วิจัยชี้ สมองของเด็กผู้หญิงพัฒนาเร็วกว่าเด็กผู้ชาย สมองของผู้ชายและผู้หญิง แตกต่างกันจริงหรือ?

ด้วยเหตุที่ว่าเพศหญิงมีโครโมโซม XX ถึงสองตัว ในขณะที่เพศชายนั้นมีโครโมโซมแค่เพียงตัวเดียวหรือ XY ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้เกิดปัจจัยความแตกต่างของสมองทารกเด็กผู้หญิงและผู้ชาย

สมอง ของเด็กผู้หญิงพัฒนาเร็วกว่าเด็กผู้ชาย แตกต่างกันจริงหรือ?

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า มีลูกสาวมักจะไม่ซน เลี้ยงง่าย เด็กผู้หญิงมักจะโตเร็ว พูดได้เร็วกว่าเด็กผู้ชาย เพราะสมองมีพัฒนาการที่เร็วกว่า

สมอง ของผู้ชายและผู้หญิง แตกต่างกันจริงหรือ?

ข้อเท็จจริงนี้ ได้ถูกพิสูจน์อยูบนพื้นทางวิทยาศาสตร์ โดยเกิดขึ้น จากความต่างของโครโมโซม และฮอร์โมนหลักในร่างกาย ระหว่างเพศชายและเพศหญิง ที่ผลิตแตกต่างกัน ทำให้มีผลต่อความแตกต่างที่แผงเส้นประสาทที่เชื่อมโยง ระหว่างสมองซีกซ้ายและขว าของเพศชาย และเพศหญิง

จากการศึกษาของ Dr.Miriam Stoppard พบว่าขนาดสมองของทารกแรกเกิดเพศชายจะมีน้ำหนักมากกว่าขนาดสมองของทารกเพศหญิง 10-15 เท่า แต่ระบบการทำงานสมองทั้งสองซีกของทารกเพศหญิงจะมีพัฒนาได้มากกว่า เร็วกว่าทารกเพศชาย เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองของเด็กผู้หญิงพัฒนาเร็ว โดยเฉพาะสมองซีกซ้าย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบความคิด และสั่งการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

เมื่อทารกอายุ 6 เดือน เราจะสังเกตุเห็น ว่าพัฒนาการของเด็กผู้หญิงนั้น จะเริ่มทิ้งห่างเด็กผู้ชายไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางสมอง อารมณ์ และร่างกาย เด็กผู้หญิงจะมีสมาธิ อยู่กับของเล่นชิ้นโปรด ได้นานกว่าเด็กผู้ชาย หรือแม้แต่ฟันน้ำนม ก็จะขึ้นเร็วกว่าเด็กชายด้วย

เด็กผู้หญิ งสามารถใช้งานสมองทั้งซีกซ้ายและขวา ที่ทำงานเชื่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลาได้พร้อมกัน ทำให้เด็กผู้หญิงมีแนวโน้ม ที่จะเก่งเรื่องการพูด อ่าน เขียน มีพัฒนาการเรื่องการใช้ภาษาได้เร็วกว่า และมากกว่าเด็กผู้ชาย ตลอดจนรับรู้ถึงความเป็นไป ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้เร็ว จึงดูมีความเป็นผู้ใหญ่ กว่าเด็กผู้ชายในวัยเดียวกัน ทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมสมองของเด็กผู้หญิงจึงพัฒนาเร็วกว่าเด็กผู้ชาย และมีแนวโน้มที่จะฉลาดกว่า

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการ ช้า หรือเร็ว ของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กผู้หญิงอาจไม่ได้มีพัฒนาการที่ดีเท่า ๆ กันหมด ซึ่งก็มีปัจจัยอื่นร่วมด้วย สำหรับบ้านที่มีลูกชาย เราสามารถกระตุ้นพัฒนาการ ทั้งทางด้านสมอง ร่างกายและจิตใจของเด็กผู้ชายให้ดี ได้ตั้งแต่ในครรภ์ จากการเลี้ยงดูที่ดี มีความเอาใส่ใจ หมั่นพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ ปล่อยให้เด็กผู้ชายเรียนรู้ กับสิ่งรอบข้างตามแบบของเด็กผู้ชาย สร้างสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เหมาะสม และพยายามโต้ตอบกับลูก สอนความถูกต้อง ฝึกเรื่องระเบียบวินัยให้ลูกตั้งแต่เล็ก ๆ และหลีกเลี่ยงการให้ลูกได้ดูทีวีหรือแทปเลตบ่อย จนเกิดความเคยชิน อันจะเป็นผลต่อการพัฒนาสมองที่ล่าช้าได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ส่วนสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมต่อยอดความฉลาดของลูก ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ที่ขาดไม่ได้คือบุคคลสำคัญอย่างพ่อแม่ ที่ดูแลส่งเสริมเลี้ยงลูกให้เหมาะสมและถูกวิธี ยิ่งถ้าลูกได้ถูกกระตุ้นในช่วง 6 ขวบปีแรกของชีวิต ก็จะยิ่งทำให้เส้นใยในสมอง ขยายเครือข่ายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กได้เรียนรู้และมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

แตกต่าง ซับซ้อน และเป็นผลมาจากธรรมชาติของตัวเด็ก และการเลี้ยงดู
                นั่นเป็นคำตอบ โดยนักประสาทวิทยา กล่าว่าสมองของผู้ชายและผู้หญิงไม่ได้เป็นพิมพ์เดียวกัน แต่ผู้ชายมีแนวโน้มจะใช้สมองด้านใดด้านหนึ่ง ทำงานอย่างอิสระได้มากกว่าผู้หญิง เช่น ในเรื่องการพูด การวางแผน เป็นต้น ขณะที่เรื่องเดียวกันนี้ ผู้หญิงจะใช้สมองส่วนเซเรบรัลทั้งซ้ายขวาทำงานแบบเท่าๆ กัน ส่วนในเรื่องขนาดของสมอง เด็กชายในทุกช่วงวัยจะมีสมองใหญ่กว่าสมองของเด็กหญิง โดยการใช้ไฟฟ้าเพื่อตรวจวัดการทำงานของสมองเด็กชายเด็กหญิงเมื่อแรกเกิดนั้น พบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของชีวิต สมองของเด็กหญิงเด็กชายมีการตอบสนองต่อเสียงพูดของคนเราแตกต่างกัน โดยความแตกต่างทางเพศในสมอง ส่งผลให้จังหวะของพัฒนาการในเด็กชายเด็กหญิงแตกต่างกัน ซึ่งถ้าดูที่พัฒนาการด้านประสาทสัมผัสและการเรียนรู้ จะสังเกตว่าพัฒนาการด้านนี้ในเด็กผู้หญิง ดูจะก้าวหน้าได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการมองเห็น การได้ยิน ความจำ การดมกลิ่น และสัมผัส ทารกเพศหญิงยังมีความพร้อม ในการตอบสนองทางสังคมากกว่าทารกเพศชายด้วย โดยเพราะเรื่องการเรียนรู้ และตอบสนองต่อเสียงพูดของคน สีหน้าของคน เป็นต้น รวมไปถึงยังพร้อมส่งเสียงร้องตามทารกอื่นที่ร้อง พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และทักษะทางภาษาก็ยังก้าวหน้ากว่าทารกเพศชายอีกด้วย

                แต่เด็กชายก็มีพัฒนาการหลายด้านที่ก้าวหน้ามากกว่าเด็กหญิง ใน 3 ขวบแรก การเรียนรู้ด้านมิติสัมพันธ์การวางแผนของเด็กชาย จะก้าวหน้าไปได้เร็วกว่า เห็นได้จากการที่เด็กชายมีทักษะในการต่อจิ๊กซอว์ได้ดีกว่าเด็กหญิง และดูคล่องแคล่วมั่นคงกว่า การทำงานประสานกันของตาและมือ ก็ดีกว่าด้วยจากการศึกษาของนักประสาทวิทยา โดยสามารถสรุปว่า เพศชายโดยเฉลี่ยทุกช่วงวัย จะมีทักษะด้านมิติสัมพันธ์ได้ดีกว่าเพศ หญิง ซึ่งสามารถบอกได้ว่าสิ่งของนี้เมื่อถูกหลอมละลายในอุณหภูมิที่ 90 % แล้วมีความเป็นไปได้จะออกมามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ขณะที่เพศหญิงโดยเฉลี่ยทุกช่วงวัยเช่นกัน จะมีทักษะด้านการพูดอธิบายสีหน้า ท่าทางที่แสดงออกซึ่งอารมณ์ของคนได้ดีกว่า

               ดังนั้นในช่วงวัยนี้ เด็ก ๆ ทั้งชายและหญิงได้รับการเลี้ยงดู ส่งเสริมอย่างสมดุล เด็กชายได้รับการพัฒนาเพิ่มในทักษะด้านสังคมและการพูด ขณะที่เด็กหญิง ก็ได้รับการส่งเสริมด้านมิติสัมพันธ์ ก็จะสามารถช่วยให้สมองของเด็ก ๆ พัฒนาในทุกด้านอีก

