หยอดวัคซีนโรต้าแล้ว ทำไมลูกยังท้องเสียจากไวรัสโรต้าอีก

undefined

เชื้อไวรัสโรต้า เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงในเด็ก มีรายงานว่าเด็กอายุต่ำกว่า5ปีแทบทุกคนต้องเคยติดเชื้อไวรัสนี้ จะทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรต้าไวรัส

ลูกน้อย 1 ขวบ มาพบหมอพร้อมกับคุณแม่ ด้วยอาการถ่ายเหลว เป็นน้ำมากกว่าเนื้อมา 2 วัน ถ่ายวันละ 4 – 5 ครั้ง จนก้นแดง มีไข้ต่ำ ๆ อาเจียน 1 –  2 ครั้ง แต่ร่าเริงดี สามารถทานนม ทานข้าวได้ปกติ เมื่อหมอตรวจอุจจาระ จึงวินิจฉัยได้ว่าลูกมีอาการท้องเสียจากการติด เชื้อไวรัสโรต้า

แล้ว เชื้อไวรัสโรต้า คืออะไร อันตรายอย่างไรกับเด็ก ?

เชื้อไวรัสโรต้า

เมื่อลูกอายุ 15 สัปดาห์จะเป็นการรับวัคซีนโรต้าครั้งแรก และต้องรับต่อเนื่อง 2 – 3 โดส จนครบอายุ 8 เดือน

รู้จักกับไวรัสโรต้า

โรต้า เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายชนิดหนึ่ง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก โดยพบได้มากสุดในเด็กช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี มีรายงานว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีแทบทุกคนต้องเคยติดเชื้อ ไวรัสโรต้าอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต อาการของติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ทำให้เด็กเล็กมีอาการท้องเสียรุนแรง จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จากการขาดน้ำ และเกลือแร่

เด็ก ๆ ติดเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร ?

การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือหยิบเอาสิ่งที่มีการปนเปื้อนของไวรัสโรต้า เข้าทางปาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร หรือของเล่น เมื่อเด็ก ๆ นำสิ่งของ หรือ มือที่เปื้อนเชื้อไวรัสเข้าปาก หรือติดจากผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อมาก่อน ก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส จะเดินทางไปตามระบบทางเดินอาหาร คือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ และไปทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการอักเสบ และติดเชื้อในที่สุด

เชื้อไวรัสโรต้านี้ มีความทนทานต่อผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถมีชีวิตอยู่บนร่างกายของมนุษย์ได้นาน 2 – 3 ชั่วโมง และอยู่บนพื้นผิวแห้ง ๆ ได้หลายวัน ทำให้โรต้า เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย ภายในครอบครัว โรงเรียน สนามเด็กเล่น และโรงพยาบาล

เชื้อไวรัสโรต้า

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส จะเดินทางไปตามระบบทางเดินอาหาร คือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ และไปทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการอักเสบ และติดเชื้อในที่สุด

เมื่อติดเชื้อไวรัสโรต้าแล้ว จะแสดงอาการอย่างไร ?

หลังได้รับเชื้อ 1 – 2 วัน เด็ก ๆ ที่ติดเชื้อจะเริ่ม มีไข้ และอาเจียน บางรายอาจเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ คือ มีน้ำมูกไหล ไอ คอแดง ร่วมด้วย ต่อมาจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ส่วนใหญ่อาการจะหายไปภายใน 3 – 5 วัน ส่วนน้อยจะมีอาการท้องเสียเรื้อรังมากกว่า 1 สัปดาห์ หากอาการท้องเสียเกิดขึ้นเป็นเวลานาน หรือมีอาการรุนแรงทำให้เด็กขาดน้ำ และเกลือแร่มาก อาจต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

สังเกตอย่างไรว่าลูกมีภาวะร่างกายขาดน้ำ

  • มีอาการเซื่องซึม ไม่สนใจ ไม่ค่อยตอบสนองต่อการสัมผัส หรือคำพูดของพ่อแม่
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ร้องไห้ แต่ไม่มีน้ำตา
  • ผิวแห้ง
  • ปากแห้ง
  • ตาโหล เบ้าตาลึก
  • มีรอยบุ๋มลึกกลางศีรษะ
  • มีอาการกระหายน้ำมาก
  • ในลูกวัยทารก คุณแม่อาจสังเกตได้จากการที่ผ้าอ้อมแห้งนานหลาย ๆ ชั่วโมง
เชื้อไวรัสโรต้า

ไม่มีวัคซีนชนิดใดป้องกันโรคได้ 100% แต่วัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ จากการศึกษาวัคซีนไวรัสโรต้า พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงได้ประมาณ 80 – 90%

จะทราบได้อย่างไรว่าอาการท้องเสียเกิด เกิดจากไวรัสโรต้า?

เมื่อเด็ก ๆ มีอาการท้องเสีย และได้ไปพบคุณหมอ หากสามารถเก็บอุจจาระได้ คุณหมอจะนำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาการติดเชื้อจากจำนวนเม็ดเลือดในอุจจาระ

ถ้าลูกติดเชื้อไวรัสโรต้า ควรได้รับการรักษาอย่างไร?

