หนูน้อย 6 ขวบนิ้วติดโซ่จักรยาน ร้องไห้ลั่น!

ช่วงปิดเทอม คืออีกช่วงที่มักเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับลูก ๆ หลาน ๆ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเมื่อไหร่มันจะเกิดขี้น เช่นเดียวกับหนูน้อยคนนี้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงปิดเทอม สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรให้ความระมัดระวังมากที่สุดก็คือ อุบัติเหตุ เพราะเราไม่มีโอกาสที่จะทราบได้เลยว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นเมื่อไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูก ๆ ด้วยแล้ว เช่นเดียวกับหนูน้อยคนนี้ ที่ต้องนิ้วติดโซ่จักรยาน เพราะอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด

เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา หน่วยกู้ภัยสว่างบริบูรณ์เมืองพัทยา ได้รับแจ้งเหตุว่า มีเด็กนิ้วติดโซ่รถจักรยาน ไม่สามารถนำออกเองได้ จึงรีบรุดไปยังที่เกิดเหตุก็พบว่าเป็นบ้านพักไม่มีเลขที่ ซอยหนองเกตุใหญ่ ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

 

พบ ด.ญ.วิมลสิริ พึ่งแสง อายุ 6 ขวบ อยู่ในสภาพนิ้วกลางของมือข้างขวา ติดคาอยู่ระหว่างโซ่กับจากโซ่นั่งร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด เจ้าหน้าที่ไม่รอช้านำอุปกรณ์เข้าช่วยเหลือทันที โดยใช้ประแจขันน็อตล้อรถจักรยานออก เพื่อให้โซ่หลวมและหลุดออกจากจานโซ่ จนสามารถนำนิ้วของเด็กออกมาได้ พร้อมกับปฐมพยาบาลรักษาบาดแผลที่นิ้วมือในเบื้องต้น จากการสอบถามทราบว่า ก่อนเกิดเหตุได้เล่นอยู่กับน้อง วัย 2 ขวบ ซึ่งเล่นไปกันไปมา จู่ๆ น้องได้ผลักรถจักรยานมาใส่ จนรถล้มลงมาทับที่มือเปิดเหตุให้นิ้วไปติดคาโซ่ดังกล่าว

และวันนี้เราก็มี 5 วิธีปฐมพยาบาลในเบื้องต้นมาฝากคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุก ๆ ท่านกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ลูกโดนของมีคมบาด ด็ก ๆ มักเล่นซนบางครั้งอาจถูกเศษไม้บาด หรือถูกมีดบาด ฯลฯ ซึ่งบาดแผลจะมีลักษณะตื้น หรือลึก(แล้วแต่กรณี)ทำให้เลือดออกมาก การดูแลในเบื้องต้นให้ห้ามเลือดก่อน ด้วยการใช้ผ้าสะอาดกดเพื่อหยุดเลือดตรงแผลสัก 10-15 นาที จากนั้นให้ทำความสะอาดด้วยสบู่ และน้ำสะอาด เสร็จแล้วใช้ผ้าสะอาดซับแผลเบา ๆ ให้แห้ง หากแผลถูกบาดไม่ลึกอาจใช้พลาสเตอร์ปิดแผล หรือผ้ากอซสำหรับปิดแผลไว้ แต่หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดยังไหลไม่หยุด หรือบริเวณบาดแผลมีอาการบวมเป็นหนอง ควรต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  2. แผลถลอก เกิดจากการสะดุดหกล้มทำให้หนังถลอกเป็นแผลตื้นๆ และมีเลือดออกซิบๆ จนทำให้สิ่งสกปรกเล็กๆ ติดมากับแผลด้วย หากดูแลทำความสะอาดบาดแผลไม่ดีแผลอาจติดเชื้อ จนอักเสบได้ การดูแลทำความสะอาด คือ ให้ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่เกิดแผลถลอกด้วยน้ำสะอาด หรือใช้สบู่ฆ่าเชื้อร่วมด้วย จากนั้นซับแผลให้แห้งเบาๆ ด้วยผ้าสะอาด หากแผลไม่ลึกมาก แค่ทาแผลด้วยเบตาดีนก็พอค่ะ ไม่จำเป็นต้องปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
  3. หัวโน เกิดจากการที่ศีรษะไปกระแทกเข้ากับของแข็ง แต่ไม่ได้ถึงกับทำให้ศีรษะแตก เพียงแค่มีอาการปูดบวมขึ้นมาเท่านั้น การดูแลบาดแผลเบื้องต้น คือให้ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่บวม เพื่อทำให้เส้นเลือดหดตัว เพื่อลดอาการเจ็บ ทั้งนี้หากภายใน 24 ชั่วโมง ให้สังเกตอาการลูกด้วยว่ามีอาเจียน มีอาการซึมด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้าพบว่าลูกมีอาการเหล่าต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที
  4. ข้อเท้าแพลง บางครั้งเด็กๆ วิ่งเล่น หรือเดินๆ อยู่ ก็อาจทำให้สะดุดล้มลงได้โดยไม่ทันได้ตั้งตัว บางครั้งล้มในลักษณะเท้าพลิก ให้ดูแลอาการในเบื้องต้นด้วยการประคบเย็นเพื่อลดอาการปวด และบวม ประมาณ 20 นาที ทำทุก 2-4 ชั่วโมง เป็นเวลา 2-3 วัน แล้วให้ลูกนอนยกเท้าสูง แต่หลังจากดูแลอาการเบื้องต้นไปแล้ว 24 ชั่วโมง ยัง มีอาการบวม ขยับข้อเท้าไม่ได้ ควรต้องรีบพาลูกไปเช็กเรื่องกระดูก และเส้นเอ็นกับคุณหมอที่โรงพยาบาลทันที
  5. แผลฟกช้ำ เกิดจากกระแทกเข้ากับโต๊ะ เก้าอี้ หรือผนัง ฯลฯ ทำให้เกิดรอยบวมช้ำขึ้นที่บริเวณผิวหนังที่ถูกกระแทก ลักษณะแผลจะไม่มีเลือดออก การดูแลบาดแผลเบื้องต้น คือให้ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งตลอด 24 ชั่วโมง หลังจาก 24 ชั่วโมงให้ประคบด้วยน้ำอุ่น เพื่อลดอาการบวม และช้ำ ข้อควรระวังอย่านวดด้วยยาแก้เคล็ดขัดยอก หรือยาหม่อง เพราะการนวดยิ่งทำให้เลือดที่ออกอยู่ภายในแผลฟกช้ำออกมาขึ้น

ที่มา: ข่าวสด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อเด็กสำลักอาหารฉบับการ์ตูน เข้าใจง่าย! มีคลิป

10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็กรอดพ้นอันตราย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth