หย่านมแม่อย่างไรไม่ทำร้ายใจลูก

เข้าใจว่าการวางแผนให้ลูกหย่านมแม่อาจเกิดจากหลายสาเหตุอันเป็นปัจจัยที่ทำให้แม่บางคนไม่สามารถให้นมลูกได้ต่อ แต่คุณแม่ควรทราบด้วยว่า การหย่านมในช่วงแรก ๆ อาจจะทำให้ลูกหงุดหงิดหรือเรียกร้องความสนใจมากกว่าปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การหย่านมแม่จึงควรทำเมื่อพร้อมทั้งแม่และลูก ควรมีการวางแผนหย่านมอย่างเป็นลำดับขั้น เพราะการหย่านมเร็วเกินไปก็อาจมีผลกระทบต่อจิตใจทั้งแม่และลูก ทำให้ลูกรู้สึกสูญเสียและซึมเศร้าได้ ยิ่งถ้าลูกยังปรับตัวไม่ได้ อาจแสดงปฏิกิริยาโดยการร้องและขอดูดนมแม่บ่อยขึ้น หรือในทางกลับกัน ลูกอาจเครียด ไม่ยอมกินอาหารอื่นเลย ส่วนตัวคุณแม่ก็จะมีปัญหาเต้านมคัดตึง เต้านมอักเสบหรือเป็นฝีได้

หากไม่มีความจำเป็นต้องเลิก คุณแม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่ไปเรื่อย ๆ จนถึง 2 ปีขึ้นไป และเมื่อลูกโตขึ้น มีของกินทดแทนอื่น ๆ มากขึ้น ลูกสามารถกินนมกล่องได้ การดูดนมแม่เริ่มน้อยลง น้ำนมแม่ก็จะค่อยๆ ลดไปเอง ถือเป็นการหย่านมแบบธรรมชาติคือค่อยเป็นค่อยไป

ในกรณีมีความจำเป็นหรือคุณแม่มีเหตุผลที่ต้องหย่านมลูก การวางแผนหย่านมอย่างเป็นลำดับขั้นอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ โดยเริ่มลดนมแม่วันละ 1 มื้อ ทีละสัปดาห์ ( ถ้าหากต้องการหย่านมภายในเวลา 2 สัปดาห์ ก็ให้ร่นช่วงเวลาของการลดมื้อนมจากทุกสัปดาห์เป็นทุก 3 วัน ) ควรลดมื้อกลางวันก่อนมื้อกลางคืน และเว้นระยะระหว่างมื้อนมให้นานขึ้น โดยเริ่มลดมื้อ 14:00 น.ก่อน อีกสัปดาห์จึงลดมื้อ 10:00 น.--> มื้อ 18:00 น --> มื้อ 6:00 น. --> มื้อ 22:00 น. ตามลำดับ

จะทำให้น้ำนมแม่ลดลงอย่างช้า ๆ เต้านมไม่คัดตึงหรือปวด และเป็นการช่วยให้แม่แน่ใจว่าจะหย่านมจริง เด็กจะได้ปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งแม่จะต้องแสดงความรักและความใกล้ชิดเพิ่มขึ้นในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียที่เด็กต้องหย่านมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เทคนิควิธีหย่านมแม่แบบไม่ทำร้ายจิตใจลูกอื่น ๆ เช่น

  • ให้นมลูกเฉพาะมื้อที่ลูกขอ ไม่ให้เมื่อลูกไม่ได้ขอ และให้นมแม่ในระยะเวลาสั้น ๆ เป็นวิธีการที่ปลอดภัยและได้ผลดีในการหย่านม
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้ลูกอยากดูดนมแม่บ่อย เช่น การนั่งเก้าอี้ที่ชอบในขณะให้นมลูก หรือท่านอนกอดลูกที่ลูกมักชอบนอนดูดนมแม่ เป็นต้น
  • ให้คุณพ่อมีส่วนช่วยในการหย่านม โดยเมื่อลูกขอกินนมแม่ อาจจะให้พ่ออุ้มพาไปกินอาหารอื่น หรือกินนมกล่องแทน
  • เบี่ยงเบนความสนใจของลูกจากการดูดนมแม่ เช่น ถึงเวลาที่ลูกชอบร้องกินนมลองพาลูกออกไปเดินเล่นหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน ชักชวนให้สนใจสิ่งแวดล้อม การเล่นกับเพื่อน การกล่อมหรือเล่านิทานเวลาจะนอนจะช่วยลดการดูดนมกลางคืนได้ ให้ความรักความใกล้ชิดกับลูกในรูปแบบอื่นทดแทนการให้นม เช่น เล่นด้วยกัน กอด เป็นต้น

การหย่านมไม่ได้หมายความว่า "ลูกจะไม่ได้กินนมแม่ทั้งหมด" เพราะเด็กบางคนจะต่อต้านอย่างเต็มที่ต่อการหย่านมในเวลานอนหรือตอนกลางคืน คุณแม่ก็อาจผ่อนปรนในการให้นมลูกต่อไปจนกว่าเขาจะรู้สึกดีขึ้นจากการหย่านม ถ้าลูกร้องไห้เพื่อต้องการจะกินนมแม่ต่อไป แม้ว่าคุณแม่จะพยายามเบี่ยงเบนความสนใจ หรือใช้เทคนิคข้างต้นแล้วไม่เป็นผล แสดงว่าการหย่านมอาจยังเร็วเกินไปสำหรับลูก ซึ่งถ้าหากเป็นไปได้การให้ลูกได้กินนมแม่ไปเรื่อย ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อลูกได้ดีที่สุดนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : www.thaibreastfeeding.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ปัญหายอดฮิตของแม่ให้นม ที่ไม่จำเป็นต้องหย่านม
คุณควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R