สอนลูกยังไงให้โตไปไม่เป็นผู้ใหญ่อารมณ์ร้อน

“เฮ้ย! เก๋าเหรอ!” คำพูดแบบนี้ พร้อมภาพวัยรุ่นที่กรูกันลงไปล้อมรถเก๋ง ด้วยท่าทีที่โกรธจัด มีการทะเลาะวิวาทและทำร้ายร่างกายกันจนเกิดเรื่องเศร้าต่อมา คงเป็นภาพที่ผ่านตาหลายๆ คนในช่วงไม่นานมานี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สอนลูกยังไงให้โตไปไม่เป็นผู้ใหญ่อารมณ์ร้อน

สอนลูกยังไงให้โตไปไม่เป็นผู้ใหญ่อารมณ์ร้อน ...คำถามว่าทำไมเด็กบางคนจึงเติบโตมาแบบที่มีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว พร้อมที่จะ “ลุย” โดยไม่กลัวอะไร บางคนต้องกลายเป็นอาชญากรน้อย

คำตอบคงมีมากมายหลากหลายปัจจัย และคงเป็นการมองที่ปลายเหตุและส่วนใหญ่ก็แก้ไขอะไรได้ลำบาก

สิ่งสำคัญที่สุดคือจะดูแลเด็กเล็กๆอย่างไร ไม่ให้เติบโตไปเป็นวัยรุ่นที่ก้าวร้าว รุนแรง อารมณ์ร้อน มีคุณธรรม จริยธรรมในใจ ซึ่งง่ายกว่าการแก้ปัญหาเมื่อเด็กโตแล้วอย่างมาก

ต้องยอมรับว่าอารมณ์เป็นเรื่องธรรมชาติ อารมณ์โกรธก็เป็นอีกอารมณ์หนึ่งที่คนเราต้องมี เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องอารมณ์ได้ตั้งแต่เกิด เพราะจะเห็นว่าเด็กสามารถแสดงอารมณ์โกรธ เช่น ลักษณะการร้องของเด็กเล็กเวลาโกรธ ก็จะไม่เหมือนการร้องตอนหิว เมื่อเริ่มโตหน่อยแม้ว่ายังพูดไม่ได้ ก็ลงไปนอนร้องดิ้นอาละวาดเวลาโกรธ

ดังนั้นการฝึกเด็กอย่ารอช้า ให้โตค่อยฝึกจะไม่ทันการณ์ การปรับเด็ก ไม่ใช่การไม่ให้เด็กโกรธ หรือการตามใจเพื่อเลี่ยงปัญหา แต่ต้องพยายามฝึกให้เด็ก จัดการอารมณ์โกรธของตัวเองให้ได้ สามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมตัวเองเวลาโกรธได้ดี ในขณะที่ค่อยๆฝึกกระบวนการคิดให้ฝึกเป็นคนคิดบวกและพัฒนาเป็นคนให้มีความโกรธที่น้อยลงได้ต่อไป

พ่อแม่เป็นต้นแบบที่ดี

เด็กเล็กเรียนรู้อารมณ์ผ่านคนดูแล หากพ่อแม่ตอบสนองต่อเด็กด้วยท่าทีโกรธ ตะโกน ด่าว่า ตี บ่อยๆ เด็กก็รับรู้ว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติ และซึมซับเข้าเป็นนิสัยของตัวเอง แม้ว่าส่วนหนึ่งเด็กจะมีพื้นอารมณ์ที่ติดตัวมาแต่เกิด บางคนหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย แต่เด็กก็ถูกหล่อหลอมด้วยสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ นั่นคือ แม้ว่าเด็กหงุดหงิดง่าย แต่พ่อแม่ใจเย็น อารมณ์ดี พูดคุยด้วยความใจเย็น แสดงพฤติกรรมเมื่อพ่อแม่โกรธโดยไม่ก้าวร้าวรุนแรง เด็กก็จะลดความเป็นคนขี้หงุดหงิดและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมมากขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำความเข้าใจพื้นอารมณ์ที่แตกต่าง

