สะดือลูกเลือดออก มีน้ำเหลือง อักเสบ สะดือของลูกวัยเบบี๋ที่แม่มักกังวล

หลังจากที่คุณหมอตัดสายสะดือออกให้แล้ว เราควรดูแลสะดือลูกอย่างไรไม่ให้อักเสบและเป็นหนอง มาดูกัน!

เบบี๋ตัวน้อยที่เพิ่งคลอดออกมา จะยังมีสายสะดือติดอยู่บนตัว หลังจากที่คุณหมอตัดสายสะดือออกให้แล้ว หาก สะดือลูกเลือดออก มีน้ำเหลือง อักเสบ ต้องทำอย่างไร

สะดือลูกเลือดออก มีน้ำเหลือง อักเสบ สะดือทารกเป็นหนอง สะดือของลูกวัยเบบี๋ ที่แม่มักกังวล

สายสะดือลูก กี่วันหลุด

สำหรับสายสะดือทารกแรกเกิดนั้น จะแห้งและหลุดไปภายใน 2 สัปดาห์ หรือถ้าช้าก็ต้องไม่เกิน 1 เดือน หากสายสะดือ ทารกยังไม่หลุด เกิน 30 วัน ถือว่ามีความผิดปกติ อาจมีการติดเชื้อ โดยวันแรกของการกลับบ้าน ทารกจะยังมีสายสะดือติดตัว ซึ่งเป็นสายรกที่เชื่อมสายใย ระหว่างแม่สู่ลูกภายในครรภ์ ทำหน้าที่ส่งต่อสารอาหารและอ็อกซิเจน เลี้ยงดูจนลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงภายในท้อง ก่อนลูกจะอุแว๊ออกมาดูโลก แล้วสายรกก็เปลี่ยนชื่อเป็น สายสะดือ

ในห้องคลอดนั้น แพทย์และพยาบาล จะทำการตัดสายสะดือของทารก จนเหลือเป็นสายสะดือตอเล็ก ๆ ราว ๆ 1 นิ้ว หรือประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร และวันที่ลูกน้อยออกจากโรงพยาบาล พ่อแม่จะพาลูกกลับบ้านไปพร้อมกับสายสะดือที่ยังติดอยู่ ลักษณะของสะดือนั้นจะมีสีอ่อน ๆ ยังไม่แห้ง

วันที่ 4 – 10 สายสะดือเริ่มแห้ง

ภายใน 10 วัน สายสะดือของทารกมักจะแห้ง และสีเริ่มคล้ำ ทารกบางราย สายสะดือจะหลุดแล้ว

หากเกินวันที่ 10 สายสะดือมักจะหลุดแล้ว

หลังจากที่สายสะดือหลุด อาจจะมีเลือดออกนิดหน่อย บางทีสายสะดือก็ยังหลุดไม่หมด

วันที่ 14 – 18 ร่างกายทารกเริ่มสร้างผิวหนังบริเวณสะดือ

หากสายสะดือหลุดไปแล้ว ร่างกายของทารกจะเริ่มสร้างเยื่อและพัฒนาต่อมาเป็นผิวหนัง จนกลายเป็นสะดือในที่สุด

ข้อควรระวัง สายสะดือทารกแรกเกิด

หากเกิดกลิ่นเหม็นบริเวณสะดือ เกิดอาการบวมแดงของผิวหนังรอบสะดือ หรือสะดือยังแฉะ ไม่แห้งสักที แม้ว่าสะดือจะหลุดไปแล้วก็ตาม ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อ

ผิวหนังรอบสะดือบวมแดง หรือสะดือยังแฉะอยู่หลายวัน หลังจากสะดือหลุดแล้วควรพาทารกมาพบแพทย์

สะดือลูกเลือดออก มีน้ำเหลือง อักเสบ 

  • ภาวะเลือดออกที่สะดือ  

ในทารกแรกคลอดปกติอาจมีเลือดออกเล็กน้อยก่อนสะดือจะหลุด และหลังสะดือหลุด บางรายที่มีเลือดไหลซึมออกจากสะดือตลอดเวลา จำเป็นต้องหาสาเหตุและแก้ไขโดยรีบด่วน สาเหตุที่พบบ่อย ๆ คือ

  1. กรณีที่เลือดไหลซึมออกจากสะดือในระยะแรก หลังคลอด อาจเกิดจากผูกสายสะดือไม่แน่น ต้องเช็คดูว่าผูกสายสะดือแน่นพอหรือไม่
  2. ช่วงสะดือกำลังแยกหลุด ถ้าดูแลทำความสะอาดไม่ดีหรือไม่แห้ง ทำให้เกิดมีน้ำเหลืองปนเลือดไหลซึมอยู่เรื่อย ๆ
  3. หลังสะดือหลุด อาจมีก้อนเลือดแห้งติดอยู่ ต่อมาก้อนเลือดนี้จะเหลวและไหลซึมออกมาคล้ายเลือดไหล เมื่อเช็ดก้อนเลือดนี้ออกปัญหาเลือดออกก็จะหมดไป
  4. Hemorrhagic disease of the newborn เป็นอาการเลือดออกผิด ปกติที่เกิดจากการขาด vitamin K dependent factors ชั่วคราวอย่างรุนแรง อาการเลือดออกผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่ามีเลือดออกจากสายสะดือ, จมูก, ผิวหนัง และอวัยวะภายในบางอย่าง พบได้ในเด็กแรกเกิดอายุ 2-3 วันแรก บางรายอาจเร็วคือ เมื่ออายุ 1 วัน หรือบางรายอาจจะช้า เช่น อายุ 14 วัน ในเด็กที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะเลี้ยงด้วยนมแม่ วินิจฉัยโรคนี้ได้จาก blood coagulation study พบว่ามี prolonged PT, PTT โดยค่า TT อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การรักษา

– ในกรณีที่เลือดไหลจากสะดือเพราะผูกสายสะดือไม่แน่นพอ ก็ผูกใหม่ให้แน่น

– ในรายที่มีเลือดออกจากสะดือตลอดเวลาสงสัย ให้รับไว้ในโรงพยาบาล

  • สะดือมีน้ำเหลือง

ในภาวะปกติสะดือจะแห้งและหลุดภายใน 6-8 วันหลังคลอด ส่วนของ raw surface จะถูกผิวหนังปกคลุม และแผลจะหายภายใน 10-12 วัน

ในช่วงที่สะดือเริ่มแยกหลุดจะมีน้ำเหลืองซึมแฉะเล็กน้อย กลายเป็น media ให้เชื้อบักเตรีเจริญได้ดีในระยะนี้ ถ้าตัวสะดือไม่ได้รับการดูแลทำความสะอาดและทำให้แห้งพอ อาจเกิดการติดเชื้อ ทำให้สะดือหลุดช้า และกระตุ้นให้เกิด granulation tissue ขึ้น

อาการแสดง
จะพบมีน้ำเหลือง หรือน้ำเหลืองบนเลือด ไหลซึมออกจากสะดือภายหลังจากที่สายสะดือหลุดทำให้โคนสะดือเปียกแฉะอยู่ได้นาน ๆ เมื่อแยกส่วน navel ออกจะเห็น granulation tissue สีค่อนข้างแดงยืนขึ้นมาเล็กน้อย

การรักษา 
ใช้แท่ง silver nitrate จี้ทำลาย และพยายามรักษาบริเวณสะดือให้สะอาดและแห้ง โดยการเช็ดด้วย 70% alcohol ให้ถึงโคนสะดือ เช็ดวันละ 2-3 ครั้ง ต้องระวังไม่ให้ silver nitrate ถูกผิวหนังปกติ จะทำให้ผิวหนังไหม้

  • สะดืออักเสบ

สาเหตุ

มีการติดเชื้อบักเตรี ส่วนใหญ่เป็นพวก staphylococci และ gram-negative organism

อาการแสดง
การอักเสบบริเวณสะดือจะเห็นสะดือแฉะ อาจมีเป็นน้ำเหลือง หรือหนอง  ในบางครั้งอาจลุกลามไปยังบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ สะดือ ทำให้เกิดการอักเสบบวมแดงรอบ ๆ สะดือ และเชื้อบักเตรีอาจลุก ลามเข้า umbilical vein, umbilical arteries เกิด phlebitis, arteritis เชื้ออาจลุกลามจนถึงเข้ากระแสเลือด เกิด sepsis ตามมา

การรักษา
กรณีที่มีสะดือแฉะ มี discharge คล้ายหนองออกมาเล็กน้อย แหวกดูไม่มี granulation tissue ผิวหนังรอบ ๆ สะดือไม่บวมแดง อาการทั่วไปของเด็กยังดีอยู่ ให้ใช้ 70% alcohol หยอด และซับให้แห้ง

สำหรับรายที่ผิวหนังรอบ ๆ สะดือบวมแดงชัดเจน หรือเป็นฝีหนอง หรือ เด็กมีอาการทั่ว ๆ ไปไม่ดีที่บ่งชี้ว่าอาจเกิด sepsis ให้รับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด และให้การรักษาด้วย parenteral antibiotics ต่อไป

ที่มา : www.healthcarethai.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีทำความสะอาดสะดือลูกน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่

อาบน้ำลูกอย่างไรให้ปลอดภัย

ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

บทความโดย

Weerati