การทำงานของสมอง

                สมอง เริ่มมีการพัฒนา ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมา จะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้ว จะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไป สมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้า ๆ จะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์

                สมองประกอบด้วย เซลล์สมองจำนวนกว่า 1  แสนล้านเซลล์  ลักษณะของเซลล์สมอง แต่ละเซลล์จะมีส่วนที่ยื่นออกไป เป็นเส้นใยสมองแตกแขนงออกมามากมายเป็นพัน ๆ เส้นใยและเชื่อมโยงต่อกับเซลล์สมองอื่น ๆ  เส้นใยสมองเหล่านี้เรียกว่า แอกซอน (Axon)และเดนไดรท์ (Dendrite)  จุดเชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapses)  เส้นใยสมองแอกซอนทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาท ไปยังเซลล์สมองที่อยู่ถัดไป  ซึ่งเซลล์สมองบางตัว อาจมีเส้นใยสมองแอกซอนสั้นเพื่อติดต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ชิดกัน  แต่บางตัวก็มีเส้นใยสมองแอกซอนยาว เพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ห่างออกไป  ส่วนเส้นใยสมองเดนไดรท์เป็นเส้นใยสมองที่ยื่นออกไป อีกทางหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณกระแสประสาทจากเซลล์สมองข้างเคียงเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อกับเซลล์สมองตัวอื่น ๆ เซลล์สมองและเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์(Synapses)เชื่อมโยงติดต่อถึงกันเปรียบเสมือนกับการเชื่อมโยงติดต่อกันของสายโทรศัพท์ตามเมืองต่าง ๆ นั้นเอง

                จากการทำงานของเซลล์สมอง ในส่วนต่าง ๆ  ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลรอบตัวและสร้างความรู้ขึ้นมาได้นั้นคือ  เกิดการคิด  กระบวนการคิด  และความคิดขึ้นในสมอง  หลังเกิดความคิดก็มีการคิดค้น และมีผลผลิตเกิดขึ้น  ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร  ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น  ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมองจำนวนเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง  สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า  ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก  ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ  การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง  และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก  ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

                  สมองมีหลายส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ทำงานประสานกัน  เช่นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ  และรับรู้การเคลื่อนไหว สี รูปร่างเป็นต้น  หลายส่วนทำหน้าที่ประสานกันเพื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่ง  เช่น  การมองเห็นลูกเทนนิสลอยเข้ามา  สมองส่วนที่รับรู้การเคลื่อนไหว สี  และรูปร่าง  สมองจะอยู่ในตำแหน่งแยกห่างจากกันในสมองแต่สมองทำงานร่วมกันเพื่อให้เรามองเห็นภาพได้  จากนั้นสมองหลายส่วนทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงให้เราเรียนรู้และคิดว่าคืออะไร  เป็นอย่างไร  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สมองสามารถเรียนรู้กับสถานการณ์หลาย ๆ แบบพร้อม ๆ กันโดยการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น สมองสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกันได้  การทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะระบบการทำงานของสมองที่ซับซ้อน  มีหลายชั้นหลายระดับ  และทำงานเชื่อมโยงกันเนื่องจากมีเครือข่ายในสมองเชื่อมโยงเซลล์สมองถึงกันหมด  เครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้เมื่อถูกสร้างขึ้นแล้ว  ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกนานไม่มีสิ้นสุด  ช่วยให้สมองสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งในส่วนย่อยและส่วนรวม  สามารถคิดค้นหาความหมาย  คิดหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้อีกด้วย

                  นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า  ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้  เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว  เครียด  บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข  คับข้องใจ  ครูอารมณ์เสีย  ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี  เดี๋ยวร้าย  ครูดุ  ขณะที่เด็กเกิดความเครียด  สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง  ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด  เรียกว่า  คอร์ติโซล (Cortisol)  จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด  ความฉลาด  กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ  ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง  เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา  หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้  ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้  แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต

 


ขอบคุณข้อมูลจาก :

www.manager.co.th

www.babytrick.com

เคล็ดลับ ทวงคืนผิวเด็ก ให้คุณแม่มีสุขภาพผิวดีแบบเบบี๋ ด้วย DMP Pure Natural

 

บทความโดย

Napatsakorn .R