“ทำไมเรื่องเล็กน้อยแค่นี้ต้องหงุดหงิด” เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีพื้นอารมณ์ที่ติดตัวมาแต่เกิด เด็กที่เกิดมามีความไวต่อสิ่งเร้า เรื่องเล็กน้อยของเราจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยของเค้า อย่าเอาตัวเราไปตัดสิน พ่อแม่จึงต้องทำความเข้าใจธรรมชาติและไม่หงุดหงิดไปกับการ “หงุดหงิด/โกรธง่าย” ของลูก

พ่อแม่ยอมรับอารมณ์โกรธ

พร้อมทั้งบอกให้ลูกได้รับรู้ว่า ความโกรธเป็นเรื่องธรรมชาติ ใครๆก็โกรธเป็น แต่สำคัญคือการสงบตัวเอง และพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อโกรธต่างหากที่ต้องควบคุม สื่อให้เด็กรู้ว่า การควบคุมตัวเองได้ดีย่อมได้รับการยอมรับชื่นชมจากคนรอบข้าง

บอกเล่าอารมณ์ตนเอง

ในเด็กเล็กที่พัฒนาการทางภาษายังไม่ดี เมื่อมีอารมณ์ต่างๆเด็กจะแสดงออกทางพฤติกรรม เพราะบอกเล่าอารมณ์ไม่ได้ว่า ความรู้สึกแบบนี้คืออารมณ์โกรธ หนูโกรธแล้วนะ โกรธเรื่องอะไร ดังนั้นในช่วงที่เด็กยังพูดไม่เก่ง พ่อแม่มีหน้าที่สะท้อนให้เด็กเข้าใจตัวเอง เช่น “ตอนนี้หนูกำลังโกรธนะคะ แต่หนูขว้างของไม่ได้” เมื่อพูดเก่งขึ้น ต้องเปิดโอกาสให้เด็กจะได้ระบายออกทางการพูด การแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมจะลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อโกรธแล้วอาละวาด

หากคุณพ่อคุณแม่มาถึงจุดที่ลูกอาละวาดจริงๆ แนะนำให้หามุมสงบให้เด็ก ให้เค้าค่อยๆ สงบสติอารมณ์ พ่อแม่สามารถอยู่ใกล้ๆได้ ไม่ต้องพูดหรือสอนอะไร และให้เด็กเรียนรู้ว่าการอาละวาดก็จะไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เมื่อสงบแล้วค่อยคุยกันด้วยสัมพันธภาพที่ดีได้เหมือนเดิม

การควบคุมอารมณ์พฤติกรรมตนเอง (anger management)

เทคนิคสำหรับเด็กที่โตเช่นเข้าสู่วัยเรียนแล้ว เด็กจะสามารถเริ่มฝึกควบคุมตัวเองให้ไม่แสดงความโกรธด้วยความก้าวร้าว ให้เด็กฝึกสังเกตสัญญาณร่างกาย ว่าเริ่ม เหงื่อแตก ใจสั่น มือกำ แสดงว่าเริ่มโกรธแล้ว ให้เริ่มใช้เทคนิคการสงบตัวเอง ตั้งแต่การออกจากสถานการณ์นั้น การกำหนดลมหายใจเข้าออกลึกๆ การนับเลข การขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ เป็นต้น

การที่เด็กคนหนึ่งมีความก้าวร้าวเกิดขึ้นมาในตนเอง เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ต้องอาศัยผู้ดูแลที่ปรับเด็กให้ฝึกควบคุมอารมณ์พฤติกรรมมาตั้งแต่เล็ก เด็กจึงจะเติบโตไปเป็นคนที่ควบคุมตนเองได้ดี ก็จะไม่เกิดเรื่องเศร้าในสังคมตามมาอย่างที่เห็นเป็นข่าวอยู่ในปัจจุบัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วิธีสอนลูก ออมเงิน ตั้งแต่เด็ก โตไปจะได้ไม่ลำบาก

14 ข้อที่จะบอกว่าคุณเป็น “พ่อแม่รังแกฉัน” กันหรือเปล่า

อยากเลี้ยงลูกให้ดีในยุคนี้ เลิกทำ 10 สิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูก!!