สังเกตตัวเองด่วนค่ะ! ลูกดิ้นมากไปไหม? ระวังเสี่ยงรกพันคอ!

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 สื่งที่คุณแม่ต้องสังเกตและนับทุกวันก้คือ "การดิ้น" ของลูก ว่ามีอัตราสม่ำเสมอหรือไม่ เพราะถ้าเจ้าตัวเล็กไม่ดิ้น อาจจะเกิดความผิดปกติได้ แต่ถ้าดิ้นมากเกินไปล่ะ จะเกิดอะไรขึ้นแล้วที่ว่า ลุกดิ้นจนรกพันคอนั้น แท้ที่จริงแล้วคืออะไร? เรามีคำตอบตาะ

รกพันคอไม่ได้ ที่พันได้คือ “สายสะดือ”

ก่อนอื่นคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าการที่ลูกดิ้นในท้องแล้วเกิดบางสิ่งบางอย่างพันคอนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่ “รก” ค่ะ เพราะ รกเป็นอวัยวะที่แลกเปลี่ยนอาหารและออกซิเจนระหว่างแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งรกจะติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูก รกจึงไม่ได้มีลักษณะที่เป็นเส้นสาย แต่อย่างใด แต่สิ่งที่พันได้คือ “สายสะดือ” ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างรกกับทารก สายสะดือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตรบางคนก็สั้นกว่านั้น ในขณะที่บางคนอาจยาวถึง 100 เซนติเมตร

สายสะดือพันคอเกิดจากอะไร?

เรื่องนี้บอกเลยว่าไม่สามารถหาสาเหตุได้ค่ะ เพราะปกติเด็กในวัยนี้จะดิ้นไปมาในท้องเป็นปกติอยู่แล้ว ความที่ว่าเด็กบางคนดิ้นเก่ง ประกอบกับมีสายสะดือยาว จึงเป็นไปได้ว่าทำให้เกิดพันคอได้ เหตุการณ์นี้เป็นเหตุสุดวิสัยที่ส่วนใหญ่ไม่อาจทราบได้ตั้งแต่ก่อนคลอด เพียงแต่อาจคาดเดาได้จากการตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ส่วนคุณแม่ต้องสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ด้วยอีกทางหนึ่ง

ลูกดิ้นมากไป อาจเป็นสัญญาณอันตราย

ในช่วงการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์จะเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะสายสะดือพันคอลูกมากที่สุด โดยอัตราการดิ้นของลูกที่น่ากลัวนั้นคือ มากกว่า 40 ครั้งต่อชั่วโมง จนถึงการดิ้นอย่างรุ่นแรงแล้วหยุดนิ่งเป็นเวลานานแล้วดิ้นอีก มักเป็นสัญญาณของภาวะเครียดเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งเกิดจากการกดสายสะดือ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนดรุนแรง นี่เป็นอาการผิดปกติที่คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอโดยด่วน

ดังนั้นคุณแม่จึงควร  บันทึกการดิ้นของทารกอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอตั้งแต่ 28 – 32 สัปดาห์ และรีบมาพบคุณหมอทันทีหากพบว่ามีความผิดปกติ การนับลูกดิ้นสามารถนับใส่อะไรก็ได้ จะจดใสสมุดหรือพึ่ง application ก้ได้ มีให้บริการฟรีมากมาย ไม่จำเป็นต้องรอรับสมุดนับลุกดิ้นจากทางโรงพยาบาลนะคะ

เมื่อสายสะดือพันคอลูก จะต้องทำอย่างไร?

ภาวะสายสะดือพันคอนั้นไม่ได้ทำใ้ด้เด้กเสียชีวิตทุกราย บางรายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจน ส่วนบางรายเร่งให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตามภาวะเหล่านี้ต้องแล้วแต่ทางคุณหมอวินิจฉัยค่ะ

  1. ในกรณีที่รุนแรงจำเป็นจะต้องผ่าคลอดทันที โดยคุณหมอจะวัดจากอัตราการเต้นของหัวใจลูกที่ส่งผลต่อระดับออกซิเจนในเลือด
  2. กรณีที่ไม่รุนแรงอาจจะต้องมาพบแพทย์บ่อยขึ้นและต้องสังเกตตัวเองให้หนักขึ้น
  3. บางรายอาจไม่จำเป็นต้องผ่าคลอดแต่อาจจะส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดเพราะมดลูกจะบีบตัวให้เด็กเคลื่อนตัวเอาหัวลงไวขึ้น

แม้ว่าการที่สายสะดือพันคอลุกนั้นเป็นเรื่องที่สุดวิสัยและคุณแม่ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ แต่หากคุณแม่สังเกตอาการอย่างต่อเนื่องก็จะทราบความผิดปกตินี้ได้ไว และหาทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็วค่ะ

บทความโดย

daawchonlada