เนื่องจากไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยตรง การรักษาอาการท้องเสียเนื่องจากไวรัสโรต้า ทำได้เช่นเดียวกับการรักษาโรคท้องเสียจากสาเหตุอื่น ๆ คือ ถ้าอาการไม่รุนแรง ก็สามารถรับยามาทานที่บ้านได้ โดยดื่มกินน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยส่วนที่สูญเสียไปจากการถ่าย และอาเจียน ถ้ามีอาการอาเจียนบ่อย ก็ทานยาแก้อาเจียน แต่หากมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ซึม หรือทานไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยด่วน

การปกป้องลูกจากเชื้อไวรัสโรต้า

คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกจากเชื้อไวรัสโรต้าได้ ด้วยวัคซีนป้องกันโรค โดยการหยอดวัคซีนเข้าทางปาก เมื่อลูกอายุ 15 สัปดาห์จะเป็นการรับวัคซีนโรต้าครั้งแรก และต้องรับต่อเนื่อง 2 – 3 โดส จนครบครั้งสุดท้ายที่อายุ 8 เดือน การได้รับวัคซีนจะลดความรุนแรงของอาการต่าง ๆ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโรต้าได้ แต่เด็กอาจท้องเสีย หรืออาเจียนเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน

อีกหนึ่งวิธีการปกป้องลูกจากเชื้อไวรัสโรต้า คือการดูแลเรื่องสุขอนามัย ความสะอาดของอาหาร และน้ำดื่มของลูก รวมทั้งสอนให้ล้างมืออย่างถูกต้อง โดยใช้ฝ่ามือถูกันให้ทั่วถึง ทั้งบริเวณหลังมือ ซอกมือ ฝ่ามือ หัวแม่มือ รอบข้อมือ ทั้งสองข้าง คุณพ่อคุณแม่ และคนใกล้ชิดเองก็ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยเช่นกัน

เชื้อไวรัสโรต้า

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาให้ลูกรับประทานด้วยตนเอง ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาจากแพทย์ จึงจะปลอดภัย

หากได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าแล้ว สามารถติดเชื้อได้หรือไม่?

ไม่มีวัคซีนชนิดใดป้องกันโรคได้ 100% แต่วัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ จากการศึกษาวัคซีนไวรัสโรต้า พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงได้ประมาณ 80 – 90% โดยเด็กที่เคยได้รับวัคซีนครบ ถึงแม้จะติดเชื้อไวรัสนี้ และมีอาการท้องเสีย ก็มักมีจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วนั่นเอง

การติดเชื้อไวรัสโรต้าที่รุนแรงกว่าอาการท้องเสีย

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักจะมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งนำไปสู่อาการอุจจาระร่วง ร่างกายขาดน้ำ หากการติดเชื้อมีความรุนแรง อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่กระเพาะอาหาร และลำไส้

รายงานจากเว็บไซต์ kidshealth.org ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เข้ารับการรักษาเนื่องจากมีอาการท้องเสีย และร่างกายขาดน้ำ จากการติดเชื้อไวรัสโรต้ารุนแรงกว่า 55,000 ราย และในจำนวนนี้ อาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้

หากลูกน้อยมีอาการท้องเสีย ร่างกายขาดน้ำ ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว แพทย์อาจตรวจเลือด ปัสสาวะ และอุจจาระ เพื่อหาการติดเชื้อไวรัสโรต้า และทำการรักษาต่อไป

เชื้อไวรัสโรต้า

ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เข้ารับการรักษาเนื่องจากมีอาการท้องเสีย และร่างกายขาดน้ำ จากการติดเชื้อไวรัสโรต้ารุนแรงกว่า 55,000 ราย และในจำนวนนี้ อาจนำสู่การสูญเสียชีวิตได้

ดูแลลูกที่บ้าน หลังจากการรักษา

คุณพ่อคุณแม่ควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากลูกมีอาการท้องเสียติดต่อกัน 2 -3 วัน การรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และเกลือแร่ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อทดแทนส่วนที่ร่างกายสูญเสียไป หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ น้ำหวาน ต่าง ๆ ที่อาจทำให้มีอาการท้องเสียรุนแรงขึ้น หากลูกอาเจียนร่วมด้วย ควรให้รับประทานอาหารทีละน้อย ๆ แต่หลาย ๆ มื้อต่อวันแทน อย่างไรก็ตาม หากลูกยังดื่มนมแม่อยู่ ก็สามารถดื่มต่อไปได้ปกติ

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาให้ลูกรับประทานด้วยตนเอง ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาจากแพทย์ จึงจะปลอดภัย

source medlineplus.gov , kidshealth.org

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

อาการข้างเคียงของวัคซีน แต่ละชนิดส่งผลอะไรกับลูกบ้าง

ทุกเรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกท้องเสีย

ส่าไข้ ทารก ไข้ออกผื่น เกิดจากอะไร แม่อาบน้ำให้ลูกได้ไหม ทำยังไงถึงจะหาย

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!