สั่งปิดศูนย์รับเลี้ยงเด็ก หลังเด็กถูกน้ำร้อนลวกสาหัส

lead image

เดย์แคร์แห่งหนึ่งใน เลควูด ประเทศสหรัสอเมริกาถูกสั่งปิด หลังจากประมาทเลินเล่อปล่อยให้หนูน้อยวัย 14 เดือนดึงสายกระติดน้ำร้อนจนถูกน้ำร้อนลวกตัวเองอาการสาหัส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หนูน้อยจำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจากแผลถูกน้ำร้อนลวกรุนแรงที่แขน ขา และท้อง และจะมีแผลเป็นติดตัวไปตลอดชีวิต

ทนายความของฝ่ายพ่อแม่กล่าวว่า “หนูน้อยได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนัง และมีแนวโน้มที่จะต้องได้รับการดูแลระยะยาว ซึ่งเป็นผลจากการถูกน้ำร้อนลวก”

สามวันต่อมากรมความมั่นคงของมนุษย์ได้ระงับใบอนุญาตศูนย์รับเลี้ยงเด็กแห่งนี้ เนื่องจาก ไม่มีมาตรการรองรับในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ดีพอ กล่าวคือ ไม่มีการเรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรในสถานการณ์ดังกล่าว

(ที่มา Pendery family)

ทนายความยังบอกอีกว่า “ผู้เป็นพ่อต้องเป็นคนพาลูกส่งโรงพยาบาลเอง โดยที่ศูนย์ไม่ได้โทรแจ้ง 911 แต่กลับโทรหาผู้ปกครองหลายต่อหลายครั้ง จนกว่าเขาจะรับสาย ปล่อยให้หนูน้อยเจ็บปวดกับบาดแผลที่ไม่ได้รับการดูแลนานแค่ไหนก็ไม่อาจทราบได้”

บริททานีย์ และ แดนนี่ เพนเดอรี่ พ่อแม่ของหนูน้อยเล่าว่า “ทางศูนย์โทรหาเธอถึงสามครั้ง โดยที่ไม่โทรหาแดนนี่ ซึ่งอยู่อีกฝั่งของถนน และเราก็ยังไม่รู้ว่าลูกชายของเราถูกลวกนานแค่ไหนแล้ว”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อ 3-4 เดือนก่อนก็มีเด็กได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ แต่ก็ไม่ได้มีการแจ้งผู้ปกครองนานถึง 8 ชั่วโมง และศูนย์รับเลี้ยงเด็กก็กำลังอยู่ในช่วงถูกทำทัณฑ์บน

ทางด้านกรมความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยว่า ทางกรมได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับ การบาดเจ็บ การละเลยทางการแพทย์ และการดูแลที่ไม่เพียงพอ ของศูนย์แห่งนี้หลายครั้ง

อย่างไรก็ตาม ทางกรมไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีนี้ ครอบครัวที่นำลูกมาฝากเลี้ยงที่นี่กำลังมองหาศูนย์รับเลี้ยงเด็กแห่งใหม่ เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนว่าศูนย์แห่งนี้จะได้รับอนุญาตให้เปิดบริการอีกหรือไม่

ที่มา https://denver.cbslocal.com/

อ่านวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกถูกน้ำร้อนลวก คลิกหน้าถัดไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แบ่งเป็น 3 ระดับ โดยดูจากดีกรีความลึกของบาดแผล

 

ดีกรีความลึกระดับ 1 คือ บาดแผลอยู่แค่เพียงผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น โดยปกติจะหายเร็วและไม่เกิดแผลเป็น

การปฐมพยาบาล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีบาดแผล เพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อน และป้องกัน มิให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น อาจใช้น้ำเย็นราด หรือแช่ในน้ำใส่น้ำแข็ง หรือ ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นประคบ หรือใช้ถุงพลาสติก ใส่น้ำแข็งผสมน้ำเล็กน้อยวางตรงบริเวณที่มีบาดแผล อย่างน้อย 20 นาที หรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนลดลง
  2. ปิดแผลด้วยผ้ากอซ หรือผ้าสะอาด
  3. ถ้ายังมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีตุ่มใส ควรไปหาหมอ

ดีกรีความลึกระดับ 2 คือ บาดเจ็บในบริเวณชั้นหนังแท้ บาดแผลประเภทนี้ถ้าไม่มีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน มักจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความลึกของบาดแผลจากอุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดร่องรอยผิดปกติของบริเวณผิวหนัง หรืออาจมีโอกาสเกิดแผลเป็นแผลหดรั้งตามได้ หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง

การปฐมพยาบาล

  1. รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ ใช้ผ้าสะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วใช้ผ้ากอซ หรือผ้าสะอาดปิดไว้
  2. ถ้าบาดแผลกว้าง เช่น ประมาณ 10-15 ฝ่ามือ (10-15%) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้รวดเร็ว หรือเกิดที่บริเวณหน้า (รวมทั้งปาก และจมูก) ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก หรือเกิดที่ตา หู มือ เท้า หรืออวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งอาจเป็นแผลเป็นได้ง่าย ควรส่งโรงพยาบาลทันที ขณะที่รอส่งโรงพยาบาล อาจให้การช่วยเหลือเบื้องต้นโดย

2.1 ถอดเสื้อผ้าออกจากบริเวณที่ถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก ถ้าถอดออกลำบากควรตัดออกเป็นชิ้น ๆ แต่ถ้าเสื้อผ้าติดกับบาดแผลแน่นก็ไม่ต้องดึงออกเพราะจะเจ็บมาก ควรใช้ผ้าสะอาดคลุม

2.2 ให้ยกส่วนที่มีบาดแผลไว้ให้สูงกว่าระดับหัวใจ

2.3 ถ้ามีกำไล หรือแหวน ควรถอดออก หากปล่อยไว้ นิ้วหรือข้อมืออาจบวมทำให้ถอดออกยาก

2.4 ถ้าผู้ป่วยกระหายน้ำ หรือใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง ในการเดินทางไปถึงสถานพยาบาล ควรให้ผู้ป่วยดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หรืออาจให้กินน้ำส้มคั้นใส่เกลือก็ได้ ควรให้ดื่มครั้งละ 1/4-1/2 แล้ว ทุก ๆ 15 นาที

2.5 ควรใช้ผ้าสะอาดบางๆ คลุมร่างกายของผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยนอนยกเท้าสูงเล็กน้อย

ดีกรีความลึกระดับ 3 คือ ชั้นผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายด้วยความร้อน บาดแผลเหล่านี้มักจะไม่หายเอง มีแนวโน้มการติดเชื้อของบาดแผลสูง และมีโอกาสเกิดแผลหดรั้งตามมาสูงมาก ถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง

การปฐมพยาบาล

เนื่องจากเป็นบาดแผลลึกซึ่งมีอันตรายร้ายแรงได้ จึงควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร็วทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าบาดแผลมีขนาดมากกว่า 10% (ในเด็ก ) หรือ 15% (ในผู้ใหญ่) ก่อนส่งโรงพยาบาล อาจให้การปฐมพยาบาลเช่นเดียวกับบาดแผลดีกรีที่ 1 และ 2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

10 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เด็กรอดพ้นอันตราย

เคล็ดลับเลือกสถานรับเลี้ยงเด็กให้ลูกรัก