่ายเหลวประมาณ 3-5 ครั้ง

แม่พยายามลดไข้ โดยการให้ยาลดไข้ทุก 4 ชม. เช็ดตัวและอาบน้ำอุ่น ล้างจมูก เคาะปอด และใช้ลูกยางดูดเสมหะ แต่ก็ไม่ดีขึ้นเลย

เช้ามาพาไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน พยาบาลวัดไข้ได้ 40° เลยบอกให้แม่พาน้องไปอาบน้ำ โดยใช้น้ำรดลงบนตัวน้องประมาณ 10 นาที และมาวัดไข้อีกรอบได้ 38.5° เข้าพบหมอหมอสั่งเจาะเลือดผลตรวจฉี่ออกมาไม่พบอะไร และสรุปว่าน้องเป็นไข้หวัดแต่ไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมถึงไข้สูง จึงให้ยาลดไข้และยาแก้ไอมาทาน

วันที่ 2 น้องก็ยังไข้สูงตลอดทั้งวันอาการโดยรวมไม่ดีขึ้นเลย

แม่เลยพาน้องไปหาหมอที่คลินิกเด็กเฉพาะทาง หมอตรวจซักประวัติอย่างละเอียดและสรุปว่า อาการค่อนไปทางไข้หวัดใหญ่ จึงให้ยามาทานตามอาการและนัดมาดูอาการอีก 3 วัน กลับมาบ้านทานยาตามหมอสั่งน้องก็ยังคงไข้สูงทั้งวันทั้งคืนไม่ดีขึ้นเลย กลับอาการหนักกว่าเดิมท้องเสียหนัก ตัวเริ่มซีด รอบดวงตาเริ่มบวมแดง แต่แม่ก็ยังคงให้ทานยาต่อไปจนถึงเที่ยง

จู่ ๆ กลับไข้ลดอย่างรวดเร็วจนอุณหภูมิร่างกายกลับมาเป็นปกติ น้ำมูกและเสมหะลดลง ไอและถ่ายน้อยลง แม่จึงรอดูอาการน้องที่บ้านยังไม่พาไปโรงพยาบาล หลังจากนั้นพอตกค่ำน้องเริ่มร้องไห้งอแงนอนบิดตัวไปมาเหมือนปวดเมื่อย รอบดวงตามีรอยช้ำแดงจนน่ากลัวและมีผื่นแดงขึ้นที่ใบหน้าและหลังใบหู แม่สงสัยว่าน้องอาจจะแพ้ยาจึงหยุดให้ยาทั้งหมดและพาน้องกลับไปหาหมอที่คลินิกเด็กในตอนเช้า

คุณหมอตรวจผื่นแดงเริ่มมากขึ้นและกระจายไปที่แผ่นหลัง

หมอสรุปว่า น้องเป็นส่าไข้หรือหัดกุหลาบ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและติดต่อได้โดยการไอ จามรดกันหรือผู้ป่วยอาจจะสัมผัสกับเสมหะ น้ำลายหรือน้ำมูกของคนที่เป็นโรค หลังจากนี้ อาการจะคงอยู่และมีผื่นเพิ่มขึ้น และอาการทั้งหมดจะหายไปได้เองเมื่อครบ 1 อาทิตย์ คุณหมอให้ยาปฏิชีวนะมาทานเพียงอย่างเดียว

ตอนนี้น้องยังมีผื่นแดงเต็มตัว อาการโดยรวมคล้ายไข้หวัดแต่ไม่มีไข้แล้วค่ะ ตัวผื่น ไม่ต้องทายา หายไปได้เอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอให้น้องแข็งแรงไว ๆ นะคะ

 

อ่านอาการของโรคหัดดอกกุหลาบหรือส่าไข้ ต่อหน้าถัดไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคหัดดอกกุหลาบหรือส่าไข้

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรุณี เจตศรีสุภาพ วว.กุมารเวชศาสตร์, อว.โลหิตวิทยา ได้อธิบายถึงโรคหัดกุหลาบว่า หัดกุหลาบ หรือ Roseola infantum หรือ Exanthem subitum หรือ Sixth disease พบส่วนใหญ่ในเด็กอายุ 6-12 เดือน โดย 95% ของผู้ป่วยมักเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส HHV-6 ส่วนอาการที่พบในเด็กที่อายุมากกว่านี้คือ ในอายุ 2-3 ปี มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HHV-7 ติดต่อได้โดยการสัมผัสไวรัสที่มีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย ติดต่อทางการ ไอ จาม และจากการสัมผัสเด็กป่วย

อาการของส่าไข้ที่แม่ต้องรู้

  • ไข้สูงเฉียบพลัน (สูงเฉลี่ย 39.7 องศาเซลเซียส/Celsius หรือ 103-104 องศาฟาเรนไฮต์/Fahrenheit)
  • จากนั้น 3 วัน ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะค่อย ๆ ลง
  • มีผื่นบาง ๆ สีชมพู หรือสีดอกกุหลาบขึ้นมาช่วงไข้ลงภายใน 48 ชั่วโมง ผื่นมีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เกิดทั่ว ลำตัว ไม่ค่อยมีอาการคัน เมื่อเอามือกด ผื่นจะจางซีดลง ผื่นอาจอยู่นาน 1-3 วัน หรืออาจขึ้นผื่นมาเพียงไม่กี่ชั่วโมงแล้วหายไป
  • บางครั้ง เด็กมี คอแดง ตาแดง หรือมีการอักเสบที่แก้วหูร่วมด้วย และมีต่อมน้ำเหลืองด้านหลังศีรษะ (Sub occipital node) โต คลำได้
  • ในเด็กแถบเอเชีย อาจพบมีแผลบริเวณด้านหลังของเพดานอ่อนติดกับลิ้นและลิ้นไก่ด้วย
  • บางคนพบมีน้ำมูก มีท้องเสีย บางคนมีอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น อาการชัก ทั้งนี้โรคมักหายได้ (การดำเนินโรค) ในระยะประมาณ 6 วัน แต่ประมาณ 15% ของเด็ก อาจมีไข้นาน 6 วัน หรือมากกว่า

เมื่อลูกเป็นโรคหัดกุหลาบ แม่ต้องทำยังไง

  1. พ่อแม่ต้องสังเกตอาการ เช็ดตัว ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ (ลูกที่อายุเกิน 6 เดือน) และกินยาลดไข้ตามหมอสั่ง ต้องระวังไข้สูง เพราะเด็กอาจชักได้
  2. หากเด็กมีอาการไม่ดี เช่น ไม่ค่อยยอมกิน หรือกินน้อยลง หรือซึมลง หรือไม่ปัสสาวะนานเกิน 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรดูอาการอยู่ที่บ้าน ควรรีบพาเด็กไปโรงพยาบาล

นอกจากนี้ ยังต้องระวังการชักจากไข้สูง หนึ่งในสามของผู้ป่วย โดยโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส HHV-6 มีการชักร่วมด้วยสูง ส่วนอาการแทรกซ้อนอื่นที่อันตราย คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ ปอดบวม และตับอักเสบ

 

ที่มา : haamor

ทารกแก้มแดง แก้มแตก หน้าหนาว ระวังลุกลามเป็นน้ำเหลืองเยิ้ม

เตือนโรคร้ายที่มากับหน้าหนาว แม่ๆ รีบดูแลลูกด่วน!

โรคตับในเด็ก จากใจของแม่ที่ลูก 9 เดือน ป่วยเป็นตับแข็งระยะสุดท้าย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya