ให้ลูกดูด นมจากเต้า เท่าไหร่ถึงพอ กับอีกสารพัดเรื่องเกี่ยวกับ "นมแม่"

ถึงแม้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะเป็นสัญชาตญานธรรมชาติที่ให้แม่ทุกคนมีโอกาสให้ลูกกินนมแม่จากเต้า และทารกก็จะมีสัญชาตญาณในการค้นหาเต้านมของแม่และจะเริ่มดูดนมจากอกแม่ทันที แต่บทเริ่มต้นของการเป็น คุณแม่มือใหม่ ยังคงมีคำถามอีกหลายเรื่องที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับ “นมแม่”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องเกี่ยวกับนมแม่ ทารกแรกเกิดนั้นควรให้นมอื่นได้ไหมนอกจากนมแม่ ให้ลูกดูด นมจากเต้า เท่าไหร่ถึงพอ บ่อยแค่ไหน นานเท่าไหร่ การเป็นคุณแม่มือใหม่ ทำให้พวกคุณต้องหาคำตอบใน เรื่องเกี่ยวกับนมแม่ ให้มากที่สุดเพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีและมีประโยชน์สูงสุด

6 เรื่องเกี่ยวกับนมแม่ ที่ควรรู้ก่อนลูกเกิด

เรื่องเกี่ยวกับนมแม่ นมจากเต้า ให้ลูกกินถึงตอนไหน

นมชนิดใดเหมาะสมที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด

“นมแม่” เป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนรู้ดีว่าคืออาหารที่วิเศษที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน และเหมาะสมกับความต้องการของทารก รวมถึงเป็นวัคซีนหยดแรกที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย เพราะในน้ำนมแรกที่เรียกว่า น้ำนมเหลือง หรือคอลอสตรัมนั้นอุดมไปด้วยแอนติบอดี้ และสารอาหาร นอกจากนี้ในนมแม่ยังมี สารเพิ่มภูมิต้านทานอีกหลายชนิดที่ช่วยป้องกันโรคติดเชื้อให้แก่ทารก ช่วยให้ลูกแข็งแรงทั้งร่างกาย มีพัฒนาการที่ดี ส่งผลต่อความฉลาด สำหรับทารกที่ได้รับนมแม่ยาวนานกว่า 6 เดือน

ควรให้ลูกได้เริ่มกินนมแม่ตั้งแต่เมื่อไหร่

วันหนึ่งให้บ่อยแค่ไหน และควรกินนานเท่าไหร่ การให้ลูกดูดนมจากอกแม่เร็วที่สุดเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ทารกควรได้รับนมแม่ได้ตั้งแต่แรกเกิดในห้องคลอด หรือหากคุณแม่ทำการผ่าตัดคลอด ก็สามารถท่าให้นมลูกเร็วที่สุดได้ถ้าแม่สามารถอุ้มทารกไว้แนบอกได้ เพราะทันทีอุ้มลูกน้อยเข้าเต้า สัญชาตญาณของทารกจะค้นหาเต้านมของแม่ และจะเริ่มดูดนมจากอกแม่ทันที ซึ่งนมแม่ในช่วงวันแรก ๆ นั้นยังมีปริมาณไม่มาก ควรสลับให้ทารกได้ดูดนมแม่ทั้ง 2 เต้าบ่อย ๆ ในทุก 1-3 ชั่วโมง แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่านมจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก เพราะในเด็กแรกเกิดนั้น ขนาดกระเพาะอาหารของเขาเล็กเท่าผลองุ่น และจุได้ 5-7 มิลลิลิตร ซึ่งทารกต้องการนมแม่เพียงเล็กน้อยในแต่ละครั้งเท่านั้น

 

เรื่องเกี่ยวกับนมแม่ นมจากเต้า เด็กกินได้ถึงตอนไหน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้นการให้ทารกได้ดูดนมแม่บ่อย ๆ ร่างกายคุณแม่จะสร้างกลไกการหลั่งน้ำนมขึ้นมา และถูกกระตุ้นให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอกับความต้องการของทารก และให้ทารกดูดนมแม่ห่างเป็นทุก 3-4 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่สามารถให้นมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวได้ยาวถึง 6 เดือน หลังจากนั้นหากปริมาณนมแม่อย่างเดียวอาจไม่พอต่อความต้องการของลูกน้อย ก็สามารถให้ลูกกินอาหารเสริมอื่น ๆ ที่เหมาะสำหรับวัยได้นอกเหนือจากนมแม่ เช่น ข้าว กล้วย เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง ผัก และผลไม้ เป็นต้น

ในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมได้ หรือเจ็บป่วยไม่สบาย ไม่สามารถให้ลูกกินนมจากเต้าได้จริง ๆ ควรให้นมชนิดใดเพื่อทดทนนมแม่ได้อย่างเหมาะสม และให้กินอย่างไร

 

กรณีที่แม่ไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่หรือป่วยไข้ไม่สบาย ควรให้นมผงสูตรที่ดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิดถึง 1 ปี หรือนมสูตร 1 ที่ทำจากนมวัวซึ่งปรับลดส่วนประกอบให้มีสารอาหารต่าง ๆ ใกล้เคียงกับนมแม่ และมาตรฐานกำหนดในการผลิต ทารกแรกเกิดที่จำเป็นต้องกินนมผง คุณพ่อ คุณแม่ควรให้ความสำคัญในการชงนม ต้องชงให้ถูกส่วน ตามตารางการชงนมที่แสดงไว้ในบรรจุภัณฑ์ โดยเริ่มชงนมผงจากปริมาณ 1-2 ออนซ์ และให้กินทุก 3 ชั่วโมง เมื่อลูกน้อยอายุ 3-4 เดือน จำเป็นต้องให้ปริมาณนมเพิ่มขึ้น และให้กินทุก ๆ 4 ชั่วโมง หลังอายุ 6 เดือนก็สามารถให้อาหารเสริมตามวัย เช่นเดียวกับทารกที่กินนมแม่ และเริ่มหัดให้เจ้าตัวน้อยเลิกมื้อดึก เพื่อลดปัญหาการเกิดฟันผุจากการหลับคาขวดนมในปากได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมแม่อิ่มหรือไม่อิ่ม ไม่มากไปหรือน้อยไป

หากอยากรู้ว่าลูกกินอิ่ม หรือยัง คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการหลังจากลูกที่กินนม ถ้าทารกนอนหลับได้นาน 3-4 ชั่วโมง มีการขับถ่ายปกติ และมีการเจริญเติบโตปกติ แสดงว่าลูกกินอิ่ม และได้รับนมเพียงพอ (เปรียบเทียบค่าน้ำหนักตัวและความยาวของทารกในคู่มือกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก) ที่คุณแม่จะได้รับสมุดบันทึกสุขภาพของลูกจากทางโรงพยาบาลมาตั้งแต่แรกเกิด) แต่ถ้าทารกมีอาการดื่มนมมากไป หรือ overfeeding ทารกอาจมีการแหวะ หรืออาเจียนหลังกินนมเกือบทุกครั้ง สำหรับทารกที่กินนมแม่น้อยไป เมื่อกินไม่อิ่มทารกจะมีอาการงอแง หรือหลับแค่ระยะเวลาสั้น ๆ ตื่นบ่อย อาจส่งผลให้มีน้ำหนักตัวน้อย หรือการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ

 

ถ้าหลัง 6 เดือนทารกไม่ได้รับอาหารเสริม จะเกิดผลเสียต่อเด็กหรือไม่

ถึงแม้ว่าการกินนมแม่จะมีประโยชน์ และสามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ยาว ๆ จนถึง 12 เดือน หรือมากกว่านั้น แต่หลัง 6 เดือนการให้ทารกทานอาหารเสริมควบคู่ไปกับนมแม่นั้น เพราะลูกน้อยต้องการพลังงานมากขึ้น และต้องการสารอาหารอื่น ๆ เพิ่ม การให้ลูกน้อยได้ทานอาหารเสริมนั้นยังช่วยให้ลูกได้ฝึกทานอาหาร การบดเคี้ยว การกลืน การย่อยอาหาร ด้วย แต่ถ้าได้กินนมแม่อย่างเดียวในวัยนี้อาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัว และความยาวไม่เพิ่มขึ้น เกิดภาวะขาดสารอาหาร ภาวะซีด หรือเลือดจาง และยังทำให้ลูกน้อยขาดโอกาสพัฒนาการกิน หรือเคี้ยวอาหารที่ไม่ใช่นม จนกลายเป็นเด็กติดนมขวดทำให้เลิกขวดนมยาก และจะเป็นเด็กที่ไม่ยอมกินข้าวเอาแต่นมขวดอย่างเดียว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องเกี่ยวกับนมแม่

ทารกแต่ละวัยควรได้รับนมอย่างไร

การให้ลูกได้รับนมพอเหมาะกับความต้องการนอกจากจะส่งผลที่ดีต่อร่างกายแล้ว ยังดีต่อพัฒนาการของทารกด้วย เด็กทารกในขวบปีแรกควรได้กินนมเป็นอาหารหลัก และควรให้ได้กินนมแม่ล้วน ๆ อย่างน้อยจนถึง 6 เดือน และหลังจากนั้นควรให้ทารกได้กินอาหารเสริมตามวัย

เมื่อทารกสามารถเลิกนมมื้อดึกได้ มื้อนมก็จะลดลงเป็นสัดส่วนกับมื้ออาหารตามวัยที่เพิ่มขึ้น หลังอายุ 1 ปีลูกควรได้กินอาหารเป็นหลัก และนมเป็นอาหารเสริมที่ให้แคลเซียม ซึ่งในวัยนี้ลูกควรกินนมรสจืด และฝึกการกินจากแก้ว หรือหลอดดูดจากกล่อง และควรเลิกดูดขวดนมก่อนอายุ 18 เดือน เพื่อที่จะได้กินอาหารหลักได้ครบ 3 มื้อ และไม่มีปัญหาจากการติดขวดนม

 

อาหารเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่

 

1. หัวปลี

สุดยอดครองแชมป์ตลอดกาล เมื่อนึกถึงอาหารเพิ่มน้ำนมแม่ “หัวปลี” สรรพคุณของหัวปลีที่ทำให้เป็นอาหารเพิ่มน้ำนมแม่แม่ยอดฮิตติดลมบนมาโดยตลอด คือ ด้วยสรรพคุณนี้เองจึงไม่น่าแปลกใจที่หัวปลีจะครองแชมป์ สุดยอดอาหารเพิ่มน้ำนมแม่ และในปัจจุบันยังมีการสกัดเป็นน้ำหัวปลี แคปซูลหัวปลี มาวางจำหน่ายให้คุณแม่รับประทานได้ง่ายขึ้น

 

2. ขิง

ถ้าพูดถึงอาหารเพิ่มน้ำนมแม่นั้น ต้องมีขิง อยู่ในอันดับต้น ๆ แน่นอน เนื่องจากสรรพคุณทางสมุนไพรของขิง เป็นยาร้อน เพิ่มการไหลเวียนเลือด ทำให้น้ำนมไหลดี เชื่อว่าเมื่อคุณแม่กินเข้าไป สรรพคุณที่ดีของขิงจะผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูก เมนูที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ไก่ผัดขิง น้ำขิง ยําขิง ยําปลาทูใส่ขิง มันหรือถั่วเขียวต้มน้ำขิง ไข่หวานน้ำขิงต้มอุ่นๆ โจ๊กใส่ขิง นอกจากนี้ยังมีพืชผักบางชนิดมีส่วนประกอบที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซึ่งก็อาจจะส่งผลต่อการหลั่งของน้ำนมแม่ และยังเพิ่มคุณภาพน้ำนมแม่ได้อีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องเกี่ยวกับนมแม่

3. ใบกระเพรา

ใบกระเพรา มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ใยอาหารสูง มีรสร้อน บำรุงธาตุไฟ ขับลม เพิ่มการไหลเวียนของเลือด อาจช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ หวัด ถ้าลูกได้รับจากนมแม่ ก็จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้ด้วย

 

4. ฟักทอง

ผักเนื้อเหลือง อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน ทำให้ผิวพรรณสดใส

 

5. กุ้ยช่าย

มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี ช่วยขับน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

 

7. ใบแมงลัก

มีรสร้อน มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินบี และวิตามินซี ช่วยบำรุงเลือด เสริมสร้างกระดูกและฟันเมนูอาหารแนะนำ ใส่ในแกงเลียงต่างๆ ใบสดๆเป็นเครื่องเคียงทานคู่กับ ขนมจีน หรือใส่แกงป่า

 

8. มะละกอ

ผลไม้ที่หาทานได้ง่าย มีวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และใยอาหาร ซึ่งช่วยบำรุงสายตา เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยให้ระบบขับถ่ายดี

 

9. ตําลึง

มีโปรตีน มีวิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินบีสาม วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก เส้นใยอาหารในปริมาณมาก สรรพคุณ ช่วยบํารุงน้ํานม บํารุงเลือด บํารุงกระดูก บํารุงสายตา บํารุงผม บํารุงประสาท

 

Credit content : thaihealth , dumex ,theAsianparent , theAsianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

กินนมแม่ยิ่งนานยิ่งดี มีผลต่อความฉลาด ทำอย่างไรถึงจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ยาวนาน

ทำอย่างไร ให้ลูกกินนมแม่ได้ไปอีกนาน เพิ่มพัฒนาการสมอง

สูตรน้ำขิง เมนูน้ำขิงสำหรับคุณแม่ คุณประโยชน์หลากหลาย

บทความโดย

Napatsakorn .R